คณะรัฐประหารกินีเมินถูกคว่ำบาตร
คณะรัฐประหารของกินี ไม่กังวลกรณีถูกคว่ำบาตร พร้อมยืนยันจะยังไม่ปล่อยตัวอดีตประธานาธิบดีกินี ที่ถูกจับระหว่างรัฐประหาร
คณะรัฐประหารของกินี ไม่กังวลกรณีถูกคว่ำบาตร พร้อมยืนยันจะยังไม่ปล่อยตัวอดีตประธานาธิบดีกินี ที่ถูกจับระหว่างรัฐประหาร
ล็อบบี้ยิสต์ ที่รัฐบาลทหารจ้างมาให้เป็นตัวแทนประสานงานในกรุงวอชิงตันของสหรัฐและในประเทศอื่น ๆ กล่าววานนี้ว่า เขาได้หยุดการทำงานกับนายทหารระดับสูงในกองทัพเมียนมาแล้ว เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาของนานาประเทศทำให้เขาไม่ได้รับค่าจ้าง
ผู้นำอิหร่านเตือนประชาชนอาจต้องเผชิญการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 5 หากยังไม่มีไเพียงพอ จึงต้องประกาศให้ หลายเมืองเป็นเขตพื้นที่สีแดง
นิวยอร์ก 17 พ.ค.- สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เตรียมพิจารณาญัตติไม่มีผลผูกพันที่เรียกร้องให้ระงับทันทีการจัดส่งอาวุธให้แก่รัฐบาลทหารเมียนมา เจ้าหน้าที่ยูเอ็นเผยว่า ที่ประชุมเต็มคณะจะพิจารณาในเวลา 19:00 น.วันอังคารตามเวลามาตรฐานสากล ตรงกับเวลา 02:00 น.วันพุธตามเวลาในไทย หากไม่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์ สมาชิกสมัชชายูเอ็น 193 ประเทศจะลงมติต่อไป มติของสมัชชาใหญ่ยูเอ็นแม้ไม่มีผลผูกพัน แต่เป็นการแสดงนัยยะทางการเมืองอย่างสำคัญ ญัตติดังกล่าวเสนอโดยลิกเตนสไตน์ ประเทศในยุโรปกลาง ได้รับการสนับสนุนจาก 48 ประเทศ ในจำนวนนี้มีเอเชียเพียงประเทศเดียวคือเกาหลีใต้ ผ่านการเจรจาต่อรองมาหลายสัปดาห์จนกระทั่งได้ญัตติเรียกร้องให้ระงับทันทีการจัดส่ง จำหน่าย หรือลำเลียงอาวุธ เครื่องกระสุน และอุปกรณ์ทางทหารทุกอย่างให้เมียนมา เรียกร้องให้เมียนมายุติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยุติทันทีการใช้ความรุนแรงทั้งหมดต่อผู้เดินขบวนอย่างสันติ ปล่อยตัวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขทั้งประธานาธิบดีวิน มินต์ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และทุกคนที่ถูกควบคุมตัว ตั้งข้อหา หรือจับกุมตามอำเภอใจตั้งแต่การรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ญัตติยังเรียกร้องให้เมียนมาเร่งปฏิบัติทันทีตามมติเอกฉันท์ 5 ประการที่ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนตกลงไว้เมื่อวันที่ 24 เมษายน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทูตพิเศษยูเอ็นเรื่องเมียนมาเดินทางไปตรวจสอบ และเพื่อเปิดทางให้แก่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างปลอดภัย.-สำนักข่าวไทย
นายจ่อ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติกล่าวต่อรัฐสภาสหรัฐเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลสหรัฐควรจะพุ่งเป้าใช้มาตรการลงโทษไปยังบริษัทนำมันและแก๊สและธนาคารของรัฐบาลเมียนมา
คคลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของจีนอย่างน้อย 3 คนยกเลิกสัญญากับ ฮิวโก บอส แบรนด์แฟชั่นชื่อดังจากเยอรมนี
ธนาคารโลกกล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจเมียนมาอาจตกต่ำร้อยละ 10 ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุความไม่สงบในประเทศ ในขณะที่ ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารยังคงเดินหน้าจัดการชุมนุมในหลายพื้นที่ต่อไปในวันนี้ หลังจากมีรายงานข่าวกองทัพยิงผู้ประท้วงเสียชีวิตอีก 9 ราย
จีนประกาศคว่ำบาตรเพื่อลงโทษองค์กร 4 แห่ง และบุคคล 9 ราย ในสหราชอาณาจักรในวันนี้
