fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงพยาบาลบำบัดเพศเด็ก เพียงเพราะเล่นของเล่นไม่ตรงเพศ จริงหรือ?

21 มิถุนายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

  1. การเลือกของเล่น เป็นเพียง 1 ใน 8 พฤติกรรมที่ใช้ตรวจสอบเด็กที่เข้าข่ายมีภาวะ Gender Dysphoria
  2. เด็กเล็กที่ต้องบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ต้องมีพฤติกรรมเข้าข่ายมีภาวะ Gender Dysphoria อย่างน้อย 6 จาก 8 ข้อ และต้องเป็นมานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  3. ไม่มีการใช้ฮอร์โมนหรือการผ่าตัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กเล็ก

ข้อมูลที่ถูกแชร์ :


มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า สถาบันทางการแพทย์ 3 แห่งในรัฐนอร์ท แคโรไลนา ทำการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Gender-Affirming Care) ให้กับเด็กหญิงอายุเพียง 2 ขวบ เพียงเพราะพบว่าเธอชอบเล่นรถบรรทุกเด็กเล่นมากกว่าตุ๊กตา จนถูกตัดสินว่ามีรสนิยมชอบของเล่นไม่เข้ากับเพศสภาพของเด็กผู้หญิง

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

ข้อความที่ถูกแชร์ นำมาจากบทความที่เผยแพร่โดย Education First Alliance องค์กรอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการปลูกฝังค่านิยมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในสถานศึกษาของรัฐนอร์ท แคโรไลนา


ตัวแทนของ มหาวิทยาลัย อีสท์ แคโรไลนา มหาวิทยาลัย นอร์ท แคโรไลนา และโรงพยาบาล Duke Health สถาบันทางการแพทย์ 3 แห่งในรัฐนอร์ท แคโรไลนา ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ไม่มีการบำบัดเพื่อการข้ามเพศให้กับเด็กทารก ทั้งการใช้ฮอร์โมนหรือการผ่าตัดตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด

กระบวนการวินิจฉัยบุคคลที่จำเป็นได้รับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Gender-Affirming Care) คือคนที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะ Gender Dysphoria หรือความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศและเพศกำเนิด

Gender dysphoria ในผู้ใหญ่และวัยรุ่น

สำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เข้าข่ายมีภาวะ Gender Dysphoria จะต้องประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างน้อย 2 จาก 6 ข้อ และเป็นมานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ได้แก่

1.รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจต่อเพศที่แท้จริงของตนเอง
2.ต้องการหลีกหนีเพศลักษณ์ที่แท้จริงของตนเอง
3.ต้องการมีเพศลักษณ์ตรงข้ามกับเพศที่แท้จริงของตนเอง
4.มีความต้องการจะเป็นเพศอื่น
5.ต้องการได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเพศตรงข้ามของตนเอง
6.มีความรู้สึกและเอาแบบอย่างเพศตรงข้ามอย่างชัดเจน

Gender dysphoria ในเด็กเล็ก

สำหรับเด็กเล็กที่เข้าข่ายมีภาวะ Gender Dysphoria จะต้องพบพฤติกรรมที่เด่นชัดไม่น้อยกว่า 6 จาก 8 ข้อ และเป็นมานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ได้แก่

1.แสดงความต้องการหรือยืนยันว่าตนเป็นเพศตรงข้าม
2.แต่งกายหรือเลียนแบบการแต่งกายของเพศตรงข้าม
3.ต้องการเล่นหรือแสดงบทบาทของเพศตรงข้าม
4.ต้องการของเล่นเกมหรืออุปกรณ์การละเล่นสำหรับเพศตรงข้าม
5.ต้องการมีเพื่อนคู่หูเป็นเพศตรงข้าม
6.ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการเล่นเกมหรือกิจกรรมตามเพศของตน
7.ปฏิเสธหรือไม่พึงพอใจต่อเพศสรีระของตน
8.ต้องการมีลักษณะทางเพศสอดคล้องกับเพศที่ต้องการจะเป็น

สมาคมวิชาชีพโลกว่าด้วยสุขภาพของคนข้ามเพศ (World Professional Association for Transgender Health หรือ WPATH) กำหนดข้อห้ามเรื่องการใช้ยาสำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และเด็กเล็ก และควรแนะนำด้านการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในสังคมเป็นหลัก

สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาและผู้เชี่ยวชาญอีกหลายหน่วยงาน ยืนยันว่าการเป็นคนข้ามเพศไม่ใช่การป่วยทางจิต เพราะมีคนข้ามเพศอีกมากมายที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือเผชิญความกดดันจากเพศสภาพที่ตนเองดำรงอยู่ แต่คนข้ามเพศที่มีภาวะ Gender Dysphoria จำเป็นต้องได้รับการรักษา

WPATH ย้ำว่าการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กไม่ใช่กระบวนการเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศของเด็ก แต่เป็นการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงของเด็ก

วัยที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็ก

สมาคมต่อมไร้ท่อสหรัฐอเมริกา (Endocrine Society) ได้กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็ก โดยระบุว่า การใช้ยาปิดกั้นฮอร์โมนเพศ (Puberty Blockers) ควรเริ่มหลังจากเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว (8 -13 ปีในเด็กผู้หญิง และ 9-14 ปี ในเด็กผู้ชาย)

ส่วนการให้ฮอร์โมนทดแทนของเพศตรงข้าม (Hormone Therapy) กับเด็ก ควรจะเริ่มเมื่อเด็กอายุมากกว่า 16 ปี และสามารถตัดสินใจได้เองเมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาที่ครบถ้วนแล้ว (Informed Decision-Making)

ส่วนการผ่าตัดแปลงเพศ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การผ่าตัดเต้านมหรือการผ่าตัดเสริมเต้านม (Top Surgery) และการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศ (Bottom Surgery)

ไม่มีการระบุอายุขั้นต่ำที่แน่นอนของการทำ Top Surgery การตัดสินใจขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์และความพร้อมของผู้เข้ารับการผ่าตัด โดยพบว่ามีบุรุษข้ามเพศในสหรัฐอเมริกาจำนวนหนึ่งนิยมผ่าตัดเต้านมก่อนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศ (Bottom Surgery) ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดอัณฑะ มดลูก และรังไข่ จะเริ่มหลังจากผู้เข้ารับการผ่าตัดมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และสามารถให้การยินยอมได้ด้วยตนเองเมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดที่ครบถ้วนแล้ว (Informed Consent)

ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถิติการผ่าตัดแปลงเพศในสหรัฐอเมริกา แต่การวิเคราะห์ข้อมูลการเบิกเงินประกันสุขภาพโดยสำนักข่าว Reuters และบริษัท Komodo Health Inc. พบว่าระหว่างปี 2019-2021 มีเยาวชนอเมริกันที่มีภาวะ Gender Dysphoria และเข้ารับการผ่าตัดเต้านม 776 รายและมีผู้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพศ 56 ราย

คริสตี้ โอเลเซสกี้ นักจิตวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์ Pediatric Gender Program โรงพยาบาล Yale Medicine อธิบายว่า เด็กจะเริ่มรู้อัตลักษณ์ทางเพศของตนเองตั้งแต่ช่วงอายุระหว่าง 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ การช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตได้ตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและผู้คนที่อยู่รอบข้างพวกเขา

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (AAP) ระบุว่า แต่เดิมเชื่อว่าการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศของเด็ก ควรทำเมื่อเด็กโตถึงวัยที่เชื่อว่าอัตลักษณ์ทางเพศมีความมั่นคงแล้ว แต่งานศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า แทนที่ผู้ปกครองจะเน้นหาคำตอบแต่เพียงว่าเด็กจะโตขึ้นมาเป็นอะไร ให้เปลี่ยนไปมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่พวกเขาเป็นตั้งแต่พวกเขายังเป็นเด็ก ความรักความเข้าใจจะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ทั้งต่อตัวเด็กและสมาชิกทุกคนในครอบครัว

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.factcheck.org/2023/05/scicheck-young-children-do-not-receive-medical-gender-transition-treatment/
https://www.politifact.com/factchecks/2023/may/10/instagram-posts/no-north-carolina-health-systems-arent-providing-g/
https://www.reuters.com/article/fact-check-north-carolina-hospitals-are/fact-check-north-carolina-hospitals-are-not-performing-gender-affirming-surgery-on-toddlers-idUSL1N37K2YB
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5287/
https://ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol36/issue1/priyoth.pdf

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“วิสุทธิ์” รับ “เกษียร” เป็นคนขับรถตัวเอง เรียกมาด่าแล้ว

“วิสุทธิ์” ประธานวิปรัฐบาล ยอมรับ “เกษียร” ที่โยง “ต้นอ้อ” ขายวุฒิการศึกษา เป็นคนขับรถตัวเอง เผยเรียกมาด่าแล้วอย่าเชื่อคนง่าย ถูกสาวบางกอกหลอกใช้บัญชีรับโอนเงิน ยืนยันบริสุทธิ์ให้ ตร.สอบได้เต็มที่ไม่มีปกป้อง

“พร้อมพงศ์” ร้อง DSI ให้ตรวจสอบการฮั้วประมูล ก.สาธารณสุข

“พร้อมพงศ์” อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร้องดีเอสไอให้ตรวจสอบการฮั้วประมูลระบบคลาวด์กระทรวงสาธารณสุข 1 พันล้านบาท ชี้มีชื่อกรรมการทับซ้อนกันหลายบริษัท

แจ้ง 4 ข้อหาหนุ่มใหญ่ซิ่งเก๋งชนรถพังยับ 6 คัน-เจ็บ 7

ตำรวจเร่งสอบปากคำและตรวจประวัติหนุ่มใหญ่ซิ่งเก๋งชนยับ 6 คัน บาดเจ็บ 7 คน ในจำนวนนี้อาการสาหัส 1 คน พร้อมแจ้ง 4 ข้อหา ก่อนให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์

ทั่วไทยจัดพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

ทั่วไทยประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ข่าวแนะนำ

“พรเพชร” แจงนัดประชุม สว. 8 ก.ค.-ยันชุดเก่าต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมีชุดใหม่

“พรเพชร” แจงเหตุนัดประชุมวุฒิสภา 8 ก.ค. เพราะ กกต. ยังไม่รับรองผลเลือก สว.ใหม่ ยันชุดเก่าต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมีชุดใหม่ บอกพิจารณากฎหมายตีกลับจาก สส.-รับทราบรายงาน ส่วนญัตติ “สมชาย” ถอดบทเรียนเลือก สว.ใหม่ ที่ประชุมอาจเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้

สรุปเหตุเพลิงไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ เสียหายทั้งชุมชน 37 ครัวเรือน

เขตสัมพันธวงศ์ สรุปเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ภายในชุมชนตรอกโพธิ์ พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ เมื่อเวลา 20.41 น. วานนี้ (6 ก.ค.) เสียหายหมดทั้งชุมชน 37 ครัวเรือน บ้านจำนวน 66 หลังคาเรือน

รฟม.จ่อลงโทษขั้นสูงสุด เหตุประตูขบวนสายสีชมพูเปิดกลางทาง

“สุริยะ” เอาจริง! มอบ รฟม. ส่งหนังสือถึง NBM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อดำเนินการตามบทลงโทษขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุประตูขบวนรถเปิดกลางทาง ลั่น! ไม่สามารถประนีประนอมหรือต่อรองได้