fbpx

ซีเมนส์ชี้3เทคโนโลยีพื้นฐานที่เมืองอัจฉริยะต้องมี

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. ซีเมนส์ชี้ปัจจัย 3 เป็นเมืองอัจฉริยะ สมาร์ทกริด อาคารอัจฉริยะ ระบบไอซีที  นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดชประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า สหประชาชาติประมาณการว่า ภายในปี 2050 จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน ส่งผลให้เมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร Mega Urban City มีจำนวนมากขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า และ จากสถิติเฉลี่ยในปัจจุบัน มีผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ราวร้อยละ55 ขณะที่ร้อยละ 45 อาศัยอยู่นอกเขตเมืองโดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าสัดส่วนผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่จะเพิ่มเป็นร้อยละ 68 สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 นอกเหนือจากเมืองขนาดใหญ่แบบมหานครมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ โรคระบาดร้ายแรง ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้การพัฒนาเมืองใหญ่ และการเตรียมการในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นภารกิจสำคัญ อาทิ การบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย การบริการทางสังคม บริการด้านสาธารณสุข หรือแม้แต่การศึกษา ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่  ในขณะที่เทรนด์การเติบโตของมหานครและดิจิทัลไลเซชั่นได้พัฒนามาจนเกิดเป็นมิติใหม่สำหรับคนเมือง ดังนั้น “เมืองอัจฉริยะ” จึงนับเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะเข้ามาช่วยบริหาร เมืองอัจฉริยะจะต้องมีเทคโนโลยีสำคัญ 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย สมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ โครงข่ายไฟฟ้าที่นำเทคโนโลยีหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเซ็นเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถรับรู้ข้อมูลสถานะในระบบได้แบบ real time รวมถึงระบบสารสนเทศ ระบบเก็บข้อมูล และระบบการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น มีความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืนปลอดภัยและที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะต้องครอบคลุมระบบไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงตั้งแต่ระบบการผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่าย จนถึงระบบของผู้ใช้ไฟฟ้า อาคารอัจฉริยะ ภายในปี 2050 ประชากรโลกกว่าร้อยละ 70 พำนักอาศัยอยู่ภายในอาคาร และจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหมายความว่า ความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยจะสูงขึ้นตามไปด้วย อาคารต้องเป็นมากกว่าโครงสร้างผนังและหลังคา สามารถมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ดังนั้น อาคารจะต้องมีระบบอัจฉริยะที่ทำให้อาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้อยู่อาศัยได้ สามารถเรียนรู้ และ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุดท้ายคือ ระบบไอซีทีอัจฉริยะ (Smart ICT – Smart Information and Communication Technology) ปีนี้อุปกรณ์มากกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ และ 1 ใน 5 ของอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้อยู่ภายในอาคาร นั่นหมายความว่า ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลจะถูกสร้างขึ้น หัวใจสำคัญคือเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้และวิเคราะห์ได้อย่างไร จึงจะทำให้เมืองมีความยืดหยุ่นในการบริหาร ในขณะเดียวกัน  ยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับชุมชนและระดับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เมืองอัจฉริยะจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้งสามส่วนนี้ทำงานผสานกัน นางสุวรรณี กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับประเทศไทย นโยบายการผลักดันเมืองอัจฉริยะของรัฐบาลเป็นทิศทางที่ถูกต้องในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ใหญ่เกินกว่าจะเป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภาครัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องกฎหมายและการลงทุน ส่วนภาคเอกชนสามารถช่วยในเรื่อง Know-how เทคโนโลยี เพื่อนำมาช่วยในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานและการลดการเกิด CO2 ดังนั้นทุกฝ่ายจำเป็นต้องทำงานประสานกัน เพื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้  ในการรวบรวม วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลอย่างเหมาะสมอันนำไปสู่ความเข้าใจ วางแผน ปรับปรุง สร้างสรรค์ร่วมกัน ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย เมืองอัจฉริยะสามารถเกิดขึ้นได้จริงแน่นอนในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.

ชู วว. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยี

วว. 16 ก.ย.63 – เอนก มั่นใจงานวิจัย วว. ช่วยขับเคลื่อน BCG พัฒนาภาคอุสาหกรรมและธุรกิจ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมคุณภาพ เสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ศ.ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ตรวจเยี่ยมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. โดยมี ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ วว. คณะผู้บริหารและบุคลากร ร่วมให้การต้อนรับและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมผลการดำเนินงานตามนโยบาย BCG เช่น งานทดสอบระบบมาตรฐานทางราง  งานวิจัยที่ตอบโจทย์และเสริมศักยภาพเกษตรกร  นวัตกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการทุกระดับ ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ฐานข้อมูลจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ โดย วว. มีความพร้อมของศูนย์จุลินทรีย์ ที่เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ยา เกษตร และสิ่งแวดล้อมแบบนอกถิ่นกำเนิด  โดยวิจัยใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม เสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ  วว. ได้ตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) วิจัยพัฒนาเพื่อนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม โดยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ครบวงจร สามารถผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม ช่วยลดการนำเข้าจุลินทรีย์จากต่างประเทศได้กว่า 300 ล้านบาทต่อปี วว. ยังมีห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ   (BioD) เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ระดับสากลทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยด้านเห็ดเพื่อชุมชน ,ลำตะคองโมเดล เมืองน่าอยู่ และฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ,บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายผลไม้สดออนไลน์ ,เซรามิก ยางพารา และบล็อกประสาน ,ไม้ดอก ไม้ประดับและนวัตกรรมจัดการขยะชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำร่อง อบต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรีลดขยะชุมชนได้เกือบ 100% นำขยะพลาสติกมาใช้แปรรูป รีไซเคิล และเป็นพลังงานเชื้อเพลิงคุณภาพสูง จัดการปัญหาขยะชุมชนอย่างยั่งยืน ศ.ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า หลังจากได้เยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM)  และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศด้านการทดสอบรับรองคุณภาพระบบขนส่ง ด้านระบบขนส่งที่ครอบคลุมทั้งด้านระบบรางและส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่ง เป็นงานนวัตกรรมที่สามารถสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการในการทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนระบบราง ยังเป็นการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบราง รวมถึงให้การฝึกอบรมและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในส่วนวิศวกรรมระบบรางให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเห็นว่า วว. เป็นอีกหน่วยงานสำคัญที่ใช้ความสามารถด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ฐานราก ถึงภาคอุตสาหกรรม ให้เติบโตก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับดึงศักยภาพของชุมชนที่มีความหลากลหายทางชีวภาพ ให้พัฒนาความสามารถตรงตามนโยบายBCG ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยเช่นกัน .-สำนักข่าวไทย

เผยคนไทยดูยูทูปเพิ่ม สนใจคอนเทนท์ตลก,ทำอาหาร ,ออกกำลัง

กรุงเทพฯ 15 ก.ย. กูเกิลเผย คนไทยใช้เวลารับชมวิดีโอบน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เวลาในการรับชมคอนเทนต์ประเภทตลกขบขัน การทำอาหาร ฟิตเนส และการเงิน เพิ่มขึ้น นางแจ็คกี้ หวาง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทกูเกิล กล่าวว่า ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนหรือช่อง Gold Button มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งการเติบโตนี้สะท้อนถึงเนื้อหาที่หลากหลายและสร้างสรรค์โดยไม่ได้มีเพียงช่องโทรทัศน์ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่องของโปรดักชันเฮาส์ ค่ายเพลง ศิลปิน และ บรรดาครีเอเตอร์ทั่วประเทศไทยอีกด้วย ด้านสถิติการรับชมยูทูปในประเทศไทย พบว่าในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของปีนี้ คนไทยใช้เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทตลกขบขันเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาในขณะที่การค้นหาคำว่า “การทำอาหาร” บน YouTube เพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ80 เจาะกลุ่มประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเข้าหาผู้บริโภคทุกกลุ่มบนยูทูปซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเดียวเพื่อเข้าถึงผู้ชมตามความสนใจและความชอบของแต่ละบุคคล สำรวจรูปแบบเนื้อหาต่างๆ เนื่องจากเนื้อหาที่ครอบคลุมหลากหลายหมวดหมู่ได้รับความนิยมมากขึ้น สร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคมักจะมองหาเนื้อหาที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา -สำนักข่าวไทย.

NIA ชู 200 สตาร์ทอัพต้นแบบระดับมหาวิทยาลัย

กทม. 15 ก.ย. 63 – NIA ได้ 200 สตาร์ทอัพต้นแบบจาก 39 มหาวิทยาลัย เตรียมส่งเสริมสร้างเป็นธุรกิจจริง  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จัดการประกวดแข่งขัน Online Pitching Startup Thailand League 2020 โดยมี 390 ทีม ทีมจาก 39 มหาวิทยาลัย ร่วมประกวดแข่งขัน ซึ่งปีนี้ได้ปรับรูปแบบการแข่งขันทางออนไลน์ ให้เข้ากับสถานการณ์ยุคนิวนอร์มอล นำเสนอไอเดียของธุรกิจด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว การเกษตร และ ดิจิทัลคอนเทนท์ เป็นต้น โดยมีทีมที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการตามแผนงานธุรกิจสตาร์ทอัพ รวม 200 ทีม ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA กล่าวว่า 4 ปีที่ผ่านมา NIA […]

สธ.จับมือไมโครซอฟท์ สตาร์ทอัพไทย พัฒนาระบบข้อมูลช่วยดูแลโควิด

กระทรวงสาธารณสุขจับมือไมโครซอฟท์และสตาร์ทอัพไทยทำแพลตฟอร์มข้อมูลเพื่อจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ เพิ่มความคล่องตัวต้านภัยโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญแนะ ก.ดีอีเอส เร่งออกกฎหมายลูกสู้ภัยไซเบอร์

นักกฎหมายดิจิทัลสรุปบทเรียนแฮก รพ.สระบุรี เร่งกระทรวดิจิทัลเร่งออกแนวทางปฏิบัติคุ้มครองข้อมูลรัฐ

ร้องโดนค่ายมือถือแปลงสัญญาผูกมัด

ลูกค้าค่ายมือถือแห่งหนึ่ง โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ร้องโดนผู้ให้บริการปลอมแปลงเอกสารสัญญาบริการ จาก 2 ปี เป็น 3 ปี

ดีจีเอจับมือพันธมิตรพัฒนาแพลตฟอร์มยืนยันตัวตน

กรุงเทพฯ 15 ก.ย. ดีจีเอ จับมือ 9 พันธมิตรนำร่องใช้ดิจิทัล ไอดีภาครัฐ ขับเคลื่อนงานบริการดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือดีจีเอ พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, บริษัท เนชั่นแนลติจิทัลไอดี จำกัด , กรมสรรพากร, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมที่ดิน, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ“ โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตบทางดิจิทัลภาครัฐ” ตั้งเป้ายกระดับการให้บริการดิจิทัลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้นพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือสพร. กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ เป็นโครงการสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (พ.ศ. 2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานภาครัฐและยกระดับการให้บริการประชาชนลดภาระในการติดต่อหรือใช้บริการจากภาครัฐเพราะที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจหรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชนประกอบด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อนสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากรเกิดภาระต่อผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตนก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดภาระต่อผู้ใช้บริการ “  การรวมตัวครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้บบริการภาครัฐสามารถให้บริการกับประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและทั่วถึง ถ้าสามารถเอาดิจิทัลไอดีมาใช้จะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการภาครัฐทำได้รวดเร็วมากเร็วขึ้นรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพทางสพร. จึงได้วางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ“ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐอย่างรวดเร็วและมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลโดยทั้ง 9 หน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสพร. ในวันนี้ต่างเห็นพ้องต้องกันถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐเพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐรวมไปถึงสนับสนุนให้หน่วยงานผู้ใช้บริการสามารถนำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าวไปใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในท้ายที่สุด” ผอ. สพร. กล่าว -สำนักข่าวไทย.

ค้นพบหลักฐานที่อาจบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยทีมนักดาราศาสตร์ ค้นพบโมเลกุลของฟอสฟีน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์

ยกระดับเนื้อโคปัตตานีวากิว ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

นราธิวาส 14 ก.ย. 63 – อว. สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการเกษตรจังหวัดชายแดนใต้ เตรียมยกระดับคุณภาพมาตรฐานโคช่องเขต เป็นเนื้อวัวระดับพรีเมี่ยมปัตตานีวากิว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร(ด้านปศุสัตว์) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี เช่น กลุ่มเลี้ยงโคช่องเขต อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ,กลุ่มแพะอารมณ์ดี ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา ,ห้องปฎิบัติการแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโค นมแพะ แพะเนื้อ และ ไก่เบตง ที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการแปรรูปต้นแบบ เพิ่มนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ด้านปศุสัตว์ (โคเนื้อ แพะเนื้อ แพะนม และไก่เบตง) ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เครื่องมือ และอุปกรณ์ทันสมัย สู่กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และได้รับมาตรฐาน อย. และฮาลาล ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว. อว. กล่าวว่า  อว. พร้อมให้การสนับสนุน ช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประกอบการในพื้นที่เดินหน้ากิจการให้ประสบความสำเร็จ […]

1 28 29 30 31 32 51
...