ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สูตรพริกรักษาโรค และข้อควรระวัง จริงหรือ ?

12 กรกฎาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของพริกเอาไว้มากมาย บ้างว่า พริก-ไข่-เกลือ รักษาเบาหวาน บ้างก็ว่าดื่มน้ำต้มก้านพริกช่วยล้างไตได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : พริก–ไข่–เกลือ รักษาเบาหวาน จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า “ข่าวดีสูตรรักษาเบาหวานใน 5 นาที ใช้อาหาร 3 สิ่ง คือ พริก ไข่ และ เกลือ” ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พล.ต.หญิง ศ.คลินิก พญ.อัมพา สุทธิจำรูญ อุปนายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเบาหวานให้หายภายใน 5 นาที แม้แต่การฉีดยาลดน้ำตาลก็ไม่ได้ทำให้หาย เพียงแต่เป็นการคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเท่านั้น คนที่เป็นเบาหวานต้องดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ร่วมกับการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน สำหรับสาเหตุของเบาหวานมาจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดื่มน้ำตอนท้องว่าง ได้ประโยชน์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความแนะนำการกินน้ำเมื่อท้องว่างจะได้ประโยชน์มาก ช่วยชะลอความแก่ และยังสามารถรักษาได้สารพัดโรคนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร. รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “น้ำไม่ได้รักษาโรค แค่ช่วยขนส่งสารอาหารต่าง ๆ ขับของเสีย สร้างสมดุลในร่างกายสามารถกินได้ตลอดเวลา ไม่ได้มีเวลาพิเศษสำคัญที่กินน้ำอะไรและปริมาณการกินให้เพียงพอต่อวันมากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์ : แอสปาแตม ก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

7 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เตือนว่า WHO ประกาศ แอสปาแตม อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เตือนระวังการดื่มน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จากการรายงานข่าวในต่างประเทศ WHO ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ (คาดว่าจะประกาศ 14 ก.ค. 66)และหากประกาศจริงก็อาจจะอยู่ในระดับ 2B หมายถึง “พบการก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และอาจก่อมะเร็งในมนุษย์” อย่างไรก็ตาม การก่อมะเร็งไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่สัมพันธ์กับปริมาณที่กินจะต้องมากด้วย ปัจจัยการก่อมะเร็งจากแอสปาแตม (แม้กระทั่งในสัตว์ทดลอง)1. ปริมาณการกิน : หากไม่ถึงปริมาณที่ อย. กำหนด ก็ไม่เป็นอันตราย2. สุขภาพของผู้กินแต่ละคน : ผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า PKU ต้องระวังในการใช้แอสปาแตม ทั้งนี้ เครื่องดื่มและอาหารที่ไม่มีน้ำตาล ในปัจจุบัน มีการใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดอื่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลข้างเคียงของยาลดไขมันที่หมอไม่เคยบอก จริงหรือ ?

3 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือน 5 ผลข้างเคียงของยาลดไขมัน ที่หมอไม่เคยบอก ตั้งแต่ทำให้อ่อนแรง เบาหวาน และไตวายนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) คลิปดังกล่าวเป็นการเอ่ยถึงอันตรายของยา จากผู้ที่ไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เป็นการนำผลข้างเคียงจากการใช้ยา มาพูดให้เกิดความรู้สึกว่า หากกินยาลดไขมัน (Statin) แล้ว จะเกิด 5 ผลร้ายอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่ควรแชร์คลิปดังกล่าวเนื่องจากยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ผลประโยชน์ จากการใช้ยา Statin และยังมีกลุ่มคนที่ยังจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้จริง ๆ และต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่สำหรับคนกลุ่มที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ ก็ไม่ควรใช้ยา Statin สัมภาษณ์เมื่อ  : 7 กุมภาพันธ์ 2566  ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต เรื่องปิ้งย่างและหมูกระทะ จริงหรือ ?

5 กรกฎาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับเมนูฮิตอย่างปิ้งย่างหรือหมูกระทะเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าก่อนกินหมูกระทะตองถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน และยังมีวิธีกินปิ้งย่างที่ห่างไกลมะเร็งอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มันหมูเป็นอาหารสุขภาพอันดับ 8 ของโลก จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำว่าไขมันหมูคืออาหารสุขภาพที่ได้รับการจัดเป็นอันดับ 8 ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลSeunghyeon Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong BaptistPan-Jun Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌  “แม้งานวิจัยระบุว่ามันหมูมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจนลืมนึกถึงโทษที่ตามมา” อันดับที่ 2 : อะลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมู อันตรายจริงหรือ ? มีการแชร์คลิปการทำหม้อชาบู-ย่างหมูกระทะ โดยใช้กระดาษอะลูมิเนียมฟอยล์กับเทียนไข ต่อมาก็มีการแชร์กันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอันตราย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ไมยราบ หญ้าวิเศษ รักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำ สมุนไพร “ไมยราบ”เป็น “หญ้าวิเศษ” แก้ลมพิษทันใจ แก้ได้หลายโรคนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ในตำราสมุนไพรมีการกล่าวถึงสรรพคุณของไมยราบว่าสามารถเอาไปตำละเอียดมาโปะทาแก้ลมพิษใช้ในการขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวง รักษาการตกขาว ช่วยเรื่องการนอนหลับได้ สามารถนำมากินเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินทุกวันหรือระยะยาว เพราะอาจมีทำให้เซลล์ผิดปกติได้หรือมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีการตรวจสอบตาเหล่หรือตาเข ใช้ได้จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์วิธีการตรวจสอบดวงตาว่ามีภาวะตาเหล่หรือตาเขหรือไม่ สำหรับเด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อยจึงจะตรวจสอบได้และ ในผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตรนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย Q : เด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อย จึงจะตรวจสอบตาเขได้ จริงหรือ ?A : วิธีนี้ใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาตาเขออกนอกบางเวลาเท่านั้น การให้เด็กเล่นจนเหนื่อยหรือเพลียมาก เขาอาจจะแสดงออกให้คนรอบข้างเห็น เพราะเด็กจะหมดแรง ในการเพ่งกล้ามเนื้อตา หรือควบคุมกล้ามเนื้อตาทั้งสองข้างให้อยู่ตรงกัน Q : ผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตร จริงหรือ ?A : เป็นวิธีสังเกตตัวเองสำหรับคนที่ตาเขมาก ๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการน้อย ก็จะสังเกตไม่แน่ชัด Q : วิธีดูตาเขหรือตาเหล่ เบื้องต้นทำอย่างไร ?A : แพทย์จะดูตำแหน่งของตาดำจากภายนอก ดูปฏิกิริยาจากการส่องไฟฉาย ดูการโฟกัสของสายตาและการมองเห็น โดยแพทย์จะสังเกตเงาไฟฉาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเหล่หรือตาเข

