ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของการดื่มนม จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับอันตรายของการกินนมเอาไว้มากมาย เช่น ไม่สบายไม่ควรกินนม และนมวัวก่อมะเร็งลำไส้ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : 9 เหตุผลที่ควรเลิกดื่มนมวัวทันที จริงหรือ ? มีการแชร์บทความเตือนว่า 9 เหตุผลที่คุณควรเลิกกินนมวัวทันที เพราะมีสิ่งอันตราย ทั้งอุจจาระ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง รวมทั้งไม่จำเป็นต่อร่างกาย กินเข้าไปแล้วอาจจะแพ้ได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าการกินนมวัวเป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่สำคัญนมวัวนั้นมีประโยชน์ เพราะช่วยเสริมแคลเซียมและลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน” อันดับที่ 2 :  ระวัง มีน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปสาธิตและเตือนให้ระวังน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จริงหรือไม่? ปล่อยเลือด ช่วยผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตก

เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ จากกรณีมีการแชร์วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกด้วยวิธีการ “ปล่อยเลือด” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌– เป็นวิธีที่อันตราย ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสการรักษา ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มัยธัช สามเสน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา ระบุว่า “เจาะนิ้วให้เลือดไหล แก้อาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก” นั้น เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หากมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรือ อุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ  ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้จะต้องรับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ควรมาเสียเวลาเจาะเลือดให้ผู้ป่วย สอดคล้องกับข้อมูลของ ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า การเจาะเลือด จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจะดีที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ ว่าที่ ร.ต. การันต์ ศรีวัฒนบูรพา กู้ชีพ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

11 มิถุนายน 2566 – โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองจะแสดงอาการบ่งบอกโรคตอนไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค SLE และ สัดส่วนสถิติการเกิดโรคเป็นอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถิติการเกิดโรค SLE เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ประมาณ 40-50 คนใน 100,000 คน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8 – 9 เท่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการรักษาในปัจจุบันที่ทำให้หายขาดได้ แต่ทำให้อาการสงบจากการรับประทานยาได้ การวินิจฉัยโรค SLE แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรค SLE มีความสลับซับซ้อนผู้ป่วยมีความรุนแรงในระดับแตกต่างกัน การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เพียงแบบเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วย SLE บางราย อาการของโรคเป็นอย่างไร ? นอกจากอาการที่แสดงทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะจิตตกหรือโรคซึมเศร้า (Depession) ร่วมด้วย ครอบครัวและคนรอบข้างจึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่วยที่จะทำคนไข้จะมีกำลังใจที่ดีต่อสู้กับโรค SLE ได้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณหัวหอมหั่นแช่เย็น จริงหรือ ?

8 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อความถึงสรรพคุณที่หลากหลายของหัวหอมหั่นแช่เย็น เช่น เสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียม ป้องกันคอเลสเตอรอลสูง สลายไขมัน ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร รักษาเบาหวาน และทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เรื่องหัวหอมเสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหัวหอมมีปริมาณแคลเซียมต่ำ ส่วนที่มีการแชร์ว่าให้นำหัวหอมไปแช่ไวน์นั้น ก็จะทำให้สูญเสียสารสำคัญไป การนำมารับประทานในรูปแบบของอาหารจะได้ประโยชน์มากกว่า สำหรับหัวหอมควรรับประทานแบบสดใหม่ เพราะการหั่นวางไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน จะทำให้หัวหอมเน่าและเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยระบุว่าในหัวหอมมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคมะเร็ง และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยืนยันว่า หัวหอมไม่สามารถทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้ เนื่องจากไม่สามารถกำจัดฝุ่น หรือสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้ ตัวอย่างข้อความที่แชร์กัน สัมภาษณ์เมื่อ : 10 พฤษภาคม 2566 และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสียงดังในหูเกิดจากไตอ่อนแอ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวว่า เสียงดังในหูมีสาเหตุจากอาการไตอ่อนแอ แนะนำให้บำรุงไต เพื่อช่วยให้อาการหูมีเสียงดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เสียงดังในหูไม่ได้เกิดจากไตอ่อนแอแต่อย่างใด แต่หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายหรือไตทำงานผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ เนื่องจากมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของไตกับหูมีความคล้ายกันสามารถกรองของเสียได้เหมือนกัน ในผู้ป่วยไตวายจะมีภาวะประสาทหูเสื่อมค่อนข้างเร็ว และส่วนใหญ่จะได้ยิน 2 ข้าง ผู้ป่วยไตวายประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นนั้น เนื่องจากว่ามีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายและมีผลต่อระบบเลือดทั้งหมด แต่หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และควบคุมอาการของไตได้ดี ประสาทหูก็จะเสื่อมตามอายุปกติ ส่วนการกินอาหารบำรุงไต เพื่อบำรุงหูนั้น จริง ๆ แล้วไม่เกี่ยวกัน เป็นอวัยวะคนละส่วนกัน หากผู้ป่วยมีความกังวลใจไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 พฤติกรรมการนอนกรน เสี่ยงหยุดหายใจ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน ที่อาจเสี่ยงกับการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ มีตั้งแต่มีท่าทางการนอนที่ผิดปกติ ตื่นมาแล้วคอแห้งมากกว่าปกติ รวมไปถึงมีอาการปวดศีรษะมาก บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า วิธีสังเกตพฤติกรรมนอนกรนตามที่แชร์กันมีความถูกต้อง เป็นการประเมินอาการตัวเองในเบื้องต้น ส่วนเรื่องของการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นคะแนนอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน มีดังนี้ 1.มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ 2.มีท่าทางผิดปกติขณะหลับ เช่น กัดฟัน ขากระตุก 3.ตื่นนอน คอแห้ง เจ็บคอมากผิดปกติ 4.ตื่นมามีอาการปวดศีรษะมาก 5.ตื่นมาง่วงนอน เหมือนพักผ่อนไม่พอ 6.เป็นโรคความดันโลหิตสูง 7.เป็นผู้ชายผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน 8.มีอายุมากกว่า 50 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 23 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 3 4 5
...