ชัวร์ก่อนแชร์: ชั้นบรรยากาศมี CO2 แค่ 0.04% ไม่จำเป็นลดปริมาณ CO2 จริงหรือ?

02 มกราคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook และ X(Twitter) ในต่างประเทศ ที่อ้างว่าสภาวะโลกร้อนหรือ Global Warming จากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศเป็นเรื่องที่สังคมตื่นกลัวเกินจริง เนื่องจากในชั้นบรรยากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.04% เท่านั้น


บทสรุป :

  1. แม้ CO2 ในชั้นบรรยากาศจะมีเพียง 0.04% แต่ก่อนยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมโลกมีปริมาณ CO2 เพียง 0.028%
  2. CO2 ที่มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส
  3. หากปริมาณ CO2 เพิ่มเป็น 0.05% อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

บทบาทของ CO2 ต่อการควบคุมอุณหภูมิโลก


เมื่อโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ พลังงานเหล่านั้นจะถูกสะท้อนกลับไปยังนอกโลกในรูปแบบของรังสีอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน

99% ของบรรยากาศโลก ประกอบด้วยแก๊สที่ไม่สามารถกักเก็บความร้อนที่สะท้อนจากผิวโลกได้ (ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อาร์กอน 0.9%) ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 1% เป็นแก๊สที่สามารถกักเก็บความร้อนจากผิวโลก หนึ่งในนั้นคือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (0.04%)

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศโลกครึ่งหนึ่ง และส่งความร้อนออกจากชั้นบรรยากาศโลกอีกครึ่งหนึ่ง จึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

หากไม่มีแก๊สเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ที่คอยกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศ โลกอาจมีอุณหภูมิลดต่ำถึง -17 องศาเซลเซียส ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

บทบาทของแก๊สเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมสำหรับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่

การเพิ่มขึ้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศ

แม้ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ในชั้นบรรยากาศเพียง 0.04% แต่ไม่ได้หมายความว่าจำนวนดังกล่าวจะไม่เป็นเรื่องน่ากังวลต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจาก Earth System Science Data พบว่า ใน ค.ศ. 1750 หรือประมาณ 10 ปีก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 โลกมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 278 ppm หรือ 0.028%

กระทั่งการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2022 ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบันอยู่ที่ 417 ppm หรือ 0.042% หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 50%

ข้อมูลจาก NASA พบว่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 หรือช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 1.1 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 300-1,000 ปี จึงเป็นตัวการสำคัญสำหรับปัญหาสภาวะโลกร้อน

ผลกระทบต่อโลก หาก CO2 สูงกว่า 0.04%

เปาโล เซปปิ รองศาสตราจารย์ด้านภูมิอากาศวิทยา มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน อธิบายว่า หากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มจาก 0.04% เป็น 0.05% เมื่อใด อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกังวลว่า หากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อใด จะก่อเกิดปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนสุดขั้วไปทั่วโลก และความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกเลย

และหากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 3 เท่าเป็น 0.10% อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มอีกหลายองศา และจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก

เปาโล เซปปิ ชี้แจงว่า แม้คาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.04% ในบรรยากาศดูจะเป็นตัวเลขที่เล็กน้อย เปรียบเหมือนเกลือที่อยู่ในอาหารแต่ละมื้อ แต่การเพิ่มปริมาณเกลือเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตได้เช่นกัน

โรเบิร์ต เบรชา ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเดย์ตัน เปรียบเทียบว่า 0.04% ของน้ำหนักตัว เทียบได้กับก้อนมะเร็งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว แม้จะมีขนาดเล็กแต่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

เป้าหมายสำคัญจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี ค.ศ. 2023 หรืองาน COP28 คือการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกด้วยการลดการใช้พลังงานฟอสซิล

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.reuters.com/fact-check/share-co2-atmosphere-not-reflection-its-climate-impact-2024-01-04/
https://www.politifact.com/article/2023/apr/21/is-only-004-of-the-atmosphere-but-a-viral-video-ig/
https://news.climate.columbia.edu/2019/07/30/co2-drives-global-warming/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร