22 มีนาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนและต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายร้อยรายตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2021
- แม้อัตราการเข้าโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อโอไมครอนจะต่ำกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึงครึ่งหนึ่งก็ตาม
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง TikTok ในสหรัฐอเมริกา โดย แรนด์ พอล วุฒิสมาชิกรัฐเคนทักกี พรรครีพับลิกัน กล่าวในคลิปวิดีโอรณรงค์หาเสียงเมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2022 ว่า โควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความหวาดกลัวเกินจริง เนื่องจากผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และยังไม่มีผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
สหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2021 เป็นชาวเมืองแคลิฟอร์เนียที่เดินทางกลับมาจากประเทศแอฟริกาใต้
ในช่วงต้นเดือนธันวาคมปี 2021 โควิด 19 สายพันธุ์เดลต้ายังเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดสูงสุดในสหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพียงแค่ 0.6% แต่การสำรวจเมื่อวันที่ 4 มกราคม จำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มสูงถึง 95.4% และมีผู้ติดเชื้อเดลต้าเหลือเพียง 4.6%
องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยต่อ Politifact ว่า แม้อัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาลของของผู้ติดเชื้อโอไมครอนจะน้อยกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ปัจจัยอาจมาจากอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นและการมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน แต่การที่โอไมครอนแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ การติดเชื้อโอไมครอนอาจเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้รักษาตัวในโรงพยาบาลก็เป็นได้
ก่อนที่คลิปวิดีโอหาเสียงของ แรนด์ พอล จะเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2022 รายงานจาก Houston Methodist เครือข่ายโรงพยาบาลชั้นนำของรัฐเท็กซัสที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2022 เปิดเผยว่า คนไข้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 ใน Houston Methodist จำนวน 1,313 ราย มี 862 รายที่ยืนยันพบเชื้อโอไมครอน โดย 15% ของผู้ติดเชื้อโอไมครอนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ส่วนผู้ติดเชื้อเดลต้าต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 43% ส่วนผู้ติดเชื้ออัลฟาต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 55%
รายงานจากสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2021 พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วถึง 815 คน แม้สัดส่วนจะน้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลต้าถึงครึ่งหนึ่งก็ตาม
ทาง Politifact ได้สอบถามไปยัง แรนด์ พอล เรื่องการอ้างว่าไม่มีผู้ติดเชื้อโอไมครอนรักษาตัวในโรงพยาบาลในคลิปวิดีโอหาเสียงของเขา ซึ่ง เจค คุ๊ก รองผู้จัดการการณรงค์หาเสียงของ แรนด์ พอล ยืนยันว่าข้อความที่ใช้รณรงค์หาเสียงในคลิปวิดีโอ ถูกเขียนขึ้นก่อนพบว่ามีชาวอเมริกันรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะติดเชื้อโอไมครอน ปัจจุบันทีมงานได้ยุติการใช้คลิปวิดีโอตัวนี้ในการหาเสียงแล้ว ซึ่งทาง Facebook ก็ระงับการเผยแพร่คลิปดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.politifact.com/factchecks/2022/jan/07/rand-paul/sen-rand-pauls-ad-was-wrong-claiming-there-are-no-/
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter