ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

26 ตุลาคม 2566 – การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และการนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต กรดไหลย้อน จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับกรดไหลย้อนเอาไว้มากมาย ทั้งอันตราย ห้ามนอนตะแคงขวา และการกลั้นผายลมเสี่ยงให้เกิดกรดไหลย้อน ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กรดไหลย้อน ห้ามนอนตะแคงขวา จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อนห้ามนอนตะแคงขวาโดยเด็ดขาด บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า มีการวิจัยว่านอนตะแคงขวามีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากกว่านอนตะแคงซ้าย  และแม้ว่ากรดไหลย้อนจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต โดยในต่างประเทศคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรงเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนให้ศีรษะอยู่สูงจะช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีกว่านอนตะแคง โดยต้องหนุนเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วขึ้นไป ไม่ใช่หนุนหมอนสูง ส่วนวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน คือ ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป อย่าใส่เสื้อผ้ารัด เลี่ยงอาหารทอด-มัน-รสเปรี้ยวจัด และควรนอนหลังกินอาหารมื้อเย็นแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้าน ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

9 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนังนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาการตับคั่งไขมัน หรือไขมันพอกตับส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลเกินไปแต่หากสงสัยแพทย์มีวิธีสังเกต ดังนี้ 1. มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 (BMI > 23) หรือไม่ ? 2. ดูโรคร่วมว่ามีเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไม่ ? 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ค่าตับสูงหรือไม่ ? ข้อความที่แชร์มา 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปนวดท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก จริงหรือ ?

5 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปกดนวดบริเวณดวงตาของทารก เพื่อรีดเอาน้ำตาที่ค้างในท่อน้ำตาออก ช่วยรักษาอาการท่อน้ำตาอุดตันได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตามคลิปที่แชร์มาเป็นวิธีพิสูจน์อาการท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิดของเด็กทารก ในคลิปเป็นการนวดโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้ผู้ที่ไม่มีทักษะทำตามเพราะอาจจะเกิดความบอบช้ำกับทารกได้” สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่อง โซดารักษาโรค จริงหรือ ?

4 ตุลาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับโซดาเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าดื่มโซดาจะช่วยย่อยอาหาร บ้างก็บอกว่ามะนาวโซดารักษามะเร็งได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มะนาวโซดารักษามะเร็ง จริงหรือ ? มีการแชร์กันว่า การดื่มเครื่องดื่มมะนาวผสมโซดาเป็นประจำจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ทพ.ญ.ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ด้านพิษวิทยา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “มะนาวโซดาไม่ได้ช่วยรักษามะเร็งและไม่ควรกินมะนาวโซดาตอนท้องว่างเพราะมีฤทธิ์เป็นกรด อาจมีการระคายเคือง กัดกระเพาะ และฟันสึกกร่อนได้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนให้ระวังการกดแชร์ข้อมูลอาหารรักษามะเร็ง อาจไม่ได้ช่วยชีวิตคนดังที่ตั้งใจ การป้องกันมะเร็งกับการรักษามะเร็งคนละอย่างกัน ที่บอกว่าอาหารนั้นอาหารนี้รักษามะเร็งนั้นคือการรักษาตัวคนไข้มะเร็งได้ แต่ถ้าบอกว่ารักษาตัวโรคมะเร็งก็ไม่ควรแชร์ถ้าไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพราะจะทำให้คนที่มีโอกาสไปรักษาที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว และมีข้อพิสูจน์แล้วว่าได้ผล ทำให้เขาเสียโอกาส” อันดับที่ 2 : ล้างหน้าด้วยโซดากระชับรูขุมขน จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำวิธีการล้างหน้าที่ช่วยกระชับรูขุมขน ด้วยการล้างหน้าโดยใช้โซดา บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเป็นหนอง

28 กันยายน 2566 – ตาเป็นหนองเกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ที่บริเวณไหน และมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การเป็นหนองบริเวณดวงตา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1.บริเวณเปลือกตา ที่พบบ่อยจะเป็น โรคตากุ้งยิง โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตา เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรอบ ๆ เปลือกตา การรักษาแพทย์จะขูดหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออก เป็นอีกวิธีที่ทำให้การอักเสบหายได้เร็วขึ้น 2.บริเวณเยื่อบุตา พบบ่อยในโรคตาแดงหรือเยี่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเยื่อบุตาเป็นเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงผ่านทางขี้ตาหรือมือสัมผัสโดยตรง 3.บริเวณกระจกตาดำ กลุ่มนี้ถือว่ามีความรุนแรงต่อการมองเห็น สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดกระจกตาดำ หรือ การใส่คอนแทคเลนส์ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค 4.ลูกตาหรือดวงตาเป็นหนอง มักเกิดตามหลังจากการเกิดอุบัติเหตุในดวงตา หรือจากการผ่าตัดดวงตาแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนมีการติดเชื้อตามมา เป็นภาวะอันตรายสูงมาก มีความสำคัญยิ่งต่อการมองเห็นหากได้รับการรักษาช้า  อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการติดเชื้อที่ตาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อที่ตา สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ดวงตาบอกโรค

22 กันยายน 2566 – ดวงตาสามารถบอกโรคเราได้อย่างไร อาการทางตาแบบใดสามารถบอกโรคทางร่างกายได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : หยอดน้ำเย็น แก้ปวดเข่า ไม่ต้องผ่าตัด จริงหรือ ?

18 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแนะนำว่า หากมีอาการเจ็บหัวเข่า ถึงขั้นต้องผ่าตัด ให้ใช้น้ำเย็น ใส่น้ำแข็ง หรือ แช่เย็นจัด เทหยอดราดหัวเข่าทั้งสองข้าง 10 วัน หายปวดเข่า ไม่ต้องผ่าตัดเลย  บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. วรรธนะ ชลายนเดชะ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ระบุว่า “วิธีดังกล่าวเป็นเพียงการรักษา หรือบรรเทาอาการเพียงชั่วคราว ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ หากมีอาการปวดมาก ควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกทางและหายอย่างถาวร” สัมภาษณ์เมื่อ : 21 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัย ลำไส้โป่งพอง จากยาปฏิชีวนะ จริงหรือ ?

15 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ภาพและข้อความเตือนว่า อย่ากินยาโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับยาปฏิชีวนะ หลังกินยา 1 สัปดาห์ ท้องเสีย ปวดท้อง ภาพทางซ้ายคือ เอกซเรย์ผู้ป่วย ลำไส้ใหญ่อักเสบ ขยายจนเต็มท้องนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) อธิบายว่า ลำไส้โป่งพองตามภาพเอกซเรย์ที่แชร์มานั้น ในกรณีนี้เรียกว่าเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งก็จะมีอาการต่าง ๆ อีก ได้แก่ ท้องร่วงรุนแรง ปวดท้อง แน่นท้อง มีไข้ ต่อมาก็จะมีเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด แล้วก็อาจจะเสียชีวิตได้ ชื่อโรคนี้เรียกว่า Antibiotic associated colitis (AAC) ก็คือ ท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ C.diff Clostridium Difficile Diarrhea […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรเลือกแนวทางการรักษาอย่างไร ควรกินอะไร หรือมีอาหารใดที่ห้ามกิน  ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความระบุว่าหากเป็นทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม เพราะจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือลดการอักเสบได้ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ “ความเย็นของไอศกรีมมีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอจริง แต่การกินของเย็นไม่ได้ช่วยลดการอักเสบตามที่แชร์กัน แพทย์เตือนว่า หลังจากกินไอศกรีมก็ควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ”

1 2 3 4 5
...