แจงสถานการณ์เตียงล้นทุกระดับสี วอนช่วยกันอยู่บ้าน ลดอัตราป่วย

อธิบดีกรมการแพทย์ แจงสถานการณ์เตียงล้นทุกระดับสี ขอความเห็นใจ 2-4 สัปดาห์ ต้องช่วยกันลดอัตราการป่วย อยู่บ้านให้มากที่สุด เพราะจำนวนเตียงไม่พอ รองรับไม่ไหว

เลื่อนเปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่านค่ายมือถือเป็น 11.00น.วันนี้

กรุงเทพฯ 29 ก.ค.-วันนี้ 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ และ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ กลับมาเปิดลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่ออีกครั้ง เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 1-31ส.ค.นี้ ล่าสุดทางกรมการแพทย์ ได้มีการเลื่อนเวลาเริ่มเปิดลงทะเบียนจาก 09.00น. มาเป็นเวลา 11.00น. โดยผู้ลงทะเบียนต้องเป็นบุคคลที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด เข็มที่ 1 มาก่อน แบ่งเกณฑ์ตามอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ,ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป/ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง (ไม่รวมผู้ติดตาม) เฉพาะกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ต้องมีการเช็คกับกรมการแพทย์ประกอบด้วย และกรณีที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน ต้องเช็คกับโรงพยาบาลที่ทำการรักษาเพื่อส่งข้อมูลเข้าไปตรงส่วนกลาง ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุ18ปีขึ้นไป มีโควต้าให้วันละ 10,000 โดส ส่วนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง มีโควต้าให้วันละ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นอนคว่ำ-นอนตะแคง เพิ่มออกซิเจนในปอด ให้ผู้ป่วยโควิด-19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์คำแนะนำให้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เตียงในการรักษา ให้นอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย สลับกันไปทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น และช่วยในการขับเสมหะ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น บทสรุป แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง          ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น สำหรับคนที่ร่างกายปกติ สุขภาพแข็งแรง การนอนคว่ำ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประโยชน์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์  “สำหรับคนที่ยังไม่ได้เตียง เริ่มเหนื่อยๆ ไม่รู้ระดับอ็อกซิเจนปลายนิ้ว ให้นอนคว่ำ ตะแคง หงาย หัวสูงวนไปนะคะ สลับทุก 2 ชม. หาหมอนมารองตามข้อต่อ เอาให้นอนแล้วสบายตัว ปกติถ้าอ็อกต่ำกว่า […]

กรมการแพทย์ แจงแก้ไขปัญหาศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อแออัด

กรมการแพทย์ แจงแก้ไขปัญหาการจราจรและความแออัดที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เน้นย้ำปรับระบบการลงทะเบียนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผ่าน call center หมอพร้อม โทร. 0 2792 2333 เท่านั้น ลงทะเบียน on-site เฉพาะผู้ที่อายุ 75 ปีขึ้นไป พร้อมแนะให้มีผู้ติดตามได้เพียง 1 คน

กรมการแพทย์เร่งปรับระบบ 1668 รองรับผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น

กรมการแพทย์ร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ปรับปรุงระบบสาย 1668 ประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อรองรับปริมาณสายที่ติดต่อเพิ่มขึ้นมากถึง 5 เท่า แนะหากเป็นผู้ป่วยรายใหม่และไม่เคยโทรประสานเตียง 1668 สามารถ add line ID : @1668.reg เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดหาเตียงได้ทันที ส่วนผู้ป่วยที่เคยโทรมาประสานหาเตียงแล้ว เจ้าหน้าที่จะโทรติดตามอาการวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะสามารถประสานหาเตียงได้

อธิบดีกรมแพทย์ ย้ำ Home Isolation ใช้เมื่อจำเป็น แม้สมัครใจ

สธ. 30 มิ.ย.-อธิบดีกรมแพทย์ ระบุเตียงรักษาโควิด-19 ใน กทม.ยังตึง ย้ำแนวทางHome Isolation ใช้เมื่อจำเป็น แม้ผู้ป่วยสมัครใจรับรักษา แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ หลังมีผู้ป่วย 30 คนต้องการ Home Isolation ขณะที่กลุ่มโรงเรียนแพทย์ รพ.สังกัดกรมการแพทย์ และ รพ.เอกชน เร่งขยายเตียงรอรับผู้ป่วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวย้ำ แนวทางการรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง หรือ Home Isolation ว่า เงื่อนไขของการรักษานี้จะใช้ระหว่างการรอเตียงในโรงพยาบาลและใช้ในผู้ป่วยสีเขียวที่มีอาการเล็กน้อยเท่านั้น โดยมี สปสช.สนับสนุนงบประมาณ ตกรายละ1,000 บาทให้กับโรงพยาบาลไว้ซื้ออุปกรณ์ดูแล ทั้งปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจน และค่าอาหาร 3 มื้อที่โรงพยาบาลจะเป็นผู้ประสานกับ ร้านอาหารในการจัดส่ง เบื้องต้นในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ มีผู้สมัครใจต้องการใช้แนวทางการรักษาพยาบาลที่บ้าน 30 คน แต่สามารถใช้ได้จริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการรักษาแบบนี้ นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้หลายโรงพยาบาลทั้งสังกัดกรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ เร่งขยายเตียงให้เพียงพอ โดยกลุ่มโรงเรียนแพทย์ ทั้ง […]

กรมแพทย์แจงการใช้ยาไอเวอร์เม็กตินรักษาโควิด เป็นดุลพินิจแพทย์

อธิบดีกรมการแพทย์ แจงการใช้ยาไอเวอร์เม็กติน รักษาโควิด ไม่ใช่แนวทางการรักษาหลัก เป็นเพียงหมายเหตุ เพราะเป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ การใช้เป็นดุลพินิจของแพทย์ เพราะการรักษาเป็นการประกอบโรคศิลปะ เตรียมศึกษาวิจัยในคนหลักพันคน เพื่อเปรียบเทียบกับยารักษาสูตรเดิม

กรมแพทย์เผยแนวทางดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน

สธ. 28 มิ.ย.-อธิบดีกรมการแพทย์ รับสถานการณ์โควิดตึง จำต้องใช้ Home Isolation ทำในผู้ป่วยโควิดสีเขียวพื้นที่ กทม. และต้องสมัครใจ รับเฉพาะผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง หรือผู้ป่วยกักตัวครบ 10 วันใน รพ.แล้ว เหลือเวลากักตัวอีก 4 วัน เหมาะสำหรับคนอยู่คอนโดฯ บ้านเดี่ยว หรือบ้านที่ไม่แออัด มีห้องน้ำแยก เตรียมวางระบบส่งอาหาร 3 มื้อ พร้อมยา คาดมีคนป่วยสมัครใจ 100 คน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน (Home Isolation) ว่า ต้องยอมรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิดในขณะนี้ตึง โดยมีผู้ป่วยรอเตียงเฉลี่ยวันละ 400-500 คน และคาดว่าเหลือรอเตียงประมาณ 1,000 คน ทำให้แนวทางการดูแลผู้ป่วยต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ โดยนิยามของ Isolation และ Quarantine นั้นแตกต่างกัน โดย Isolation […]

ฉีดวัคซีน ศูนย์ฯบางซื่อ 1เดือนทะลุครึ่งล้านโดส

กรมการแพทย์โชว์ศักยภาพศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อใน 1 เดือนยอดฉีดทะลุครึ่งล้านโดส ทั้งซิโนแวค 1.6 แสนคน ครบ 2เข็มคือ 3.2แสแนโดส และแอสตราเซเนกา 1.8 แสนโดส เผยผลข้างเคียงพบค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.40 ตั้งเป้าเร่งฉีดวันละ 1.5-2 หมื่นคน ให้ครอบคลุมประชากรของกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุด

กรมการแพทย์แจงข่าวปลอมแนวทางการรักษาคนไข้โควิด-19

อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงข่าวปลอมอ้างแนวทางการรักษาคนไข้โควิด-19 ของกรมการแพทย์ ไม่มีการปั๊มหัวใจใดๆ ไม่มีการสอบถามญาติถึงความต้องการในการช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ข้อความต่อ ระบุแนวทางการรักษาที่เชื่อถือได้ สามารถดูได้จากเว็บไซต์กรมการแพทย์

1 10 11 12 13 14 25
...