นิวยอร์ก 6 มี.ค.- ทูตพิเศษของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เรื่องเมียนมา เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) ดำเนินการกับรัฐบาลทหารเมียนมา หลังมีการสังหารผู้ชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร ข้อมูลของยูเอ็นระบุว่า มีผู้ชุมนุมถูกสังหารแล้วกว่า 50 คน เฉพาะวันพุธที่ผ่านมาวันเดียวถูกสังหารมากถึง 38 คน ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้กองทัพปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ และเคารพผลการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤศจิกายนที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดี (NLD) รอยเตอร์อ้างสำเนาถ้อยแถลงที่นางคริสทีน ชเรเนอร์ เบอร์เกเนอร์ ทูตพิเศษเรื่องเมียนมาแถลงต่อที่ประชุมปิดยูเอ็นเอสซี 15 ชาติเมื่อวานนี้ว่า นางเบอร์เกเนอร์ระบุว่าไม่สามารถปล่อยให้กองทัพเมียนมาลอยนวลได้อีกต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ยูเอ็นเอสซีจะต้องเด็ดเดี่ยวและร่วมกันแสดงพลังในเรื่องนี้และยืนเคียงข้างชาวเมียนมาอย่างแข็งขัน เพื่อสนับสนุนผลการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายนที่มีความชัดเจน นักการทูตชี้ว่า การจะให้ยูเอ็นเอสซีมีท่าทีที่เป็นหนึ่งเดียวในเรื่องเมียนมาด้วยการใช้มาตรการลงโทษคงเป็นไปไม่ได้ในเร็ว ๆ นี้ เพราะคาดว่าจะถูกคัดค้านจากจีนและรัสเซีย สองชาติสมาชิกถาวรที่มีสิทธิยับยั้งหรือวีโต้ สหรัฐและประเทศตะวันตกบางประเทศได้ใช้มาตรการลงโทษอย่างจำกัดกับรัฐบาลทหารเมียนมา ขณะที่นายโทมัส แอนดรูวส์ ผู้รายงานพิเศษสถานการณ์สิทธิมนุษยนชนในเมียนมาของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยูเอ็น เรียกร้องให้ประกาศคว่ำบาตรอาวุธเมียนมาในระดับโลกและใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างเจาะจง.-สำนักข่าวไทย
กองกำลังความมั่นคงเมียนมา ออกปฏิบัติการจับกุมฝ่ายตรงข้ามกองทัพอีกระลอกเมื่อคืนที่ผ่านมา มีผู้ถูกควบคุมตัวหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแพทย์คนหนึ่งที่เข้าร่วมในการรณรงค์ต่อต้านกองทัพด้วยการใช้วิธีอารยะขัดขืน
ปักกิ่ง 7 ก.พ.- นักสังเกตการณ์เตือนว่า รัฐประหารในเมียนมาเมื่อไม่กี่วันมานี้ควรเป็นเครื่องเตือนใจนักลงทุนชาวจีนที่จะให้เงินสนับสนุนโครงการในต่างประเทศว่า ควรพิจารณาเรื่องความเสี่ยงทางการเมือง โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจำเป็นต้องมีการสอบทานธุรกิจ นักวิจัยของสถาบันไท่เหอในกรุงปักกิ่งชี้ว่า นางออง ซาน ซู จี ดูเหมือนจะอยู่ในจุดที่มั่นคงมากเพราะอยู่ในอำนาจมา 5 ปี และพรรคของเธอชนะการเลือกตั้ง แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่ากองทัพยังคงทรงอำนาจและเมียนมายังคงมีความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์สูงอยู่ บริษัทจีนที่ทำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีไม่กี่แห่งที่ประเมินความเสี่ยงเมื่อเทียบกับบริษัทญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพราะชอบที่จะสร้างสัมพันธ์กับรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้การลงทุนเปราะบางเมื่อเกิดการเปลี่ยนขั้วอำนาจ เรื่องนี้เห็นได้ชัดมากกับการลงทุนในเมียนมาและกัมพูชา กรณีกัมพูชาดูเหมือนมั่นคงเพราะนายกรัฐมนตรีฮุน เซนยังอยู่ในอำนาจอีกนาน แต่ทันทีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจจะเกิดผลกระทบทางสังคม รวมถึงบรรยากาศการลงทุนอย่างใหญ่หลวง นักลงทุนจีนจึงควรประเมินล่วงหน้าอย่างดีและมองในระยะยาว ด้านนักวิจัยอาวุโสของสถาบันวิจัยความปลอดภัยโพ้นทะเลของจีนแนะว่า นักลงทุนจีน โดยเฉพาะบริษัทของรัฐจะต้องประเมินโอกาสที่จะถูกลูกหลงอย่างรอบคอบ โดยยกตัวอย่างเรื่องที่นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัดของมาเลเซียขู่ในปี 2561 ว่าจะยกเลิกโครงการทางรถไฟที่จีนสนับสนุนและลงนามไปในสมัยรัฐบาลนาจิบ ราซักว่า แม้มีการจรจาใหม่ในภายหลังแต่ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อความริเริ่มเส้นทางสายไหมในศตวรรษใหม่ (Belt and Road Initiative) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สำหรับกรณีของเมียนมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐขู่จะคว่ำบาตร ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อธุรกิจจีน หากสหรัฐคว่ำบาตรบริษัทที่ทำธุรกิจกับเมียนมา เหมือนที่คว่ำบาตรบริษัทที่ทำธุรกิจกับอิหร่านมาแล้ว.-สำนักข่าวไทย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐประกาศวานนี้ ขู่ที่จะกลับไปใช้มาตรการคว่ำบาตรเมียนมาอีกครั้งหลังจากที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล