fbpx

สาสน์ สาส์น สาร ต่างกันไหม? | คำไทยใช้อย่างไร

“สาสน์ สาส์น สาร” อ่านว่าอะไร มันต่างกันไหมนะ แล้วต้องใช้แบบไหนนะ สาส์นจาก… หรือ สารจาก…โอ๊ยสับสนไปหมด น้องจุกมีคำตอบมาฝากกันคร้าบ ไปดูกันเลย!

ชื่อวันมาจากไหน? | คำไทยใช้อย่างไร

“…จันทร์ อังคาร พุธ…” เคยสงสัยกันไหมครับว่าชื่อวันต่าง ๆ ที่เราเคยได้ยินกันอยู่นั้นมาจากไหน มีที่มาจากภาษาอะไร แล้วแปลว่าอะไร? น้องจุกมีคำตอบมาฝากครับ

“ตำหรับ” หรือ “ตำรับ” | คำไทยใช้อย่างไร

“ตำรับ” หรือ “ตำหรับ” อีกคำหนึ่งที่หลายคนคงเกิดความสับสนว่าจะต้องเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องกันแน่ น้องจุกมีคำตอบมาฝากทุกคนกันครับ

“นอต” หรือ “น็อต” | คำไทยใช้อย่างไร

“นอต” “น็อต” หรือ “น๊อต” คำที่หลายคนคุ้นเคยและใช้กันเป็นประจำ แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องนั้นเขียนแบบไหน น้องจุกมีคำที่ถูกต้องมาฝากกันครับ

“อนุญาติ” หรือ “อนุญาต” | คำไทยใช้อย่างไร

สำนักข่าวไทย 7 ต.ค. 63 – “อนุญาติ” หรือ “อนุญาต” คำที่มักจะหลอกให้หลายคนสับสนว่าที่ถูกต้องคือ ญาติ หรือ ญาต กันแน่ น้องจุกมีคำที่ถูกต้องมาฝากกันครับ เฉลย… คำที่ถูกต้องคือ “อนุญาต” นะครับ มีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดมาตลอดเลยใช่ไหมครับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายคำว่า “อนุญาต” ไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง ยินยอม, ยอมให้, ตกลง มาจากภาษาบาลีนะครับ แล้วคำว่า “อนุญาติ” มีความหมายไหม? คำว่า “อนุ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายไว้ว่า เป็นคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า “น้อย” ส่วนคำว่า “ญาติ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า เป็นคำนาม หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ มาจากภาษาบาลี ดังนั้น […]

“กฏหมาย” หรือ “กฎหมาย” | คำไทยใช้อย่างไร

“กฏหมาย” หรือ “กฎหมาย” คำที่หลายคนมักสับสนว่าสะกดด้วย ฎ หรือ ฏ กันแน่ ก็แหม ต่างกันแค่มีหยักหรือไม่มีหยัก ก็มักจะจำผิดบ้างใช่ไหมล่ะครับ น้องจุกมีคำที่ถูกต้องมาฝากกันครับ

“โอกาส” หรือ “โอกาศ” | คำไทยใช้อย่างไร

“โอกาส” หรือ “โอกาศ” อีกคำหนึ่งที่หลายคนมักโดนหลอกในข้อสอบใช่ไหมครับว่าสะกดด้วย ส. เสือ หรือ ศ. ศาลา กันแน่…ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับน้องจุกกันครับ

“น้ำแข็งใส” หรือ “น้ำแข็งไส” | คำไทยใช้อย่างไร

สำนักข่าวไทย 15 ก.ย. 63 – “น้ำแข็งใส” หรือ “น้ำแข็งไส” คำที่หลาย ๆ คนมักสับสนว่าที่ถูกต้องจะต้องเขียนแบบไหนกันแน่ น้องจุกมีคำตอบมาฝากทุกคนครับ เฉลย…คำที่ถูกต้องคือ “น้ำแข็งไส” นะครับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำว่า “น้ำแข็งไส” ไว้ว่า : น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย  เนื่องจากวิธีการทำน้ำแข็งไสนั้นมาจากการ “ไสน้ำแข็ง” คือ ดันก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไสที่เป็นม้าไม้ 2 ขาเตี้ย ๆ ตรงกลางมีใบกบฝังจากข้างล่าง ให้คมอยู่ข้างบน เพื่อย่อยน้ำแข็งให้เป็นฝอยจึงเรียกน้ำแข็งลักษณะนี้ว่า “น้ำแข็งไส” ไม่ใช่ “น้ำแข็งใส” นะคร้าบ เห็นแบบนี้แล้ว อย่าลืมใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องกันนะครับ น้องจุกขอลาก่อน ไว้พบกันใหม่กับ “คำไทยใช้อย่างไร” และน้องจุกนะครับ สวัสดีครับ.-สำนักข่าวไทย

ศีรษะ หรือ ศรีษะ? | คำไทยใช้อย่างไร

ศีรษะ หรือ ศรีษะ เชื่อว่าคำนี้คงเป็นคำที่หลาย ๆ คนมักเขียนผิดจนทำให้เกิดความสับสนว่า ที่ถูกต้องแล้ว สระอี เจ้าปัญหา จะต้องอยู่บน ศ. ศาลา หรือ ร. เรือ กันแน่นะ? สำนักข่าวไทยมีคำตอบมาฝากค่ะ

คำไทยใช้อย่างไร | ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal” และ “New norm.”

ศ.นพ.สุรพล อิสรไกรศีล ได้โพสต์ชี้แจงรายละเอียดทางเฟซบุ๊กเมื่อวานนี้ (13 พ.ค. 63) เวลา 18.05 น. เรื่องการบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal ” และ “New norm.”

“ปารีณา” ร่อนหนังสือแจงเหตุงดสัมภาษณ์ปมที่ดิน

“ปารีณา” ร่อนหนังสือแจงเหตุงดสัมภาษณ์ปมที่ดิน ทั้งนี้ หนังสือชี้แจงเผยแพร่ออกไป เพจ “คำไทย” ได้นำมาโพสต์ พร้อมเขียนว่า…. แก้ให้เท่านี้ เพราะที่เหลืออ่านแล้วงงจริง ๆ

...