29 มิถุนายน 2566 – ภาวะตาเหล่หรือตาเขคืออะไร ตาเหล่ ตาเข เหมือนกันหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ตาเหล่ ตาเข เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน เมื่อมองตรง ตาดำข้างหนึ่งจะไม่อยู่ตรงกลาง อาจจะมีข้างหนึ่งเขเข้า หรือเขออก ตาเหล่เทียม เป็นลักษณะที่ดูคล้ายกับอาการของการเป็นตาเข ตาเหล่ แต่ความจริงแล้วผู้ที่เป็นตาเหล่เทียมไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เลย ตาเหล่ซ่อนเร้น หรือตาส่อน  อาการของตาเหล่ซ่อนเร้นจะแสดงออกเมื่อผู้ป่วยเหม่อ ไม่ได้โฟกัสวัตถุใด หรือปิดตาไว้หนึ่งข้าง ตาข้างที่ไม่ได้ใช้มองจะค่อย ๆ เหล่ออกด้านข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อหัวตาผ่อนแรงจนไม่ได้ดึงตาข้างหนึ่งกลับมาให้ตรงเหมือนกับอีกข้าง ตาเหล่ เกิดจากสาเหตุใด ? การรักษาอาการตาเหล่ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะตาเข การผ่าตัดแก้ไขตาเข ไม่ยุ่งยาก ให้ผลลัพธ์ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากสามารถขอใช้สิทธิประกันการรักษาได้อีกด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 9 มิถุนายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นวดหูแก้ปัญหาน้ำในหูไม่เท่ากันได้ จริงหรือ ?

23 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์แนะนำวิธีนวดหู สามารถรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เรื่องที่แชร์ดังกล่าว ไม่เป็นความจริง ยังไม่มีหลักฐานเชิงวิชาการอ้างอิงในเรื่องนี้ จึงไม่ควรแชร์ต่อ การนวดใบหูอาจจะไม่ส่งผลเสียอย่างชัดเจน แต่หากออกแรงนวดมากเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีแต่อย่างใด อาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนัง หรือใบหูบวมอาจทำให้ใบหูผิดรูปได้ อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อย แต่อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเท่านั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคของหูชั้นนอก โรคของหูชั้นกลาง เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จึงควรมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งการสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้การวินิจฉัย สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ รวมทั้งการรักษาที่ถูกต้องจะดีที่สุด สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษาโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเองได้ จริงหรือ ?

ไม่ควรซื้อยา สมุนไพรต่าง ๆ มารับประทานเอง พราะหลงเชื่อคำโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์ของขิงและขมิ้น จริงหรือ ?

21 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสรรพคุณของขมิ้นและขิงเอาไว้มากมาย ทั้งช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลในมดลูก และการต้มน้ำขิงดื่มแด้นิ้วล็อกได้นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ขมิ้นชันประโยชน์มากมาย จริงหรือ ? มีการแชร์ว่า ขมิ้นชันมีสารพัดวิตามิน พร้อมสรรพคุณมากมาย ต้องกินตามเวลาจะป้องกันและช่วยรักษาได้หลายโรค ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  รศ.ดร.ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “การจะใช้ขมิ้นชันเพื่อหวังรักษาโรคร้ายที่เป็นมานานให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก ในด้านของโรคมะเร็ง ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) อาจจะช่วยลดความเป็นพิษของคีโม แต่ไม่ได้รักษาให้มะเร็งหายขาดได้” อันดับที่ 2 : น้ำขิงสดลดน้ำหนัก ปรับสมดุลมดลูก จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเทคนิคการลดความอ้วนและปรับสมดุลในมดลูกด้วยการดื่มน้ำขิง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 อาหารเสริม เหมาะกับโรค SLE จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2566 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ 5 อาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ป่วย SLE เช่น น้ำมันปลา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และน้ำมันจมูกข้าวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับการกิน 5 อาหารเสริมว่าเหมาะกับผู้ป่วย SLE ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ โรค SLE มีความหลากหลาย เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง 5 อาหารเสริมที่แชร์กัน มีดังนี้ อย่างไรก็ตาม สารประกอบต่าง ๆ อาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาบางจุด แต่ไม่ได้มีหลักฐานช่วยรักษาโรค SLE ได้อย่างองค์รวมและเนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันได้มากมายขึ้นกับอาการ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 กุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : […]

1 2 3 4 5
...