ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนซ้ำๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า จริงหรือ?

5 เมษายน 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck.org (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า จะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์หยุดการทำงานหลังถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนของเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง
  2. แต่การฉีดวัคซีนตามช่วงเวลาที่กำหนดไม่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้าแต่อย่างใด

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จที่อ้างว่าการฉัดวัคซีนซ้ำๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้าเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา โดย บิล มาร์ ดาวตลกและพิธีกรชาวอเมริกัน ให้สัมภาษณ์กับทางเว็บไซต์ Deadline ว่าการฉีดวัคซีนซ้ำๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า โดยอ้างงานวิจัยจากประเทศอิสราเอลที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ New York Times จนสื่อที่เผยแพร่แนวติดต่อต้านวัคซีนนำข้อความไปแชร์ต่อในวงกว้าง ส่วนเว็บไซต์ Children’s Health Defense ของ โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี จูเนียร์ นักเคลื่อนไหวต่อต้านวัคซีน ก็อ้างว่าองค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) ยอมรับในแถลงการณ์ว่า การฉีดวัคซีนซ้ำๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้าเช่นเดียวกัน

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


บทความจากหนังสือพิมพ์ New York Times เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมปี 2021 มีรายงานเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้าจากการฉีดวัคซีนซ้ำๆ ซึ่งประเด็นเริ่มมาจากการตั้งข้อสงสัยโดยสมาชิกบางรายในคณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของรัฐบาลอิสราเอล ระหว่างการหารือเรื่องความเหมาะสมในการออกนโยบายฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 4 ให้กับประชาชน

อย่างไรก็ดี ดร.ทาล บรอช นิสสิมอฟ สมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของอิสราเอลชี้แจงว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ตั้งข้อสงสัยดังกล่าวไม่ใช่สมาชิกที่ร่วมกำหนดนโยบายของคณะที่ปรึกษา พวกเขานำเรื่องดังกล่าวไปพูดกับสื่อ แล้วจึงมาหารือกับคณะที่ปรึกษาในภายหลัง ซึ่งดร.ทาล บรอช นิสสิมอฟ มองว่า ปัจจุบันยังไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่าการฉีดวัคซีนซ้ำๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า (immune system fatigue) ยังมีความหมายที่คลุมเครือ เนื่องจากไม่ใช่ศัพท์เทคนิกทางการแพทย์ ความหมายที่ใกล้เคียงคือความอ่อนล้าของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T cell exhaustion) ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทีเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ตรวจหาและกำจัดแอนติเจนของเชื้อโรค ความอ่อนล้าของทีเซลล์จะทำให้ทีเซลล์หยุดการทำงานหรือทำงานผิดปกติ หลังจากถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนอย่างต่อเนื่อง ทั้งแอนติเจนจากไวรัสหรือเนื้องอก

เอ็ดเวิร์ด จอห์น แวร์รี ที่ 3 นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Pennsylvania ผู้ศึกษาปรากฏการณ์ความอ่อนล้าของทีเซลล์อธิบายว่า T cell exhaustion จะเกิดขึ้นเมื่อการกระตุ้นจากแอนติเจนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดพัก เช่นที่เกิดกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นไวรัสตับอักเสบซีหรือไวรัส HIV หรือในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถควบคุมหรือกำจัดแอนติเจนจากเนื้อร้ายได้

แต่จอห์น แวร์รี ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนซ้ำๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนประจำปี หรือแม้แต่ฉีดวัคซีนทุก 4 เดือน จะไม่ก่อให้เกิดความอ่อนล้าในระบบภูมิคุ้มกัน และไม่มีหลักฐานว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความอ่อนล้า เหมือนที่หนังสือพิมพ์ New York Times รายงาน

นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบว่า ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่ติดเชื้อโควิด 19 จนป่วยโควิดเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดการอ่อนล้าได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นน่าจะเป็นการป้องกันการอ่อนล้าของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกทางหนึ่ง

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนถี่เกินไป คือการได้รับประสิทธิผลจากวัคซีนลดลง

ฟรานเซส อี. ลุนด์ ผู้อำนวยการสถาบันภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัย University of Alabama ชี้แจงว่า หากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถี่เกินไป เช่นฉีดทุกหนึ่งเดือน จะไม่ก่อให้เกิดการอ่อนล้าของระบบภูมิคุ้มกัน แต่จะทำให้การฉีดวัคซีนไม่ได้ผลเต็มที่ เนื่้องจาก mRNA ซึ่งเป็นโปรตีนของไวรัสจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว จึงไม่ช่วยให้การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เพียงพอ การฉีดวัคซีนถี่เกินไปจึงไม่ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพิ่มขึ้น แต่ย้ำว่าระยะห่างในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเวลา 4 ถึง 6 เดือน ถือเป็นระยะห่างที่เหมาะสม และไม่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความอ่อนล้าหรือไม่ตอบสนองต่อแอนติเจนแต่อย่างใด

