16 พฤษภาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้มะเร็งกำเริบ
- การฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้บวมชั่วคราว ไม่ใช่สัญญาณบ่งชี้การป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา จากคลิปวิดีโอที่อ้างว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้ผู้ที่เคยหายป่วยจากโรคมะเร็ง กลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้งภายใน 2 ถึง 4 เดือน ซึ่งมะเร็งที่กลับมากำเริบจะรุนแรงกว่าเดิมและรักษาได้ยากกว่าเดิม คลิปวิดีโอดังกล่าวมียอดผู้ชมสูงกว่า 1 แสนครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ดร.สตีเวน เฟอร์แกม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือของศูนย์มะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (NCCN) ยืนยันไม่พบหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้มะเร็งกลับมากำเริบ
ดร.ซามูเอล กอดฟรีย์ หัวหน้าคณะวิจัยข้อมูล สถาบัน Cancer Research UK ในอังกฤษ ชี้แจงว่ามะเร็งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก เมื่อมีผู้รับวัคซีนโควิด-19 หลายร้อยล้านคน เป็นไปได้ที่จะมีผู้ป่วยมะเร็งกำเริบในกลุ่มผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19
เนื้อหาในวิดีโอยังเตือนว่า ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นมะเร็งหลังจากฉีดวัคซีน การรักษาให้หายจะยากกว่าเดิมมาก
ดร.ซามูเอล กอดฟรีย์ ชี้แจงว่าโดยปกติแล้ว ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง การรักษาจะทำได้ยากกว่าเดิมอยู่แล้ว เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีพัฒนาการที่รวดเร็ว ต่อให้ทำการรักษาจนเชื่อว่าหายขาดแล้ว หากมีเซลล์มะเร็งเพียงหนึ่งเซลล์ที่เหลือรอดจากการรักษา เซลล์มะเร็งนั้นก็จะสร้างเนื้อร้ายใหม่ที่ต้านทานการรักษาได้ดีกว่าเดิม และเซลล์มะเร็งที่เหลือรอดจากการรักษาก็มีขนาดเล็กมากและยากต่อการตรวจพบ
อาการข้างเคียงชั่วคราวที่พบในผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 บางราย คืออาการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฉีดยา ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายสัญญาณบ่งชี้การป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น และอาจสร้างความกังวลและความสับสนแก่ผู้ที่ขาดความเข้าใจ บุคลากรทางการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มาไม่นาน และกำลังเตรียมเข้ารับการตรวจหามะเร็ง จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลการฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการวินิจฉัยที่ผิดพลาด
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.politifact.com/factchecks/2022/mar/11/facebook-posts/no-evidence-covid-19-vaccines-linked-cancer-recurr/
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter