นักวิจัยจีนพัฒนา “แก้ว” ชนิดใหม่ ย่อยสลาย-รีไซเคิลได้

ปักกิ่ง, 30 มี.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนพัฒนาแก้วชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายและรีไซเคิลทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย เนื่องจากแก้วถูกใช้งานกว้างขวางในหลายด้านและเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดี การใช้แก้วอนินทรีย์เชิงพาณิชย์และแก้วพลาสติกในปัจจุบันก่อเกิดอันตรายต่อระบบนิเวศและภาระสังคม เพราะไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมกระบวนการ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน จึงดำเนินการพัฒนาแก้วที่ย่อยสลายทางชีวภาพด้วยการใช้กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ที่มาจากกระบวนการชีวภาพผ่านขั้นตอนชุบแข็ง ผลการศึกษาในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) ระบุว่าแก้วชนิดใหม่นี้สามารถขึ้นรูปและมีคุณสมบัติทางแสงยอดเยี่ยม ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุด้วยการพิมพ์ 3 มิติ และการหล่อแม่พิมพ์ แก้วดังกล่าวสามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่โดยจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังสามารถทยอยย่อยสลายและดูดซึมหลังจากฝังใต้ผิวหนังของหนู ผลการศึกษายังพบว่าแก้วชนิดใหม่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ความสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถรีไซเคิลทางชีวภาพสูง เมื่อเทียบกับแก้วเชิงพาณิชย์และวัสดุพลาสติกที่ใช้กันในปัจจุบัน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230330/617c9742e11f4068a5d627bce20cb32d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/348947_20230401ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ชุมชนรักษ์โลกรวมกลุ่มผลิตจานใบจาก

แม่บ้าน บ้านทุ่งตะเซะ ใช้เวลาว่างหลังกรีดยาง เก็บปาล์มน้ำมัน และอาชีพประมง รวมกลุ่มช่วยกันผลิตจานใบจาก ปลอดภัยไร้สารตกค้าง แถมย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ถุงสปันบอนด์ไม่ใช่ถุงผ้า ทำจากพลาสติก จริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า “ถุงสปันบอนด์” แท้จริงไม่ใช่ “ถุงผ้า” แต่ทำมาจากพลาสติก สามารถกลายเป็นไมโครพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและธรรมชาติได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

สารคดีโลก | พลาสติกชีวภาพจากสาหร่าย

กลุ่มนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ อิสราเอล คิดค้นพลาสติกชีวภาพ ที่สามารถย่อยสลายได้อย่างรวดเร็ว โดยในขณะนี้ กำลังค้นหาแบคทีเรียและสาหร่ายที่เหมาะสมต่อการทำพลาสติกชีวภาพ

กทม.สรุปยอดกระทง ปีนี้กว่า 8 แสนใบ

ยอดกระทงทั่วกรุงเทพฯปีนี้ 811,945 ใบ ส่วนใหญ่เป็นกระทงวัสดุธรรมชาติ ส่งโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่โรงงานขยะหนองแขม ส่วนกระทงโฟม นำไปทำลายโดยฝังกลบ รอย่อยสลายต่อไป

...