“ใ” ไม้ม้วนในภาษาไทย มีคำไหนบ้าง? | คำไทยใช้อย่างไร
“ใ” ไม้ม้วนในภาษาไทยที่หลายคนคงเคยใช้และรู้จักกันดี แต่รู้ไหมครับว่าในภาษาไทยเรานั้นมีคำที่ใช้ “ใ” แค่ 20 คำเท่านั้น มีคำไหนบ้าง ไปดูกันเลยครับ
“ใ” ไม้ม้วนในภาษาไทยที่หลายคนคงเคยใช้และรู้จักกันดี แต่รู้ไหมครับว่าในภาษาไทยเรานั้นมีคำที่ใช้ “ใ” แค่ 20 คำเท่านั้น มีคำไหนบ้าง ไปดูกันเลยครับ
“สวัสดี” คำที่เราใช้ทักทายกันในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งช่วงเทศกาลต่าง ๆ “สวัสดีปีใหม่” หรือ “สวัสดีวันสงกรานต์” แต่รู้ไหมครับว่าคำนี้มาจากไหน น้องจุกมีคำตอบมาฝากครับ
เคยสงสัยไหมว่า “แฟน” ที่เราใช้เรียกคนรักกันอยู่ทุกวันนี้มาจากไหน แล้วก่อนหน้านี้คนไทยเราใช้คำไหนเรียกแฟน ไปดูกันเลยครับ
ประสบการณ์ หรือ ประสพการณ์ คำในภาษาไทยที่หลายคนมักเกิดความสับสนและคงจะเคยเห็นผ่าน ๆ ตากันมาทั้งสองคำ แต่รู้ไหมครับว่าคำไหนคือคำที่ถูกต้องและมีความหมายตรงกับคำว่า experience ในภาษาอังกฤษ ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับน้องจุกเลยครับ
“มณฑป” อ่านว่า มน-ดบ หรือ มน-ทบ กันแน่ โอ๊ย…สับสนไปหมดวันนี้น้องจุกมีเฉลยพร้อมคำอธิบายมาฝากทุกคนคร้าบ
“แพะรับบาป” คำนี้มาจากไหน เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมเจ้าแพะที่แสนน่ารักจึงต้องมารับบาปกันนะ แพะทำอะไรผิด ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
“ผัดไทย” เอ๊ะหรือ “ผัดไท” คำนี้ทุกคนคุ้นเคยกันดีใช่ไหมครับ แล้วรู้ไหมครับว่าคำไหนคือคำที่เขียนถูกต้อง ติ๊กตอก ติ๊กตอก ติ๊กตอก … ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับน้องจุกกันครับ
“สาสน์ สาส์น สาร” อ่านว่าอะไร มันต่างกันไหมนะ แล้วต้องใช้แบบไหนนะ สาส์นจาก… หรือ สารจาก…โอ๊ยสับสนไปหมด น้องจุกมีคำตอบมาฝากกันคร้าบ ไปดูกันเลย!
“…จันทร์ อังคาร พุธ…” เคยสงสัยกันไหมครับว่าชื่อวันต่าง ๆ ที่เราเคยได้ยินกันอยู่นั้นมาจากไหน มีที่มาจากภาษาอะไร แล้วแปลว่าอะไร? น้องจุกมีคำตอบมาฝากครับ
“ตำรับ” หรือ “ตำหรับ” อีกคำหนึ่งที่หลายคนคงเกิดความสับสนว่าจะต้องเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องกันแน่ น้องจุกมีคำตอบมาฝากทุกคนกันครับ
“นอต” “น็อต” หรือ “น๊อต” คำที่หลายคนคุ้นเคยและใช้กันเป็นประจำ แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องนั้นเขียนแบบไหน น้องจุกมีคำที่ถูกต้องมาฝากกันครับ
สำนักข่าวไทย 7 ต.ค. 63 – “อนุญาติ” หรือ “อนุญาต” คำที่มักจะหลอกให้หลายคนสับสนว่าที่ถูกต้องคือ ญาติ หรือ ญาต กันแน่ น้องจุกมีคำที่ถูกต้องมาฝากกันครับ เฉลย… คำที่ถูกต้องคือ “อนุญาต” นะครับ มีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดมาตลอดเลยใช่ไหมครับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายคำว่า “อนุญาต” ไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง ยินยอม, ยอมให้, ตกลง มาจากภาษาบาลีนะครับ แล้วคำว่า “อนุญาติ” มีความหมายไหม? คำว่า “อนุ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายไว้ว่า เป็นคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า “น้อย” ส่วนคำว่า “ญาติ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า เป็นคำนาม หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ มาจากภาษาบาลี ดังนั้น […]