fbpx

มัดรวมกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า” และ “การประปา” l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

23 พฤษภาคม 2566

มุกหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เนื้อหาไปตามสถานการณ์ ทั้ง แจ้งว่าได้รับสิทธิ์ ได้รับเงินคืน อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน อย่าง การไฟฟ้า และการประปา มักโดนแอบอ้างชื่อ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จึงได้รวบรวมกลโกงที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้า และการประปามาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ


สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า” 

  1. ได้สิทธิ์รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน 
  2. อ้างว่า เจ้าหน้าที่เข้าไปจดตัวเลขมิเตอร์มาผิดทำให้ชำระค่าไฟมาเกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อรับเงินคืน
  3. ชักชวนชำระค่าไฟฟ้าให้บุคคลอื่น เพื่อได้รับแต้ม และจะคืนเงินภายหลัง 
  4. ชักชวนเปลี่ยนมิเตอร์ลดค่าไฟ 
  5. ชวนจ่ายค่าไฟผ่านแอปพลิเคชันปลอม
  6. ปลอมตัวเป็นพนักงานการไฟฟ้า หลอกเงิน

สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การประปา”
1. แอบอ้างเป็นพนักงานการประปา เปลี่ยนมาตรวัดน้ำให้ฟรี พร้อมให้ส่วนลดค่าน้ำ
2. ปลอมไลน์การประปา หลอกให้จ่ายค่าน้ำ
3.ส่ง SMS หลอกว่า ค่าน้ำแพง หลอกให้ทำธุรกรรมผ่านทางไลน์


ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า การไฟฟ้าประกาศยืนยันว่า ไม่มีนโยบายคืนเงินให้ผู้ใช้ไฟ หรือขอเบอร์โทรศัพท์ เพื่อแจ้งข้อมูล หรือรับสิทธิ์ใด ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางใด ๆ ทั้งสิ้น รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ หรือ 1129 PEA Contact Center ตลอด 24 ชั่วโมง 

รวมถึงการประปาก็ได้ประกาศเตือนประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ ให้ติดต่อผ่านทางช่องทางหลักของการประปาเท่านั้น ได้แก่  เว็บไซต์ www.pwa.co.th, PWA Line Official @PWAThailand และแอปพลิเคชัน PWA Plus Life+ ซึ่งดาวน์โหลดได้จาก Google Play และ App Store เท่านั้น 

ส่ง SMS ล่อลวง ต่อด้วยหลอกโหลดแอปพลิเคชันปลอม ! 

มิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความ SMS ที่ระบุข้อความที่กระตุ้นอารมณ์ ทั้งล่อตาล่อใจว่า จะได้รับเงินคืน หรือหลอกให้หลงกลด้วยสารพัดวิธี ซึ่งข้อความเหล่านั้นจะมาพร้อมกับลิงก์ เพื่อเพิ่มเพื่อนทางไลน์ ที่มีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน มาตั้งเป็นชื่อบัญชี และรูปโปรไฟล์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้เสียหายหลายรายหลงเชื่อ จากนั้นหลอกล่อให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หลอกให้ตั้งรหัสหลายครั้ง เพื่อหวังให้เหยื่อกรอกรหัสชุดเดียวกับการทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคาร รวมถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือ (Remote Desktop) เช่น  ดูและควบคุมหน้าจอ เมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย


10 ข้อเตือนใจจากตำรวจไซเบอร์ก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 

 1.ไม่กดลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ ให้รางวัล หรือโปรโมชันต่าง ๆ
2. ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใด ๆ ลงในลิงก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสผ่าน 6 หลัก ที่ซ้ำกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ 
3. หากได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่คุ้นเคย และมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ขอชื่อ นามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่ โดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับไปภายหลัง ตรวจสอบก่อนว่า มาจากหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ โดยการโทรศัพท์ไปสอบถามผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้น โดยตรง รวมถึงตรวจสอบว่า มีการประกาศแจ้งเตือนการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่
4.ระวัง LINE Official Account ปลอม โดยสังเกตบัญชีที่ผ่านการรับรองจะมีสัญลักษณ์โล่สีเขียว หรือโล่สีน้ำเงิน หากเป็นโล่สีเทาหรือไม่มีโล่เลย จะเป็นบัญชีทั่วไปยังไม่ได้ผ่านการรับรอง ต้องตรวจสอบยืนยันให้ดีเสียก่อน
5.ไม่ติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ผู้อื่นส่งมาให้โดยเด็ดขาด แม้จะเป็นโปรแกรมที่รู้จักก็ตาม เพราะอาจเป็นแอปพลิเคชันปลอม โดยหากต้องการใช้งานให้ทำการติดตั้งผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น
6.ไม่อนุญาตให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก หรือไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย ไฟล์นามสกุล .Apk
7.ไม่อนุญาตให้เข้าถึงอุปกรณ์ และควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถืออย่างเด็ดขาด
8.ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใด ๆ ลงในลิงก์ หรือแอปพลิเคชันในลักษณะดังกล่าวโดยเด็ดขาด 
9.หากติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมแล้ว ให้รีบทำการ Force Reset หรือการบังคับให้อุปกรณ์นั้นรีสตาร์ต (ส่วนใหญ่เป็นการกดปุ่ม Power พร้อมปุ่มปรับเสียงค้างไว้) ในกรณีเกิดอาการค้างไม่ตอบสนอง หรือเปิดโหมดเครื่องบิน (Airplane Mode) หรือปิดเครื่องเพื่อตัดสัญญาณไม่ให้โทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ถอดซิมการ์ดโทรศัพท์ออก หรือทำการปิด Wi-Fi Router
10. อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์
พิสูจน์อักษร : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้