fbpx

อย. แนะตรวจสอบข้อมูลก่อนเข้ารับบริการเสริมความงาม

กทม. 18 ส.ค.- อย. แนะผู้บริโภคที่ต้องการเข้ารับบริการเสริมความงาม ควรตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่ สถานบริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่ รวมถึงผู้ให้บริการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือไม่


เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวผู้รับบริการหน้าพังหลังเข้าคอร์สทำหน้า “พิโคเลเซอร์ (Pico Laser)” จากคลินิกและทราบภายหลังว่าผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ประจำคลินิก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า เครื่อง Pico Laser หรือ Picosecond Laser เป็นเครื่อง Laser ที่ทำงานโดยส่งคลื่นพลังงานความถี่สูง (1 ต่อล้านล้านวินาที) ไปยังผิวหนังเป้าหมายที่มีปัญหา เพื่อลดเม็ดสีในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีคุณสมบัติเจาะจงกับเมลานินและเม็ดสีที่เข้มได้ดี โดยจะส่งการสั่นสะเทือนต่อผิวหนังอย่างรุนแรง ทำให้เม็ดสีหรืออนุภาคของผิวแตกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งเครื่องดังกล่าวมักใช้ในการรักษาจุดด่างดำ กระฝ้า เม็ดสีเข้ม ๆ ใต้ชั้นผิวหนัง หรือใช้ในการลบรอยสัก รวมถึงกระตุ้นคอลาเจนบนชั้นผิวหนัง เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้เครื่องดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ผิวแห้ง แดง จากการโดนเลเซอร์ รอยคล้ำหลังทำเลเซอร์ ผื่น บวม รวมถึงรอยตกสะเก็ดหลังการใช้

ทั้งนี้ เครื่อง Pico Laser จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องแจ้งรายการละเอียดกับ อย. ก่อน จึงจะสามารถผลิตหรือนำเข้าได้ โดยต้องใช้ในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตและต้องใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์หรือสาธารณสุข สำหรับผู้รับบริการควรตรวจสอบก่อนเข้ารับบริการว่าเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาต


รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเครื่อง Pico Laser ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือผ่านทาง QR Code นี้ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย