ชัวร์ก่อนแชร์: WHO ไม่ยอมรับภูมิคุ้มกันธรรมชาติ จริงหรือ?

21 เมษายน 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. WHO ให้ความสำคัญกับการสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” ผ่านการฉีดวัคซีน แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าการติดเชื้อสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้
  2. WHO ต่อต้านแนวคิดการแพร่เชื้ออย่างเสรีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะจะทำให้ผู้คนต้องติดเชื้อ, เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่ยอมรับว่าการติดเชื้อโควิด 19 สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เมื่อมีเปลี่ยนความหมายของ “ภูมิคุ้มกันหมู่” ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนเท่านั้น

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


Vox Check ได้ตรวจสอบประวัติการบัญญัติความหมาย “ภูมิคุ้มกันหมู่” บนเว็บไซต์ COVID-19 Q&A ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ผ่านทาง Wayback Machine

พบว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” ถูกกล่าวถึงในเว็บไซต์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2020 โดย WHO ให้ความหมายว่า เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางอ้อม เมื่อประชากรส่วนใหญ่ในสังคมได้รับการฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อมาแล้ว

จนเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน WHO ได้เปลี่ยนความหมายของ “ภูมิคุ้มกันหมู่” ว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถป้องกันผู้คนจากการติดเชื้อได้ เมื่อยอดการฉีดวัคซีนทำได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ก่อนที่ WHO จะปรับปรุงความหมายเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2020 โดยย้ำว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” จะเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนเท่านั้น ไม่ควรเกิดจากการทำให้ผู้คนติดเชื้อ

กระนั้น การอ้างว่า WHO ไม่ยอมรับว่าการติดเชื้อสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง จุดประสงค์การเปลี่ยนความหมาย “ภูมิคุ้มกันหมู่” เพราะไม่ต้องการให้เกิดการเชื่อมโยงกับการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการติดเชื้อ เป็นการต่อต้านแนวคิดการปล่อยให้การแพร่เชื้อเป็นไปอย่างเสรีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคม

เทดรอส แอดนาฮอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เคยแสดงความเห็นคัดค้านแนวคิดที่ว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการให้ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัส เนื่องจากเป็นแนวปฏิบัติที่ผิดหลักการทางวิทยาศาสตร์และผิดศีลธรรม เพราะเป็นการทำให้ผู้คนมากมายต้องติดเชื้อ, เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

ข้อมูลอ้างอิง:

https://maldita.es/malditaciencia/20211004/maquina-expendedora-cds-japon-video-viral/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เบื้องหลังล่าจ่าเอ็ม

เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา

“บิ๊กจ๋อ” เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา ชี้ คลาดกันแบบหายใจรดต้นคอ ก่อนประสานตำรวจกัมพูชารวบตัว เผย ผู้ต้องหาร้องขอเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย หวั่น ถูกประชาทัณฑ์

งานวันเด็ก

วันเด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างความสุขและรอยยิ้ม

ผู้ใหญ่ใจดี ทั้งภาครัฐ เอกชน หลายหน่วยงานทั่วประเทศ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ร่วมสนุก สร้างรอยยิ้มเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568

ดับไฟป่าดงพญาเย็น

ระดมกำลังดับไฟป่า ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง

กรมป่าไม้ – กรมอุทยานฯ – อบต. พญาเย็น ระดมกำลังดับไฟป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง โดยปฏิบัติการทั้งทางภาคพื้นและใช้ ฮ. ทิ้งน้ำดับไฟ