อสส.ประกาศจัดโครงการซุปเปอร์เน็ต ทำให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ มีประสิทธิภาพ

22 มี.ค. – “นารี” อัยการสูงสุด ประกาศจัดโครงการซุปเปอร์เน็ต เชื่อมต่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ที่เเท้จริง


น.ส.นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษการจัดงาน “Stronger OAG Symposium 2023 : A New Era of Justice” ในหัวข้อ ดุลยภาพแห่งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายสรุปว่าในส่วนของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน พวกเราคงจะทราบว่าเมื่อเร็วๆ นี้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในชั้นการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กฎหมายในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมระหว่างประเทศ พวกเราคงเคยได้ยินการละเมิดสิทธิมนุษยชนในชั้นจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คดีดังๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา ที่ถูกตำรวจจับกุม ภายหลังผู้ถูกจับกุมถึงแก่ความตาย คดีนี้ทำให้เกิดวิกฤติผลกระทบในกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาจนนำไปสู่การประท้วง และถูกมองว่าเป็นการแบ่งแยกคนผิวสี

ส่วนในไทยจะโชคดีไม่มีความแตกต่างของเชื้อชาติ จะเห็นว่าค่านิยมของสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการที่ได้กำหนดในนานาประเทศ พวกเราเป็นนักกฎหมายเป็นผู้ปฏิบัติคงคุ้นเคยกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งมีมาเป็นเวลานานมาก ซึ่งปฏิญญาสากลจะคุ้มครองบุคคลที่ถูกทำร้ายโดยวิธีการโหดร้ายและถูกย่ำยีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหประชาชาติ เพราะเราไม่สามารถอยู่ได้โดยเฉพาะกฎหมายภายในของประเทศเราเองเท่านั้น ปัจจุบันไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศอีก 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 คือการต่อต้านการทรมานและการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษย์ธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ฉบับที่ 2 คืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญโดยที่รัฐธรรมนูญของไทยยอมรับในหลักการของอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ดังที่จะเห็นได้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ย่อมได้รับความคุ้มครอง สอดคล้องกับปฏิญญาสากลและอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับที่กล่าวเเละบัญญัติว่าการทรมานด้วยการลงโทษด้วยวิธีโหดร้ายเเบบไร้มนุษย์ธรรม ย่อมกระทำไม่ได้


ยกตัวอย่าง ไทยมีคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ขอเรียกว่าคดีถุงดำซึ่งมีการจับกุมบุคคลแล้วถูกบังคับให้บอกที่ซ่อนยาเสพติดโดยเอาถุงดำไปครอบศีรษะหลายใบจนสุดท้ายผู้ถูกจับกลุ่มถึงแก่ความตาย ซึ่งสิ่งที่เป็นพยานหลักฐานสำคัญก็คือกล้องวงจรปิด ไปที่อยู่ภายในสถานีตำรวจ ท้ายสุดศาลลงโทษ ผู้กระทำผิดจำคุกตลอดชีวิต

คดีจอร์จ ฟลอยด์ ในต่างประเทศหรือ คดีถุงดำในไทยทำให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงการถูกบังคับสูญหาย จึงออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 และมีผลบังคับปี 2566 อยากสื่อสารถึงผู้นำองค์กรถึงความพร้อมและไม่พร้อมของสำนักงานอัยการสูงสุดในขณะที่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้วขณะนี้ทั่วประเทศเรามีอัยการอยู่ 4,500 คน เจ้าหน้าที่ธุรการมี 5,800 คน พนักงานในองค์กรอัยการจะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนี้ อย่างที่บอกว่า ความยุติธรรมจะอยู่เหนือตัวบทกฎหมาย โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการและศาล ล้วนแต่เป็นบุคลากรหลักที่จะส่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายฉบับนี้ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ซึ่งในส่วนสำนักงานอัยการสูงสุด มีการดำเนินการด้านนโยบาย,ด้านการตรวจสอบการควบคุมตัวบุคคล ,การสอบสวนการดำเนินคดีความผิด,การคุ้มครองเยียวยาความเสียหายต่อผู้เสียหายและ ด้านต่างประเทศ ในด้านนโยบายผู้บริหารทั่วประเทศถึงพนักงานอัยการเป็นระดับปฏิบัติการ จะมีการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงและรับเรื่องการตรวจสอบร้องเรียนจากการกระทำเสียหายจากการอุ้มทรมานสูญหาย


ในด้านการตรวจสอบการควบคุมบุคคลซึ่งมีความสำคัญคือจะต้องบันทึกภาพและเสียงขณะจับกุมตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงส่งให้พนักงานสอบสวน สิ่งที่ได้ฟังจากสำนักงบประมาณว่าทางตำรวจก็มีกล้อง Body Cam ซึ่งถ้อยคำที่สำคัญในกฎหมายก็คือคำว่า “อย่างต่อเนื่อง” นั่นเเปลว่าจะต้องคลิปภาพที่บันทึกจะต้องไม่มีการตัดต่อจนส่งให้พนักงานสอบสวน และจะต้องแจ้งพนักงานอัยการทันที ตรงนี้คือบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ความผิด

ในส่วนของอัยการจะเป็นผู้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวอย่างที่ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีมีให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เเต่กรณีนี้กฎหมายเพียงแต่บอกว่าให้อัยการรับแจ้งแต่ไม่ได้บอกว่าให้รับแจ้งโดยระบบหรือแมนนวล ซึ่งจะเห็นได้ถึงความไม่สมบูรณ์ที่กฎหมายฉบับนี้จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์เต็มร้อย เรียกว่ากฎหมายยังมีคำถามอยู่ เช่นที่เขียนว่า พนักงานอัยการอาจรับทราบพบเห็น เหตุการณ์ซ้อมทรมานโดยอัยการจะเป็นผู้ตรวจสอบว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือไม่ถ้ามีอัยการจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจ เพื่อสั่งยุติการกระทำเช่นนั้นทันที เเต่ในข้อเท็จจริงอย่างในต่างจังหวัดที่อัยการกับศาลจะมีระยะทางห่างกัน ซึ่งคำว่า “ทันที” จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่มีระบบ

ถ้าประชาชนจะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายจะต้องมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นว่าในความเป็นจริงถ้อยคำในตัวบทเขียนไว้ เเต่เหตุการณ์จริงจะไปสั่งยุติทันได้อย่างไร หากต้องส่งคำร้องเป็นกระดาษ เรื่องนี้บางครั้งก็ดูง่าย แต่ต้องดูความเป็นไปได้ สิ่งที่อยากได้ไม่ใช่เพียงแค่งบประมาณ ซึ่งงบประมาณ เราก็จะได้ค่าเวร แต่ถ้าจะตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องบอกเลยว่าไม่แน่ใจ

สำหรับฐานความผิดของกฎหมายฉบับนี้ก็จะร้อยเรียงมาจากกฎหมายของประเทศอย่างปฏิญญาสากลซึ่งให้อำนาจพนักงานอัยการเป็นพนักงานสอบสวน เเละกฎหมายยังได้กำหนดเขตอำนาจศาลให้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบฯ เรียกว่าศาลก็มีงานเพิ่มอัยการก็มีงานเพิ่ม

ในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้ถอดให้สำนักงานปราบปรามการทุจริตเป็นสำนักงานที่รับผิดชอบในคดี ที่ฝ่าฝืนผิดตามกฏหมาย พ.ร.บ.อุ้มหายฯ เเละร่างกฎหมายนี้ยังให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องค่าเสียหายทดแทน เเละความผิดตามพ.ร.บ.อุ้มหายฯนี้ไม่ให้ถือเป็นความผิดทางการเมือง กฎหมายฉบับนี้ระบุให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อดำเนินคดีทางอาญาได้ แต่กฎหมายก็ให้เรามองไปข้างหน้าว่าถ้าเราได้ส่งตัวไปที่ที่มีโอกาสที่จะถูกทำให้สูญหายทางเราก็จะไม่ส่งได้

ในส่วนที่ต้องมีอัยการอยู่เวร 24 ชั่วโมง อยากเรียนให้ทราบว่าการอยู่เวร มันไม่สำคัญเท่าการเข้าถึงในทันทีซึ่งก็คือระบบเทคโนโลยี ซึ่งพอเราจัดตั้งศูนย์ก็จะต้องมีออัยการ 1 คน และเจ้าหน้าที่ธุรการอีก 1 คน ก็อยู่เวร และเรามีศูนย์ทั่วประเทศแบบนี้อีก 112 เเห่ง

“อย่างที่เราไปตรวจราชการที่จังหวัดสุรินทร์ ได้มีโอกาสไปตรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานฯ ก็พบว่างบประมาณที่ได้คือสติกเกอร์ขนาด A4 ไปแปะไว้ในลิฟต์ สิ่งที่นอกเหนือจากการบ่นครั้งนี้ก็คือการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ “ อัยการสูงสุด ระบุ

น.ส.นารี กล่าวต่อว่างบประมาณที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล ก็ต้องขอบคุณที่รัฐบาลเห็นความสำคัญ แต่งบประมาณกลับไปทุ่มอยู่กับเข้าอยู่เวรโดยที่ไม่ได้ดูถึงอุปกรณ์ กล่าวตรงนี้ยังรู้สึกอิจฉา ผบ.ตร.ที่มีกล้อง Body Cam ซึ่งเคยถามไปยังสำนักงบประมาณถึง 3 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ว่าจะได้รับคำตอบถึงเรื่องนี้หรือไม่ ความสำเร็จของกฎหมายฉบับนี้ที่จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นแกนของกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อตำรวจอัยการหรือศาลแต่กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ในปีงบประมาณปีหน้าโครงการซุปเปอร์เน็ตของสำนักงานอัยการสูงสุด เพิ่งได้รับแจ้งจากสำนักงบประมาณว่า สำนักอัยการสูงสุด ได้รับงบประมาณ 300 กว่าล้าน ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายว่าเราบอก พ.ร.บ.อุ้มหายฯ นี้ ก็ขึ้นอยู่กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเพื่อจะสอดคล้องกับระบบของตำรวจและศาล

“กฎหมายฉบับนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์คือประชาชนได้รับความคุ้มครองทางด้านสิทธิเสรีภาพเกิดจากการจับมือกันระหว่างตำรวจ อัยการและศาล รับรู้ร่วมมือช่วยเหลือกัน จับมือของ 3 องค์กรนี้จะนำไปสู่ความยุติธรรมที่ดีขึ้นกฎหมายมีอยู่แล้วแต่ความยุติธรรมที่ดีขึ้นจะสำคัญยิ่งกว่าการมีกฎหมายฉบับนี้จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายคือจะต้องมีการรับรู้เชื่อมโยงข้อมูลโดยระบบไอทีงบประมาณ สำหรับ 3 หน่วยงานนี้ สำนักงบประมาณจำเป็นจะต้องดูให้สอดคล้องทิศทางการพัฒนาขององค์กรอัยการ จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 15 ปี เพื่อสำนักงานอัยการไปสู่ระดับสากล” น.ส.นารี ระบุ.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม

สอบแล้ว 5 ปาก คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์

ผบช.ภ.2 เผย สอบแล้ว 5 ปาก พยานสำคัญ คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์ พร้อมไล่ไทม์ไลน์ เปิดผลชันสูตรเบื้องต้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ส่งชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่ง เลือด และเศษอาหารในกระเพาะตรวจแล็บ หาสาเหตุที่แท้จริง

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