ยูทูบลบบัญชีผู้ใช้สถานีโทรทัศน์เมียนมา
อัลฟาเบท อิงค์ บริษัทแม่ของกูเกิลสั่งลบบัญชีผู้ใช้ช่องยูทูบเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ 5 แห่งของกองทัพเมียนมา หลังเกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
อัลฟาเบท อิงค์ บริษัทแม่ของกูเกิลสั่งลบบัญชีผู้ใช้ช่องยูทูบเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ 5 แห่งของกองทัพเมียนมา หลังเกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
วอชิงตัน 5 มี.ค. – สหรัฐประกาศใช้มาตรการใหม่เพื่อลงโทษกองทัพเมียนมาที่ก่อเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยการระงับการค้าบางประเภทของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกลุ่มบริษัทชั้นนำของกองทัพเมียนมา กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐระบุในแถลงการณ์ว่า สหรัฐจะไม่ยอมให้กองทัพเมียนมายังคงได้รับผลประโยชน์จากการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ หลายรายการอีกต่อไป รัฐบาลสหรัฐจะยังคงใช้มาตรการลงโทษผู้ก่อเหตุรัฐประหาร โดยที่พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า กระทรวงกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาใช้มาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐยังบังคับให้เมียนมาตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในการควบคุมการส่งออกเพื่อการใช้งานทางทหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตของสหรัฐขอใบอนุญาตจัดส่งสินค้าบางรายการได้ยากมากขึ้น สำหรับกลุ่มบริษัท 2 แห่งที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวคือ เมียนมา อีโคโนมิก คอร์ปอเรชั่น และเมียนมา อีโคโนมิก โฮลดิงส์ ลิมิเต็ด ที่กองทัพเมียนมาใช้เพื่อควบคุมเศรษฐกิจเมียนมาส่วนใหญ่ผ่านทางบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นและบริษัทย่อยอีกหลายแห่ง ซึ่งมีผลประโยชน์ครอบคลุมตั้งแต่เบียร์ บุหรี่ ระบบโทรคมนาคม ยางรถยนต์ เหมืองแร่ และอสังหาริมทรัพย์ สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อตอบโต้กองทัพเมียนมาที่ใช้กำลังรุนแรงปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่ชุมนุมกันอย่างสันติ ขณะที่สหประชาชาติระบุว่า มีผู้ประท้วงเสียชีวิตอย่างน้อย 54 คนตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหาร และมีผู้ประท้วงกว่า 1,700 คนที่ถูกจับกุมตัว ซึ่งรวมถึงนักข่าว 29 คนด้วย.-สำนักข่าวไทย
เจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมาจับกุมช่างภาพสำนักข่าวเอพีของสหรัฐและผู้สื่อข่าวอีก 5 คนที่รายงานข่าวการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร
ตำรวจเมียนมาเปิดฉากยิงระเบิดแสงสลายกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารในวันนี้ ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนจะประชุมร่วมกับตัวแทนกองทัพเมียนมา เพื่อยุติความรุนแรงและหาทางออกจากวิกฤตการเมืองจากการก่อรัฐประหาร
ผู้สื่อข่าวชาวเมียนมาถูกทหารจากกองทัพเมียนมาบุกจู่โจมและจับกุมตัวในที่พักหลังเกิดเหตุปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารติดต่อกันหลายวัน
สิงคโปร์ 1 มี.ค.- นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์เผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน จะประชุมพิเศษในวันอังคารเพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา นายบาลากริชนันแถลงต่อรัฐสภาสิงคโปร์ในวันนี้ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะประชุมพิเศษผ่านระบบวิดีโอทางไกลในวันพรุ่งนี้ และจะรับฟังการชี้แจงของตัวแทนกองทัพเมียนมา เขาขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมางดการใช้กำลังถึงตาย และดำเนินมาตรการเร่งด่วนที่จะคลี่คลายความตึงเครียดเพื่อไม่ให้เกิดการนองเลือด ความรุนแรง และการสูญเสียชีวิตอีก ขอให้ทุกฝ่ายในเมียนมาหันหน้าเข้าหากันเพื่อหาทางออกทางการเมืองระยะยาว รวมถึงการกลับไปสู่เส้นทางของการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีวิน มินต์ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ และนักการเมืองคนอื่น ๆ ได้รับการปล่อยตัวโดยทันที หลังจากถูกควบคุมตัวตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นางซู จี วัย 75 ปีขึ้นศาลในกรุงเนปิดอว์ผ่านระบบวิดีโอในวันนี้ และถูกตั้งข้อหาเพิ่มอีก 2 ข้อหาคือ ข้อหาตามมาตราในประมวลกฎหมายอาญาสมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษที่ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจสร้างความกลัวหรือตื่นตกใจ หรือทำลายความสงบสุขของประชาชน และข้อหาตามกฎหมายโทรคมนาคมที่กำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนอุปกรณ์สื่อสาร เดิมเธอถูกตั้งข้อหานำเข้าวิทยุสื่อสาร 6 เครื่องโดยผิดกฎหมายและข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วยการละเมิดระเบียบเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กำหนดขึ้นศาลครั้งใหม่ในวันที่ 15 มีนาคม.-สำนักข่าวไทย
นางออง ซาน ซู จี ผู้นำพลเรือนเมียนมาที่ถูกรัฐประหารยึดอำนาจขึ้นศาลในกรุงเนปิดอว์แล้วในวันนี้ผ่านระบบวิดีโอ และถูกตั้งข้อหาเพิ่มเป็นข้อหาที่สาม
ย่างกุ้ง 1 มี.ค.- ผู้เห็นเหตุการณ์เผยว่า เห็นยานยนต์ของทหารและตำรวจประมาณ 10 คันจอดอยู่บริเวณสี่แยกในนครย่างกุ้ง จุดที่เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับกองกำลังรักษาความมั่นคงเมียนมา หลังจากเมื่อวานนี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน จากการปะทะในหลายเมือง รอยเตอร์รายงานว่า ผู้ชุมนุมใช้สื่อสังคมออนไลน์เรียกร้องให้ทำลายกล้องวงจรปิดของทางการ บางคนแชร์สูตรทำสเปรย์พริกไทยเพื่อใช้ตอบโต้เจ้าหน้าที่ บางคนทำโล่โลหะให้แก่ผู้ชุมนุมแนวหน้า นักเคลื่อนไหวเยาวชนคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กเรื่องเหตุสังหารผู้ชุมนุมว่า ขอประกาศให้กองทัพเมียนมาเป็นองค์กรก่อการร้าย คณะกรรมการตัวแทนสมาชิกสภาเมียนมาอ้างว่า มีผู้เสียชีวิต 26 คนเมื่อวานนี้ การใช้กำลังเกินกว่าเหตุและการละเมิดอื่น ๆ ของรัฐบาลทหารถูกบันทึกไว้หมดแล้ว และจะต้องรับโทษ ด้านหนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาของทางการเตือนเมื่อวานนี้ว่า จะต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับฝูงชนไร้ขื่อแปที่กองทัพไม่สามารถเพิกเฉยได้ แม้ว่าที่ผ่านมาได้ใช้ความอดกลั้นแล้ว สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองเผยว่า เมื่อวานนี้มีคนถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 270 คน จากที่ถูกควบคุมตัว ตั้งข้อหาหรือตัดสินลงโมษทั้งหมด 1,132 คนนับจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประณามกองกำลังรักษาความมั่นคงเมียนมาที่ใช้ความรุนแรงอย่างน่ารังเกียจ เช่นเดียวกับนายมาร์ก การ์โน รัฐมนตรีต่างประเทศแคนาดาที่ระบุว่า การที่กองทัพใช้กำลังถึงตายกับประชาชนของตนเองเป็นเรื่องน่าตกใจ.-สำนักข่าวไทย
กองกำลังความมั่นคงเมียนมา ยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารในหลายเมือง โดยวานนี้วันเดียวมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน ถูกคุมตัวแล้วกว่า 850 คน
เฟซบุ๊ก สื่อโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ประกาศระงับบัญชีผู้ใช้ของกองทัพเมียนมาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กและอินสตราแกรม โดยมีผลบังคับใช้ในทันที
นิวยอร์ก 25 ก.พ. – องค์กรนอกภาครัฐหรือเอ็นจีโอเกือบ 140 แห่งจาก 31 ประเทศทั่วโลกร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกเมื่อวานนี้ เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติใช้มาตรการโดยด่วนในการห้ามจำหน่ายหรือจัดส่งอาวุธกับเมียนมา หลังเกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มเอ็นจีโอระบุในจดหมายว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรลงมติใช้มาตรการเร่งด่วนในการขอให้ประเทศต่าง ๆ ทั่งโลกหยุดจำหน่ายหรือจัดส่งอาวุธให้เมียนมา เพื่อตอบโต้การก่อรัฐประหารและยับยั้งไม่ให้รัฐบาลทหารเมียนมารังแกประชาชนอีกต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลที่อนุญาตการส่งมอบอาวุธไปให้เมียนมา เช่น จีน อินเดีย อิสราเอล เกาหลีเหนือ ฟิลิปปินส์ รัสเซีย และยูเครน ควรยุติการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในทันที ผู้ที่ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีเอ็นจีโอในทวีปเอเชียหลายสิบแห่งรวมอยู่ด้วยยังระบุเพิ่มเติมว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรใช้มาตรการคว่ำบาตรแบบเจาะจง คำสั่งระงับการเดินทางทั่วโลก และการอายัดทรัพย์สินของเหล่าผู้นำรัฐบาลทหารและเครือบริษัทที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ ขณะที่นายเคนเนธ รอธ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอชท์ องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ระบุว่า สิ่งที่คณะมนตรีควรทำอย่างน้อยที่สุดก็คือ การใช้มาตรการห้ามจำหน่ายอาวุธให้กับเมียนมา หลังเกิดเหตุสังหารหมู่ชาวโรฮิงญา การก่ออาชญากรรมสงครามหลายสิบปี และการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย
กลุ่มนักศึกษาและแพทย์เมียนมาเตรียมจัดการชุมนุมครั้งใหม่ในวันนี้เพื่อต่อต้านรัฐประหาร ขณะที่สหรัฐแสดงความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่มาเลเซียสั่งเนรเทศชาวเมียนมาราว 1,100 คนกลับประเทศในช่วงที่เกิดความขัดแย้งรุนแรง