ชัวร์ก่อนแชร์: ปลาตายเกลื่อนทะเลหลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี จริงหรือ?

20 กันยายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

เป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับสัตว์น้ำจากที่อื่น ๆ มาอ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอ้างว่าพบสัตว์น้ำในทะเลแถบประเทศญี่ปุ่นและประเทศใกล้เคียงตายมากผิดปกติ หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ทะเลเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศยืนยันว่า การเสียชีวิตของสัตว์น้ำทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นใกล้กับบริเวณที่มีการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ และซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดก่อนการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะเช่นเดียวกัน

วิดีโอชิ้นแรกเป็นภาพซากปลาซาร์ดีนจำนวนมากถูกซัดมาที่ชายฝั่งในประเทศญี่ปุ่น

คลิปดังกล่าวถูกอัปโหลดครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ต้นปีที่ผ่านมา บริเวณที่พบซากปลาคือเมืองอิโตอิกาวะ จังหวัดนีงาตะ เมืองทางชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชู ซึ่งอยู่คนละฟากกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ซึ่งตั้งอยู่แถบตะวันออกของเกาะฮนชูในประเทศญี่ปุ่น

ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลของญี่ปุ่นไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ปลาซาร์ดีนตายเป็นจำนวนมาก แต่ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้ 2 ประเด็นคือ 1.อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว 2. ฝูงปลาหนีการไล่ล่าจากผู้ล่าจนมาเกยตื้นบนฝั่ง

ภาพที่ 2 คือซากปลาซาร์ดีนจำนวนนับไม่ถ้วนถูกซัดมาตายบนชายหาด

ภาพดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ทางเว็บไซต์สำนักข่าว BBC เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2016 เหตุเกิดที่หาดมาราไซออน เมืองคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ

รายงานระบุว่าสาเหตุน่าจะมาจากเรือประมงที่เลือกใช้อวนล้อมจับ (Ring Net) ซึ่งช่วยให้จับปลาได้คราวละมาก ๆ แต่มีโอกาสได้สัตว์น้ำที่ไม่พึงประสงค์จำนวนมากเช่นเดียวกัน คาดว่ามีการจับปลามากเกินความจำเป็น จนเสี่ยงที่น้ำหนักอวนจะดึงให้เรือจม จึงมีการปล่อยปลาที่อยู่ด้านล่างของอวนออกไป ซึ่งปลาส่วนใหญ่ตายแล้ว

ภาพที่ 3 คือซากวาฬเกยตื้นบนชายหาด

ภาพดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ทางเว็บไซต์สำนักข่าว BBC เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2016 เหตุเกิดที่ชายหาดรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย

รายงานระบุว่ามีวาฬประมาณ 80 ตัวลอยมาเกยตื้น โดยพบวาฬ 45 ตัวตายลงจากความร้อน

ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลของอินเดียอธิบายว่าเป็นเรื่องยากที่จะผลักดันให้วาฬที่เกยตื้นกลับลงทะเล เพราะเมื่อบางตัวลงทะเลได้แล้ว พวกมันก็จะว่ายกลับมาเกยตื้นอีกครั้ง เนื่องจากวาฬเหล่านั้นยังคงส่งสัญญาณโซนาร์เพื่อสื่อสารกับวาฬส่วนใหญ่ที่ยังอยู่บนฝั่ง และโอกาสที่วาฬซึ่งกลับลงทะเลจะมีชีวิตรอดก็มีไม่มาก เนื่องจากอิดโรยจากความร้อนบนชายฝั่งเป็นเวลานาน

ภาพที่ 4 คือการพบซากปลาตายจำนวนมากบริเวณชายฝั่งรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย บริเวณน้ำทะเลรอบชายฝั่งยังพบคราบสีชมพูลอยเป็นจำนวนมาก

ภาพดังกล่าวนำจากคลิปวิดีโอของสำนักข่าว The Star ที่อัปโหลดช่วงปลายเดือนสิงหาคม รายงานการตายของสัตว์น้ำจำนวนมากจากปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Red Tide Bloom) ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี เกิดจากการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนพืชหรือสาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล แม้จะไม่เป็นพิษ แต่สาหร่ายสะพรั่งส่งผลให้น้ำบริเวณดังกล่าวขาดแคลนออกซิเจน ส่งผลให้สัตว์น้ำจำนวนมากเสียชีวิต

ภาพที่ 5 คือภาพฝูงปลาแอนโชวี่จำนวนนับไม่ถ้วนกำลังดิ้นพล่านและกระโดดขึ้นมาอยู่บนบก

ภาพดังกล่าวนำมาจากคลิปวิดีโอที่อัปโหลดทาง Youtube เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ถ่ายได้ที่เขตหลงก่าง เมืองเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ปรากฏการณ์ฝูงปลาแอนโชวี่กระโดดขึ้นฝั่งเป็นสิ่งที่พบได้บริเวณชายฝั่งของเขตหลงก่างในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี

แม้จะไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลของจีนสันนิษฐานว่าฝูงปลาแอนโชวี่น่าจะกำลังหนีการล่าจากสัตว์ทะเลที่ตัวใหญ่กว่า จึงหนีขึ้นฝั่งพร้อมกันเป็นฝูง

ข้อมูลอ้างอิง :

https://tfc-taiwan.org.tw/articles/9541
https://tfc-taiwan.org.tw/articles/9495
https://www.techarp.com/facts/fukushima-water-kill-fish-penang/
https://www.france24.com/en/live-news/20230905-afp-fact-check-fukushima-wastewater-release-spawns-misinformation

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

ฮอกกี้ไทย

นายกฯ ชวนคนไทยเชียร์ทีม “ฮอกกี้ชายไทย” เจอเจ้าภาพจีน

นายกฯ ชวนคนไทยเชียร์ทีม “ฮอกกี้ชายไทย” เจอเจ้าภาพ “จีน” เย็นนี้ หลังเดินทางถึงนครฮาร์บิน ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว ครั้งที่ 9

ระเบิดปัตตานี

ลอบบึ้มริมถนนสาย 43 จ.ปัตตานี ตำรวจเจ็บ 4 นาย

ลอบบึ้มริมถนนสาย 43 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี แรงระเบิดทำให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 4 นาย ชาวบ้านเผยเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวมาปฏิบัติหน้าที่เป็นปกติทุกวัน คาดคนร้ายเฝ้าสังเกตพฤติกรรมต่อเนื่อง

เข้าสู่คืนที่ 2 ตัดไฟฟ้าชายแดนเมียนมา ทำลายวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เข้าสู่คืนที่ 2 สำหรับการตัดกระแสไฟฟ้า ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก ไปเมืองเมียวดีของเมียนมา เพื่อตัดวงจรกลุ่มจีนเทา พบมีการใช้ไฟฟ้าน้อยลง