ส่วนข้ออ้างของ Children’s Health Defense ที่บอกว่าองค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) เตือนเรื่องการฉีดวัคซีนซ้ำๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้า เป็นการบิดเบือนความเห็นของ มาร์โค คาวาเลรี หัวหน้าฝ่ายวางแผนวัคซีนของ EMA ที่แสดงความกังวลว่า หากมีการกำหนดให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถี่เกินไป เช่นฉีดทุกๆ 4 เดือน อาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองไม่ดีเท่าที่คาดหวัง เนื่องจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกระชั้นเกินไป จะทำให้การกระตุ้นระดับแอนติบอดีในการฉีดวัคซีนแต่ละครั้งลดต่ำลง

โฆษกของ EMA ชี้แจงว่า มาร์โค คาวาเลรี ให้ความเห็นว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถี่เกินไปอาจทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนลดลง ไม่ได้บอกว่าระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนล้าลง และมาร์โค คาวาเลรียังสนับสนุนให้ชาวยุโรปเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 3 อีกด้วย

แม้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนล้าจากการฉีดวัคซีนจะไม่ใช่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวล แต่ปัญหาที่ยังเป็นที่ถกเถียงคือ จำนวนการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ที่เหมาะสมควรอยู่ที่จำนวนกี่เข็ม

ประเทศอิสราเอลอนุมัติการฉีดวัคซีน Pfizer/BioNTech เข็มที่ 4 ให้กับประชานกลุ่มเสี่ยง แต่รัฐบาลหลายประเทศและนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนยังคิดว่าเร็วเกินไปที่จะประกาศให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 2 ยกเว้นผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง

จอห์น แวร์รี ชี้แจงว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือประโยชน์และความเสี่ยง เพราะความสำคัญของวัคซีนเข็มที่ 4 น้อยกว่าวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 อย่างมาก โดยเฉพาะกับหนุ่มสาวที่มีสุขภาพแข็งแรง เพราะประโยชน์ของการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 คือการลดตัวเลขผู้ติดเชื้อและฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 คือการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ของวัคซีนที่ต้องแลกกับอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4

ข้อสันนิฐานที่ จอห์น แวร์รี มีต่อวัคซีนเข็มกระตุ้น คือวัคซีนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ (immune imprinting) เมื่อฉีดไปมากๆ อาจทำให้ร่างกายลดประสิทธิภาพในการสร้างแอนติบอดีเพื่อรับมือกับไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ในอนาคต โดยยกตัวอย่างว่า หากอนาคตมีการผลิตวัคซีนสำหรับสายพันธุ์โอไมครอนโดยเฉพาะได้สำเร็จ การฉีดวัคซีนชนิดนั้นๆ ซ้ำๆ อาจทำให้ร่างกายขาดความสามารถในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับสายพันธุ์ที่คล้ายกับไวรัสเดลต้าซึ่งอาจแพร่ระบาดในอนาคต แม้จะเป็นข้อสันนิฐานที่ยังไม่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม

จอห์น แวร์รี ย้ำว่าตนเองสนับสนุนการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือโดสที่ 3 เนื่องจากธรรมชาติของวัคซีน mRNA มักจะได้ผลเมื่อฉีดครบ 3 โดส แต่การฉีดวัคซีน mRNA เป็นเข็มที่ 4 ยังจำเป็นต้องศึกษาประโยชน์และความเสี่ยงต่อไป ปัจจัยขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่เชื้อในสังคม, การอุบัติของสายพันธุ์ที่น่ากังวล รวมถึงการผลิตวัคซีนที่กระตุ้นประสิทธิภาพของเซลล์ความทรงจำชนิดทีเซลล์และบีเซลล์ มากกว่าให้ความสำคัญกับระดับแอนติบอดีเท่านั้น

ข้อมูลจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) เมื่อเดือนธันวาคมปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่ไวรัสโอไมครอนเริ่มแพร่ระบาดในสหรัฐฯ พบว่าชาวอเมริกันอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีน มีอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าคนที่ฉีดวัคซีน 2 โดสถึง 18 เท่า

สำหรับผู้ไม่ฉีดวัคซีนที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 64 ปี ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่าผู้ฉีดวัคซีน 3 โดสถึง 46 เท่า ส่วนผู้ไม่ฉีดวัคซีนอายุมากกว่า 65 ปี ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่าคนที่ฉีดวัคซีน 3 โดสถึง 52 เท่า

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.factcheck.org/2022/02/scicheck-covid-19-booster-enhances-protection-contrary-to-immune-fatigue-claims/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง