ชัวร์ก่อนแชร์: เชื้อโรคกลายพันธุ์ ความรุนแรงลดลงเสมอ จริงหรือ?

5 มีนาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


ข้อมูลด้านชีววิทยาวิวัฒนาการสมัยใหม่ยืนยันว่าเชื้อโรคสามารถกลายพันธุ์ให้มีความรุนแรงน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าเชื้อโรคที่กลายพันธุ์จะลดความรุนแรงของโรคไปเรื่อยๆ ถ้าเชื้อโรคกลายพันธุ์แล้วเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โฮสต์หรือผู้รับเชื้อที่เชื้อโรคใช้พึ่งพิงจะเสียชีวิตกันหมด และมนุษย์อาจจะสูญพันธุ์ไปนานแล้ว โดยผู้โพสต์ยกตัวอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา และการระบาดของไวรัส HIV ในประเทศยูกันดาที่ลดความรุนแรงลงเรื่อยๆ


FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

การเหมารวมว่าเชื้อโรคที่กลายพันธุ์จะลดความรุนแรงของโรคไปเรื่อยๆ เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื้อโรคสามารถกลายพันธุ์แล้วมีความรุนแรงมากขึ้นหรือลดลงก็ได้

แอนดรูว์ รีด ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ มหาวิทยาลัย Penn State University กล่าวว่า การอ้างว่าเชื้อโรคที่ปรับตัวได้ดีจะลดความรุนแรงเพื่อเลี่ยงการทำร้ายโฮสต์ของตนเองมากเกินไม่เป็นความจริงเสมอไป ข้อมูลด้านชีววิทยาวิวัฒนาการสมัยใหม่ยืนยันว่าเชื้อโรคสามารถกลายพันธุ์ให้มีความรุนแรงน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้

ไวรัสไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยเซลล์ของโฮสต์ในการผลิตโปรตีนที่จำเป็นต่อการขยายพันธุ์ ยิ่งมีเวลาในการขยายพันธุ์มาก โอกาสที่จะเกิดการผ่าเหล่าระหว่างการแบ่งตัวก็มีสูง ซึ่งไวรัสที่กลายพันธุ์จะมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งความสามารถในการแพร่เชื้อและความรุนแรงของโรค ซึ่งปัจจัยอาจเกิดจากความกดดันจากการเลือกสรร (Selective Pressure) หรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

ความเชื่อที่ว่าเชื้อโรคจะลดความรุนแรงลงเรื่อยๆ เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อ ธีโอบอลด์ สมิธ นักพยาธิวิทยาชาวอเมริกัน ตั้งข้อสังเกตว่าสัตว์ในฟาร์มที่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากเห็บเป็นพาหะ จะมีอาการรุนแรงน้อยลง เมื่อเทียบกับการติดเชื้อก่อนหน้า

มีทฤษฎีทางเลือกที่เสนอแนวคิดว่า วิวัฒนาการของเชื้อโรคขึ้นอยู่กับการถ่วงดุลระหว่างความต้องการใช้ร่างกายของโฮสต์เป็นเครื่องมือในการแพร่เชื้อ และความเสี่ยงที่จะทำอันตรายต่อร่างกายของโฮสต์ที่ตัวเองอาศัยอยู่

ทฤษฎีดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงในแวดวงชีววิทยาวิวัฒนาการ เนื่องจากมีการศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวแค่บางส่วน ปัจจัยอื่นๆ เช่น การมีอยู่ของวัคซีนและปริมาณของโฮสต์ที่ใช้ในการแพร่เชื้อล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องใช้พิจารณา

เช่นกรณีของไวรัส HIV ซึ่งมีคุณสมบัติปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว แม้ในบางพื้นที่ไวรัสจะก่อความรุนแรงของโรคลดลง แต่อาจจะไปก่อความรุนแรงเพิ่มขึ้นยังพื้นที่อื่นๆ ก็เป็นได้

มีไวรัสหลายชนิดที่สามารถกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้นเช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่และไวรัส HIV ที่ให้กำเนิดสายพันธุ์ดื้อยาหลายชนิด ส่วนไวรัสอีโบลาและไวรัสซิกามีการปรับตัวเข้ากับร่างกายของโฮสต์ด้วยการกลายพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อสูงสุด ส่วนไวรัส Myxoma ซึ่งแพร่เชื้อในกระต่าย เคยเชื่อว่าเป็นไวรัสที่ทำให้การติดเชื้อซ้ำมีความรุนแรงลดลง ก็พบว่าการติดเชื้อในภายหลังมีความรุนแรงยิ่งขึ้น

เชื้อโรคไม่มีความจำเป็นต้องรักษาชีวิตของโฮสต์เพื่อแพร่เชื้อและขยายพันธุ์ เช่นในกรณีของเชื้อมาลาเรีย การติดเชื้อแต่ละครั้งอาจเกิดจากมาลาเรียหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ก่อโรคที่รุนแรงกว่าจะได้เปรียบสายพันธุ์ที่ก่อโรคน้อยกว่า ด้วยการฆ่าโฮสต์ก่อนที่สายพันธุ์อื่นๆ จะทำการขยายพันธุ์ได้สำเร็จ และทำให้สายพันธุ์ของตัวเองได้ประโยชน์สูงสุดจากการแพร่เชื้อ

ในส่วนของไวรัสโควิด 19 ถือเป็นไวรัสที่มีอัตราแพร่เชื้อสูงสุดในระยะที่ผู้รับเชื้อยังไม่แสดงอาการ ดังนั้นความเป็นอันตรายต่อโฮสต์อาจไม่ใช่อิทธิพลต่อวิวัฒนาการของไวรัสอย่างที่ทฤษฎีทางเลือกเสนอแนะ

ดร.อาเมช อดัลจา ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University กล่าวว่า ถ้ามองในเชิงมานุษยรูปนิยม ไวรัสมีความต้องการแค่แพร่เชื้อและขยายพันธุ์ ถ้าวิธีที่ดีที่สุดในการแพร่เชื้อของมันคือการก่อโรคที่รุนแรง ไวรัสชนิดนั้นก็จะรักษาระดับความรุนแรงของโรคเอาไว้ต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.politifact.com/factchecks/2021/dec/08/facebook-posts/viruses-and-other-pathogens-can-evolve-become-more/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง