ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

กรมที่ดินเตือน มิจฉาชีพหลอกซื้อบ้าน-ที่ดิน หวังเงินค่าปรับ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

13 กรกฎาคม 2566 วิธีหลอก : ติดต่อทำทีว่าจะซื้อบ้าน-ที่ดิน วางเงินมัดจำสูง อุบาย : โทรศัพท์แจ้งผู้ขายขอยกเลิกสัญญา ให้ยึดเงินมัดจำ เมื่อถึงวันโอน มิจฉาชีพไปรอที่กรมที่ดิน ให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ ส่งผลให้ผู้ขายผิดสัญญาและถูกเรียกค่าปรับ สูงกว่าเงินมัดจำช่องทาง : โทรศัพท์ ⚠️ กรมที่ดินเตือนภัยมีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากนั้นหลอกให้ผู้ขายผิดสัญญาและหวังเงินค่าปรับจำนวนมาก ⚠️  เริ่มจากกลุ่มมิจฉาชีพจะทำการติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน และวางเงินมัดจำสูง โดยมีการระบุวันโอนขายที่ดินกันไว้ แต่ก่อนถึงวันโอนที่ดิน มิจฉาชีพจะใช้วิธีการโทรศัพท์แจ้งผู้ขาย ขอยกเลิกสัญญาซื้อขายและยอมให้ยึดเงินมัดจำ  ⚠️  เมื่อผู้ขายหลงเชื่อและไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินตามสัญญา มิจฉาชีพจะไปที่สำนักงานที่ดินและนั่งรอตั้งแต่เช้า เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปและพนักงานที่ดินเห็นเป็นพยาน ทำให้ผู้ขายเข้าข่ายผิดสัญญา และมิจฉาชีพจะเรียกค่าปรับตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่ามัดจำ  ⚠️  กรมที่ดินแนะให้ผู้ขายตรวจสอบประวัติของผู้มาติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากกลุ่มมิจฉาชีพ รวมถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อเป็นหลักฐานเสมอ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์พิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

AIS ยืนยัน 1175 เป็นเบอร์จริง แค่โทร.แจ้งบริการ ดูดเงินจากบัญชีไม่ได้ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า  “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย  ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]

มัดรวมกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า” และ “การประปา” l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

23 พฤษภาคม 2566 มุกหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เนื้อหาไปตามสถานการณ์ ทั้ง แจ้งว่าได้รับสิทธิ์ ได้รับเงินคืน อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน อย่าง การไฟฟ้า และการประปา มักโดนแอบอ้างชื่อ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จึงได้รวบรวมกลโกงที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้า และการประปามาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า”  สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การประปา”1. แอบอ้างเป็นพนักงานการประปา เปลี่ยนมาตรวัดน้ำให้ฟรี พร้อมให้ส่วนลดค่าน้ำ 2. ปลอมไลน์การประปา หลอกให้จ่ายค่าน้ำ3.ส่ง SMS หลอกว่า ค่าน้ำแพง หลอกให้ทำธุรกรรมผ่านทางไลน์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า การไฟฟ้าประกาศยืนยันว่า ไม่มีนโยบายคืนเงินให้ผู้ใช้ไฟ หรือขอเบอร์โทรศัพท์ เพื่อแจ้งข้อมูล หรือรับสิทธิ์ใด ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางใด ๆ ทั้งสิ้น รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ หรือ 1129 PEA Contact Center ตลอด […]

โมเดลลิ่งปลอม ! หลอกปั้นเด็ก ที่แท้หวังโกงเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย  1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️  ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์  

ระวัง ! เว็บไซต์การประปานครหลวงปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อ และสื่อประกอบคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของการประปานครหลวง (กปน.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินช่องทาง : เว็บไซต์ การประปานครหลวงเตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้บันทึกข้อมูลส่วนตัว หวังฉวยไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง URL ใหม่แต่อย่างใด กรุงเทพฯ 8 พ.ค. 66 – นางชวิณา วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง (กปน.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน สร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกชิงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากการตรวจสอบของการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์ปลอมขององค์กรจำนวนมากกำลังระบาดอยู่ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพคิดฉวยโอกาสจากความไม่รู้ของประชาชน ประกอบกับเจตนาร้าย หวังสร้างความเสียหายจึงเลือกใช้วิธีเลียนแบบเว็บไซต์ ให้มีชื่อและสื่อประกอบคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์ของจริง เมื่อลูกค้าคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะพบกับหน้ากรอกข้อมูลส่วนตัว กับดักสำคัญที่มิจฉาชีพจะดึงข้อมูลไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากลูกค้าหลงเชื่อจนบันทึกข้อมูลจริงจะถือว่าตกเป็นเหยื่อทันที การประปานครหลวง ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง […]

เตือนภัยสายเที่ยว ! เพจปลอม-บัญชีอวตาร หลอกสำรองค่าที่พักดัง ก่อนเชิดเงินหนี | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อที่พักดัง ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งอุบาย : มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1. ใช้เพจปลอม มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นแอดมิน มีการคัดลอกเนื้อหาจากเพจจริง โดยอาศัยการยิงโฆษณาเพื่อสร้างความเข้าใจผิด 2. ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตารแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่าง ๆ เพื่อโพสต์ข้อความในลักษณะ “มีที่พักราคาดีหลุดจองอยู่”เมื่อเหยื่อสนใจตลอดจนติดต่อเข้าไปก็จะถูกลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา แน่นอนว่าการสำรองดังกล่าวไม่เป็นความจริง หากเหยื่อเดินทางไปเข้าพักยังสถานที่จริงย่อมไม่สามารถเข้าพักได้ช่องทาง : แอปพลิเคชัน Facebook ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพใช้เพจปลอม-บัญชีอวตารแนะนำที่พัก ก่อนแอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ด้าน ‘โฆษก’ ขอให้ประชาชนระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแนบวิธีการป้องกัน กรุงเทพฯ 4 พ.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมช่องทางการติดต่อของที่พักดัง แอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงเหยื่อให้โอนเงินสำรองค่าที่พักก่อนชิ่งหนีไป ฉวยโอกาสฤดูกาลท่องเที่ยว ปลอมช่องทางการติดต่อ แอบอ้างชื่อที่พักดัง มิจฉาชีพอ้างตนเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่พัก ซึ่งมีรูปแบบของอุบายที่แตกต่างกัน ดังนี้1. […]

เตือนภัย ! จ้างกดโหวตภาพยนตร์ พาสูญเงินเกลี้ยงบัญชี  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : ส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิวภาพยนตร์อุบาย : อ้างเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” โดยส่งลิงก์ปลอมให้กดไลก์ กดโหวต จากนั้นหลอกให้โอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต อ้างให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15%ช่องทาง : โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตร.ไซเบอร์เตือนมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้เสริม ส่งลิงก์จ้างกดโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” ก่อนหลอกโอนเงิน อ้างใช้เป็นคะแนนโหวต แลกค่าตอบแทน 10-15% กรุงเทพ 4 พ.ค. 66 – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพแอบอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างผู้เสียหายโปรโมตภาพยนตร์ โดยใช้ขั้นตอนการหลอก ดังนี้1. แอบอ้างเป็นบริษัทโฆษณาชักชวนหารายได้พิเศษ เพียงกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิว เพื่อโปรโมตภาพยนตร์ ออกใหม่ที่กําลังเข้าฉาย พบเคสที่ผ่านมานําภาพยนตร์ตลกเรื่อง “เสือเผ่น 1” มาแอบอ้าง2. มิจฉาชีพจะใช้วิธีการส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดไลก์ กดโหวต เพื่อเพิ่มยอดวิว จากนั้นหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต โดยอ้างว่า จะให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15% 3. จากนั้น มิจฉาชีพจะทำให้ผู้เสียหายตายใจ โดยจ่ายค่าจ้างให้ในครั้งแรก แต่ต่อมาจะเริ่มให้ทำภารกิจที่ยากขึ้น และต้องโอนเงินให้ประมาณหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน […]

เช็กก่อนซื้อ ! ฉวยโอกาสค่าไฟแพง หลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : ปลอมบัญชี หรือเพจเฟซบุ๊ก เพื่อหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell)อุบาย : ใช้บัญชี หรือเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยมักจะแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มซื้อขายแผงโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยอาศัยภาพสินค้า รีวิวจากช่องทางอื่นที่มีการซื้อขายจริง ร่วมกับโฆษณาอวดอ้างถึงข้อดีต่าง ๆ ของสินค้าดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจหยิบยกอุบาย “สินค้าใกล้หมดแล้ว” มาเร่งรัดให้เหยื่อรีบตัดสินใจสั่งซื้อช่องทาง : แอปพลิเคชัน Facebook ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเป็นร้านค้าออนไลน์ แฝงตัวเข้ากลุ่ม โพสต์หลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) อ้างว่า ถูกและดี ใกล้หมดแล้วต้องรีบซื้อ ! ด้านโฆษกวอนประชาชน “อย่าเห็นแก่ของถูกแล้วรีบโอนเงิน” พร้อมแนบแนวทางการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้ปลอดภัย กรุงเทพฯ 28 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar […]

ตร.ไซเบอร์ ทลายแก๊งนายทุนจีน หลอกส่งของเก็บเงินปลายทาง | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : สุ่มส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง ซึ่งเป็นสินค้าไม่ตรงปก และไม่ได้สั่งอุบาย : ส่งสินค้าเก็บเงินปลายทางที่ไม่ตรงปก และไม่ได้สั่ง โดยหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อว่า อาจมีบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานเป็นคนสั่งก่อนชำระเงินให้ไปช่องทาง : การส่งพัสดุ แอบอ้างเป็นบริษัทส่งของต่าง ๆ ตร.ไซเบอร์บุกทลายแก๊งมิจฉาชีพนายทุนจีน สุ่มส่งสินค้าไม่ตรงปก และไม่ได้สั่ง หลอกเหยื่อที่หลงเชื่อ ให้ชำระเงินปลายทาง เสียหายเป็นจำนวนมาก และยังพบพัสดุที่ถูกตีกลับนับหมื่นกล่อง กรุงเทพฯ 26 เม.ย. 66 – พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท 2 และ พ.ต.อ.จักรกฤช ศรีโรจนากูร ผกก.2 บก.สอท.2 นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2 (บก.สอท.2) ปิดล้อมตรวจค้น 3 จุด ในพื้นที่บางนา หลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมากว่าได้รับความเดือดร้อนจากการที่มีพัสดุเก็บเงินปลายทางมาส่ง ทำให้หลงเชื่อว่า อาจมีบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน […]

ระวัง ! SMS “ทิพยประกันภัย” ปลอม อ้างมอบสิทธิพิเศษ หวังดูดเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างเป็นพนักงานของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)อุบาย : ส่งข้อความสั้น (SMS) อ้างว่า มอบสิทธิพิเศษมูลค่าสูงตามแต่ละโอกาสสำคัญ  พร้อมแนบลิงก์เพิ่มเพื่อนกับบัญชีไลน์ปลอม เมื่อเหยื่อเข้าไปติดต่อสอบถาม จะทำการขอข้อมูลส่วนตัว จากนั้นหลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่เป็นไฟล์อันตราย เพื่อควบคุมอุปกรณ์ และสวมรอยทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อในที่สุดช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), แอปพลิเคชัน LINE ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงานของทิพยประกันภัย ส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกขอข้อมูลส่วนตัว และให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หวังดักรหัสผ่านไปทำธุรกรรม เป็นเหตุให้สูญเงิน ด้านทิพยประกันภัย ย้ำ ! ไม่มีช่องทางการติดต่อดังกล่าว และการมอบสิทธิพิเศษในลักษณะนี้ กรุงเทพฯ 25 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ผ่านทางบัญชีไลน์ปลอม และลิงก์ไฟล์อันตราย หวังดักรหัสผ่านแอปพลิเคชันธนาคารไปสวมรอยทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ แอบอ้างชื่อ-สิทธิพิเศษ […]

1 2 3 4
...