ชัวร์ก่อนแชร์: อาหารทะเลเป็นพิษเพราะน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น จริงหรือ?

22 กันยายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

1.ทริเทียมในน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดบัดแล้วมีปริมาณไม่เกิน 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ต่ำกว่าปริมาณทริเทียมที่ WHO แนะนำให้มีในน้ำดื่มอย่างมาก
2.ค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพของทริเทียมในมนุษย์และสัตว์น้ำมีเวลาที่สั้นมาก สามารถกำจัดออกจากร่างกายในเวลาไม่นาน
3.ทริเทียมในเกลือจะระเหยไปกับความชื้น จึงแทบไม่เหลืออยู่ในเกลือ
4.ไอโอดีนจากการบริโภคเกลือไม่เพียงพอต่อการป้องกันการดูดซับกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย การกินเกลือหรือไอโอดีนมากเกินจำเป็นกลับส่งผลเสียต่อสุขภาพ
5.มนุษย์ได้รับกัมมันตรังสีจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การตรวจสุขภาพ การเดินทางด้วยเครื่องบิน รวมถึงการกินอาหารทั่วไป


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอ้างว่าไม่ควรกินอาหารทะเลหรือเกลือที่นำมาจากทะเลที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว เพราะกัมมันตรังสีทริเทียมที่อยู่ในทะเลจะตกค้างในอาหาร หากบริโภคอาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง แม้แต่การว่ายน้ำหรือสัมผัสฝนที่ปนเปื้อนทริเทียมก็เป็นอันตราย

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) องค์การส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ได้ตรวจสอบการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ยืนยันว่า ทริเทียม สารกัมมันตรังสีที่หลงเหลือจากกระบวนการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่ทะเล มีปริมาณไม่เกิน 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ซึ่งน้อยกว่าปริมาณทริเทียมในน้ำดื่มที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำอย่างมาก โดย WHO กำหนดให้น้ำดื่มไม่ควรมีทริเทียมเกินกว่า 10,000 เบ็กเคอเรลต่อลิตร

ปริมาณทริเทียมในดื่มน้ำที่แนะนำโดย WHO และประเทศต่างๆ

ค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพ

ทริเทียม เป็นสารกัมมันตรังสีที่พบได้ในธรรมชาติ มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 12 ปี อย่างไรก็ดี ค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพของทริเทียมในร่างกายมนุษย์จะอยู่ที่ประมาณ 10 วัน หมายความว่าร่างกายสามารถกำจัดทริเทียมออกไปได้ในเวลาไม่กี่วัน นอกจากนี้ค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพของทริเทียมในสัตว์ทะเลก็มีระยะเวลาที่สั้นมาก

เฉินชิงเจียง รองศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาการสร้างภาพทางการแพทย์และรังสีวิทยา มหาวิทยาลัยไอชู สาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน อธิบายว่า ทริเทียมไม่ใช่สารโลหะหนัก จึงสามารถขับออกจากร่างกายได้ในเวลาไม่นาน โดยสามารถขับออกจากร่างกายมนุษย์ในเวลา 8-10 วัน และขับออกจากตัวปลาในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น การบริโภคปลาที่อยู่ใกล้กับแหล่งปล่อยน้ำของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะจึงไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด

สิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญคือการสะสมทางชีววิทยาของสัตว์ทะเลจากการสัมผัสทริเทียมหรือ Organically Bound Tritium (OBT) ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่ามีสัตว์ทะเลที่แสดงสัญญาณของ OBT แต่อย่างใด

งานวิจัยเมื่อปี 2018 ที่ตรวจสอบปริมาณกัมมันตรังสีของสัตว์ทะเลใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ พบว่าสาหร่ายมีปริมาณกัมมันตรังสี 13.5 เบ็กเคอเรลต่อกิโลกรัม ส่วนปลาน้ำลึกมีปริมาณกัมมันตรังสีเพียง 1.6 เบ็กเคอเรลต่อกิโลกรัม แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณกัมมันตรังสีที่ตรวจพบยังถือว่าน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยทางอาหารของประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด

กระแสกักตุนเกลือ

ความกังวลต่อการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ยังนำไปสู่การกักตุนเกลือในสาธารณรัฐประชาชนจีน จากความเชื่อว่าเกลือจากน้ำทะเลที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีจะไม่ปลอดภัย

อย่างไรก็ดี ความเชื่อดังกล่าวเป็นการตื่นตระหนกเกินจริง เนื่องจากทริเทียมจะอยู่ในรูปของของเหลว การผลิตเกลือบริสุทธิ์ด้วยการทำให้น้ำทะเลระเหยออกไปจนหมด ทำให้เกลือบริสุทธิ์ไม่มีทริเทียมตกค้างอยู่

ส่วนเกลือสมุทรซึ่งมีความชื้นหลงเหลืออยู่ ก็มีปริมาณทริเทียมอยู่น้อยมาก ข้อมูลจากภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยตงไห่ สาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เปรียบเทียบว่า การจะบริโภคเกลือสมุทรจนได้รับปริมาณทริเทียมเกินกว่าที่ WHO แนะนำในน้ำดื่ม คนหนึ่งคนจำเป็นต้องกินเกลือมากถึง 440 กิโลกรัมต่อวันเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อผิด ๆ ที่เผยแพร่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า สารไอโอดีนในเกลือ สามารถป้องกันการดูดซึมกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายได้

ข้อมูลจาก WHO ยืนยันว่าปริมาณสารไอโอดีนในเกลือไม่เพียงพอที่จะใช้ป้องกันการดูดซึมกัมมันตรังสีได้ นอกจากนี้การกินเกลือหรือได้รับไอโอดีนมากเกินจำเป็น กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน

ทริเทียมในน้ำฝน

ยังมีความกังวลว่าการสัมผัสน้ำปนเปื้อนทริเทียมในทะเลโดยตรงหรือการสัมผัสทริเทียมที่ตกลงมากับน้ำฝน เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเช่นกัน

ส่วนความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากน้ำทะเลปนเปื้อนทริเทียมที่ผ่านการบำบัดแล้วไม่สามารถแทรกซึมผ่านผิวหนังได้ ส่วนสารทริเทียมในน้ำทะเลที่ระเหยและกลับมาตกเป็นน้ำฝน ก็มีปริมาณทริเทียมลดลงอย่างมาก การสัมผัสน้ำฝนเหล่านั้นก็ไม่เป็นอันตรายเช่นเดียวกัน

พรายน้ำแสงเรืองจากทริเทียมในนาฬิกา

กัมมันตรังสีในชีวิตประจำวัน

ทุกวันนี้มนุษย์ต้องสัมผัสกัมมันตรังสีในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ทั้งจากการเดินทางโดยเครื่องบิน การตรวจสุขภาพ และจากอาหารในแต่ละมื้อ

การผลิตพรายน้ำสำหรับแสงเรืองในที่มืด เช่น หน้าปัดนาฬิกาและสัญลักษณ์ทางเข้าออกในโรงภาพยนตร์ ต่างใช้ทริเทียมเป็นส่วนประกอบทั้งหมด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พบว่าการกินกล้วยหนึ่งลูก จะได้ปริมาณกัมมันตรังสีที่ 0.1 ไมโครซีเวิร์ต ซึ่งมากกว่าปริมาณกัมมันตรังสีที่ผู้คนซึ่งอาศัยห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในรัศมี 80 กิโลเมตร จะได้รับตลอดทั้งปี หรือประมาณ 0.09 ไมโครซีเวิร์ต

ส่วนข้อมูลขององค์การ Nuclear Threat Initiative พบว่า การเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง CT scan แต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณกัมมันตรังสีประมาณ 10 ถึง 15 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งมากกว่าปริมาณกัมมันตรังสีจากการกินกล้วยหนึ่งลูกกว่า 100,000 เท่า

ข้อมูลอ้างอิง :

https://tfc-taiwan.org.tw/articles/9568
https://tfc-taiwan.org.tw/articles/9563
https://www.rfa.org/english/news/afcl/fact-check-fukushima-rumors-09062023123703.html
https://www.bbc.com/news/magazine-34225517
http://nkc.tint.or.th/nkc51/nkc5101/nkc5101w.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร