ชัวร์ก่อนแชร์: Omicron แรงกว่า Delta 5 เท่า ผลตรวจ PCR ไม่ชัดเจน จริงหรือ?

28 กุมภาพันธ์ 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck.org (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. WHO ชี้แจงว่าข้อมูล ณ ปัจจุบันไม่พบว่า อาการป่วยจากการติดเชื้อ Omicron จะแตกต่างจากโควิด 19 สายพันธุ์อื่นๆ
  2. ไม่พบรายงานการตรวจหาเชื้อ Omicron ด้วยวิธีที่ WHO ให้การรับรองแล้วให้ผลลบลวง

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ Delta ถึง 5 เท่า และการตรวจหาเชื้อทำได้ยาก ผู้ติดเชื้อตรวจสอบด้วยวิธี PCR มักได้ผลที่เป็นลบ

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


จากการตรวจสอบโดย Factcheck.org พบว่าข้อมูลในปัจจุบันยังไม่อาจยืนยันความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัส Omicron แต่ข้อมูลเบื้องต้นยืนยันได้ว่าการติดเชื้อ Omicron ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง

ดร.แองเจลิค โคทซี ประธานสมาคมแพทย์แอฟริกาใต้และหนึ่งในแพทย์ผู้ทำการรักษาให้กับผู้ติดเชื้อ Omicron ในแอฟริกาใต้เป็นรายแรกๆ ยืนยันว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการที่พบได้แก่ อาการอ่อนล้าหมดแรง, เจ็บปวดตามร่างกาย, ป่วยศีรษะ และไม่มีอาการไออย่างรุนแรงเหมือนการติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อื่นๆ

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนปี 2021 ชี้แจงว่า อาการจากการติดเชื้อ Omicron ไม่แตกต่างจากโควิด 19 สายพันธุ์อื่นๆ

ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อ Omicron ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล Tshwane District Hospital เมืองพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ระบุว่ามีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลงกว่าเดิม และเคสที่พบการติดเชื้อส่วนใหญ่ มาจากตรวจหาเชื้อของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวจากการเจ็บป่วยโรคอื่นๆ (Incidental Cases)

นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ 6.6% ลดลงจาก 17% ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

ดร.แอนโทนี เฟาชี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIAID) กล่าวถึงความรุนแรงของ Omicron เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุความรุนแรง Omicron แต่เท่าที่พบยังไม่มีผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง สัดส่วนการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่อการติดเชื้ออาจทำให้เชื่อได้ว่า Omicron ไม่มีความรุนแรงเท่าสายพันธุ์อื่นๆ ปัจจัยอาจมาจากช่วงอายุของผู้ติดเชื้อช่วงแรกส่วนใหญ่เป็นคนอายุน้อย

อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องรอความกระจ่าง คือความรุนแรงที่ลดลงของการติดเชื้อ Omicron อาจสะท้อนภาพรวมของการติดเชื้อโควิด 19 ในสังคมที่ความรุนแรงของโรคลดลง ปัจจัยทั้งจากการฉีดวัคซีนที่เป็นไปอย่างแพร่หลาย หรือจากการติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน

นักวิจัยบางกลุ่มตั้งข้อสังเกตว่า แม้ประเทศแอฟริกาใต้จะมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ต่ำมาก แต่เชื่อว่ามีชาวแอฟริกาใต้จำนวนมากที่เคยติดเชื้อโควิด 19 มาก่อนแล้ว จึงเป็นเหตุผลให้การติดเชื้อ Omicron ไม่ทำให้เกิดอาการป่วยที่รุนแรง

ส่วนการอ้างว่าชุดตรวจโควิด 19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตรวจหาเชื้อ Omicron ได้ หรือให้ผลลบลวงล้วนเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากหลายๆ ประเทศสามารถตรวจพบเชื้อ Omicron ด้วยชุดตรวจมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนปี 2021 ยืนยันว่าชุดตรวจ PCR สามารถใช้ตรวจหาเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์ Omicron

ชุดตรวจ PCR บางประเภทอาจตรวจไม่พบยีนหนามหรือ S gene ของไวรัส Omicron บางชนิด (BA.1) แล้วให้ผลเป็นลบ แต่คุณลักษณะดังกล่าวคือการยืนยันการตรวจพบเชื้อ Omicron เพราะผลตรวจ S gene ของไวรัสสายพันธุ์ Delta, Beta และ Gamma จะได้ผลเป็นบวก ส่วนสายพันธุ์ Omicron และ Alpha จะให้ผลตรวจ S gene เป็นลบ เมื่อรวมกับข้อมูลการตรวจยีนในตำแหน่งอื่นที่ได้ผลเป็นบวก ก็สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Omicron

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ระบุว่า การตรวจไม่พบยีนหนามหรือ S-gene target failure (SGTF) สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันความน่าจะเป็นของการติดเชื้อ Omicron แต่แนะนำให้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมก่อนการสรุปผล เพราะยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่พบการหายไปของยีนหนามแบบเดียวกับ Omicron

WHO ยังยืนยันว่าไวรัส Omicron สามารถตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ได้ และยังไม่พบรายงานการตรวจหาเชื้อ Omicron ด้วยวิธีที่ WHO ให้การรับรองแล้วให้ผลลบลวง

ดร.แองเจลิค โคทซี ยืนยันว่าชุดตรวจ ATK สามารถตรวจหาเชื้อ Omicron ได้ แต่เตือนว่าไม่ควรตรวจในระยะเริ่มต้นที่ผู้ติดเชื้อกำลังแสดงอาการ

แม้มีแนวโน้มว่าไวรัส Omicron จะไม่ทำให้ป่วยรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่การเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อได้รวดเร็ว การติดเชื้อ Omicron ยังเป็นภัยต่อสังคมเช่นเดิม

ดร.ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการโครงการเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพของ WHO กล่าวว่า หากปล่อยให้ไวรัส Omicron แพร่ระบาดโดยไม่มีการตรวจสอบเป็นอันตราย แม้จะไม่พบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่การเพิ่มปริมาณของผู้ป่วยจากการติดเชื้อ จะเพิ่มภาระให้กับระบบสาธารณสุขและอาจเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยเช่นกัน

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.factcheck.org/2021/12/scicheck-post-comes-to-premature-conclusions-about-covid-19-omicron-variant-severity/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

ต่างชาติประทับใจซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

วันนี้มีการซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 2 ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งไม่เพียงแต่คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติก็ประทับใจกับความงดงาม

“พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ” ยันไม่ปล่อยผ่านคดีตากใบ เร่งตามผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ

ผบ.ตร.เผยคดีตากใบ เร่งติดตามตัวผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ เข้าตรวจค้น 29 ครั้ง เฝ้าจุดระวังติดตามกว่า 180 ครั้ง ยันไม่ปล่อยผ่าน