“วิษณุ”แจง ครม. ไทม์ไลน์แก้ พ.ร.บ.อุ้มหาย ใช้ตามขั้นตอน

ทำเนียบ 13 มิ.ย. – โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย “วิษณุ” แจง ครม. ไทม์ไลน์แก้ไข “พ.ร.บ.อุ้มหาย” ประกาศใช้แล้ว 22 ก.พ. ตามขั้นตอน ยัน ไม่ได้เป็นการขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ ทุกหน่วยงานพร้อมดำเนินการตาม กม.


นายอนุชา บูรพชัยศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า ในที่ประชุมมีการหารือถึงพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือ พ.ร.บ.อุ้มหาย โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และรอบังคับใช้ 4 เดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 โดยภายหลังที่มีการบังคับใช้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2566 แต่เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีรายงานเรื่องการให้ถ่ายวิดีโอ และการสอบสวนจนจบคดีมีปัญหา รวมถึงงบประมาณที่ขาดอุปกรณ์ การจัดหาที่อาจจะล่าช้า ขาดคลังเก็บข้อมูล ขาดการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ดังนั้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ก่อนที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ จึงได้มีการออกพระราชกำหนดขยายเวลา มาตรา 22 – 25 ไปถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2566

ทั้งนี้ สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ทันที่จะพิจารณา ก็มีมติเห็นชอบให้ ส.ส.จำนวนหนึ่งส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยก่อน และต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ศาลมีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการออก พ.ร.ก.ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ในส่วนนี้ผลทางกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงกลับไปมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 แต่สิ่งใดที่ทำไปตามกฎหมายระหว่างนั้น ถือว่าเป็นการสมบูรณ์แล้ว ฉะนั้น ความรับผิดตามกฎหมายต่างๆ ก็ถือว่าไม่มีในเรื่องการรับผิดใดๆ ที่จะต้องดำเนินการ


นายอนุชา กล่าวต่อว่า ในเรื่องการเมืองที่มีการพูดถึงว่าสภาไม่เห็นชอบ พ.ร.ก.ที่รัฐบาลได้ส่งไปนั้น อาจต้องมีการรับผิดชอบในภาวะปกติ แต่ในปัจจุบันการยุบสภาได้มีผลเกิดขึ้นแล้ว ครม.ชุดปัจจุบันอยู่ในช่วงรอฟอร์มรัฐบาล จัดตั้ง ครม.ชุดใหม่ จึงถือว่าไม่ได้เป็นการขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติแต่อย่างใด และไม่ใช่กรณีรัฐสภาไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ คือศาลรัฐธรรมนูญมีคำแนะนำให้เร่งปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แล้ว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาใช้เวลา 3 เดือน หน่วยงานต่างๆ ได้เตรียมดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.แล้วกว่า 60% ฉะนั้น การดำเนินการติดตามหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ตำรวจ มหาดไทย ฝ่ายปกครอง กลาโหม และอัยการ ขณะนั้นพร้อมที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย ขณะที่งบประมาณก็พร้อมที่จะไปจัดซื้อจัดหาแล้ว จากนี้ไปก็จะเร่งดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ตามกฎหมายที่ได้มีการบังคับใช้แล้ว สามารถดำเนินการได้โดยไม่มีอุปสรรค.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง