คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

เคียฟ 11 ก.พ.- คณะผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปยังพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน เพื่อตรวจสอบว่าได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนหรือไม่ คณะผู้เชี่ยวชาญที่นำโดยนางเฮดี เฮาตาลา รองประธานรัฐสภายุโรป เดินทางไปยังพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในแคว้นเคียฟของยูเครนที่ปิดใช้งานตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2529 เพื่อตรวจสอบว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนหรือไม่ นางเฮาตาลาระบุว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนเบลารุสที่มีความโยงใยอย่างยิ่งกับสงครามในยูเครน การมาเห็นด้วยตาของตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทางการยูเครนจะต้องปกป้องพื้นที่แห่งนี้ไม่ให้ก่ออันตรายด้านกัมมันตรังสีต่อประชาคมโลก รองประธานรัฐสภายุโรประบุด้วยว่า เห็นป่าไม้รอบโรงไฟฟ้าเสียหายบางส่วน และทราบว่ามีทุ่นระเบิดจำนวนมากถูกฝังไว้ในป่า การทำความสะอาดและเก็บกู้ทุ่นระเบิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเข้าใจดีว่าเป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลา.-814.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำทิ้งฟุกุชิมะรอบที่ 2

โตเกียว 5 ต.ค.- ญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะรอบที่ 2 ในวันนี้ โฆษกของบริษัทไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก (TEPCO) เผยว่า เริ่มการปล่อยน้ำเมื่อเวลา 10:18 น.วันนี้ตามเวลาญี่ปุ่น ตรงกับเวลา 08:18 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นการปล่อยน้ำทิ้งรอบที่ 2 หลังจากปล่อยรอบแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมและเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน และจะปล่อยในปริมาณ 7,800 ตันเช่นเดียวกับรอบแรก จากน้ำทั้งหมด 1.34 ล้านตันที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิซัดเตาปฏิกรณ์เสียหายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 คาดว่าการปล่อยน้ำทิ้งทั้งหมดต้องใช้เวลาหลายทศวรรษจึงจะเสร็จสิ้น เทปโกยืนยันว่า น้ำทิ้งผ่านการกรองสารกัมมันตรังสีทั้งหมดออกแล้ว ยกเว้นทริเทียมที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย สาเหตุที่ต้องปล่อยน้ำเพราะต้องการเคลียร์ถังเก็บน้ำทิ้งออกจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงกัมมันตรังสีอันตรายและซากความเสียหายที่ยังอยู่ภายในโรงไฟฟ้า จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดตั้งแต่การปล่อยน้ำทิ้งรอบแรก และมีรายงานว่ารัสเซียกำลังพิจารณาห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำทริเทียมจากญี่ปุ่นอันตรายกว่าน้ำจากโรงงานนิวเคลียร์ทั่วโลก?

ปริมาณน้ำทริเทียมที่ปล่อยจากญี่ปุ่นถือว่าน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับปริมาณต่อปีที่ปล่อยจากโรงงานนิวเคลียร์อื่น ๆ ทั่วโลก

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะมีกัมมันตรังสีสูงกว่ามาตรฐาน 66% จริงหรือ?

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะมีน้ำที่ปริมาณกัมมันตรังสีน้อยกว่าระดับมาตรฐาน 34% ส่วนน้ำอีก 66% ที่ปริมาณกัมมันตรังสีสูงกว่ามาตรฐานจะเข้ารับการบำบัดอีกครั้ง

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวญี่ปุ่นป่วยหนักจากน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี จริงหรือ?

คลิปที่แชร์คือกลุ่มผู้ป่วยโรคมินามาตะจากการกินอาหารทะเลปนเปื้อนสารปรอทจากโรงงานเคมี จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง แตกต่างจากอาการของผู้ป่วยที่สัมผัสกัมมันตรังสี

ชัวร์ก่อนแชร์: สส. ญี่ปุ่นตายจากมะเร็งหลังดื่มน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี จริงหรือ?

ยาซูฮิโระ โซนาดะ ยืนยันกับสำนักข่าวญี่ปุ่นทางโทรศัพท์ว่าตนเองไม่ได้ป่วยเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิตตามข่าวลือ

ชัวร์ก่อนแชร์: นายกญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะกินอาหารทะเลปนเปื้อนกัมมันตรังสี จริงหรือ?

ไม่มีรายงานว่า ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีอาการป่วยและยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ชัวร์ก่อนแชร์: สิงคโปร์ห้ามนำเข้าอาหารปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่น จริงหรือ?

เป็นการนำข่าวเก่าที่สิงคโปร์พบอาหารปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว มาเผยแพร่ทางพอดแคสต์ในวันที่มีการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดแล้วจนเกิดความเข้าใจผิด

ชัวร์ก่อนแชร์: อาหารทะเลเป็นพิษเพราะน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น จริงหรือ?

ทริเทียมในน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดบัดแล้วมีปริมาณไม่เกิน 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ต่ำกว่าปริมาณทริเทียมที่ WHO แนะนำให้มีในน้ำดื่มอย่างมาก

ชัวร์ก่อนแชร์: พบสัตว์น้ำกลายพันธุ์จากน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น จริงหรือ?

เป็นภาพสัตว์ป่วย สัตว์หายาก และภาพตัดต่อ ที่ถูกนำมาอ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์: ปลาตายเกลื่อนทะเลหลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี จริงหรือ?

เป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับสัตว์น้ำจากที่อื่น ๆ มาอ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะปล่อยน้ำเสียสีดำสู่ทะเล จริงหรือ?

เป็นภาพการปล่อยน้ำเสียจากสถานที่อื่น ๆ ที่อ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

1 2 3
...