ทีโอทีจับมือมิวสเปซบุกตลาดดาวเทียมวงโคจรต่ำ

กรุงเทพฯ 23 ก.ย.ทีโอที จับมือ มิว สเปซ ลุยเทคโนโลยีอวกาศ มุ่งดาวเทียมวงโคจรต่ำตอบโจทย์ดิจิทัลในอนาคต นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอที ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ มิวสเปซ เพื่อศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้และโอกาสในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีไร้สาย ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) โดย ทีโอที ได้จัดคณะทํางาน เพื่อดําเนินการศึกษาพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อสร้างองค์ความรู้และขีดความสามารถในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดาวเทียมในอนาคต โดยตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการและเป็นศูนย์กลางเกตเวย์ภาคพื้นดิน ให้บริการ Space IDC และ Space Digital Platform ในอนาคต บมจ.ทีโอที ได้สร้าง Server Payload ที่ประกอบด้วย Web Server, IoT Platform และ Big Data Device เพื่อการส่งอุปกรณ์ขึ้นไปทดสอบกับ Blue Origin จรวดของบริษัทในเครืออเมซอน ประเทศอเมริกา ซึ่งได้ผ่านการทดสอบแล้วทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมา ทีโอที ได้ให้โอกาสเด็กเยาวชน จากโครงการ TOT Young Club เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนโปรแกรม (software)  เพื่อติดตั้งไปพร้อมกับอุปกรณ์ของ ทีโอที นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างโดยนักเรียนมัธยม ที่มีโอกาสทํางาน บนสภาพแวดล้อมอวกาศในจรวด Blue Origin โดยการรันในโปรแกรมจริง  นายมรกต กล่าวว่า ทีโอที มีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่ครบทุกด้าน ทั้งในเรื่องท่อร้อยสายใต้ดิน เสาสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคม และสายไฟเบอร์ออปติก ซึ่งถือเป็นโครงสร้างสำคัญที่ธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำต้องการ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของทีโอที ที่จะมุ่งไปสู่บริการ Space IDC และ Space Digital Platform ซึ่งในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้านอวกาศจะมีศักยภาพสูงในหลายด้าน เช่น ความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ จะทำได้ง่ายกว่าภาคพื้นดิน ด้วยคุณสมบัติที่ได้เปรียบของดาวเทียมวงโคจรต่ำ ที่มีโอกาสอย่างมากที่จะเข้ามาแทนที่การให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตทางสาย ที่มีความยุ่งยากในการติดตั้งและบํารุงรักษา และการลดต้นทุน ทำให้เกิดความเป็นไปได้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การสร้าง Internet Data Center และ IoT platform บนวงโคจรในอนาคตข้างหน้า นายวรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัดกล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำงานกับองค์กรระดับประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งอย่าง ทีโอที โดย มิว สเปซ พร้อมสนับสนุนกิจการภาครัฐในด้านการรับส่งสัญญาณในระบบดิจิทัลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อร่วมในการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีอวกาศ เพิ่มศักยภาพการให้บริการเครือข่ายสถานีภาคพื้นดินบริการการรับและส่งสัญญาณดาวเทียมในระบบวงโคจรต่ำ รองรับการใช้งาน เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะทําให้การสื่อสารกระจายครอบคลุมไป ทั่วทุกพื้นที่มากยิ่งขึ้น ทั้งพื้นที่ที่ห่างไกลซึ่งเสาสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นประโยชน์และมีความสําคัญอย่างมาก ต่อการสื่อสารในอนาคตที่กําลังจะเกิดขึ้น ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถเข้าถึงการศึกษา ความรู้ อาชีพ และโอกาสต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียม และยังเป็นการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารของไทยให้มีความสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม นายวรายุทธ กล่าวอีกว่า เป้าหมายหลักสำคัญของเราในการจับมือกับ ทีโอที เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านธุรกิจดาวเทียมโดยเริ่มที่ โครงการการส่งอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถทํางานบน Space Environment ไปทดสอบบนอวกาศซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างองค์ความรู้และขีดความสามารถในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศให้กับประเทศไทยเพื่อพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมดาวเทียมและอวกาศในไทยให้ก้าวหน้าทันสมัยมากยิ่งขึ้น-สำนักข่าวไทย.

ดีป้าเผยภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลทรงตัว

กรุงเทพฯ 23 ก.ย. ดีป้าเผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 ภาพรวมทรงตัวคาดปี 2563 โควิด-19ช่วยหนุนตลาดบริการดิจิทัลโตก้าวกระโดด นางสาวกษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า แถลงผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 ว่า ดีป้าได้ประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทยปี 2563-2565ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์  อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า   มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2561 มีมูลค่ารวม 637,676 ล้านบาท ส่วนปี 2562 มีมูลค่ารวม 647,952 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.61 โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 2561-2562 มาจากปริมาณความต้องการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่สังคมดิจิทัล ขณะเดียวกันหน่วยงานต่าง ๆ เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล  อีกทั้งผู้คนเริ่มคุ้นเคยและใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น ในทางกลับกันปัจจัยที่เป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของมูลค่าตลาดมาจากขาดผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่มากระตุ้นตลาด ทำให้ปริมาณความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทชะลอตัวลง และหันไปใช้ในรูปแบบบริการมากขึ้น (เช่น บริการ cloud) การขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ขณะที่การใช้บริการต่าง ๆ ที่ซื้อตรงจากต่างประเทศมีมากขึ้น ทำให้ไม่มีข้อมูลแสดงรายได้ในประเทศ สำหรับผลการสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 จำแนกตามประเภทชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ปี 2561 มีมูลค่ารวม 118,917 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.10 เมื่อเทียบกับปี 2560ขณะที่ปี 2562 มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 134,817ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13.37 ด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ ปี 2561 มีมูลค่ารวม 325,261 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.29 จากปี 2560 ขณะที่ปี 2562 มีมูลค่าตลาดรวม 299,343 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าเฉลี่ยร้อยละ 7.97 โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์นั้นมีมูลค่าตลาดลดลงต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านจำนวนเครื่องและมูลค่า ขณะที่ส่วนที่เติบโตคืออุปกรณ์อัจฉริยะหรือสมาร์ทดีไวซ์ ซึ่งแม้จะมีอัตราเติบโตดี แต่ก็ยังติดลบในปี 62 เพราะการนำเข้าที่ลดลง รวมถึงการย้ายฐานการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ในประเทศไทย อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ปี 2561 มีมูลค่ารวม 153,497 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 24.17 จากปี 2560 โดยในปี 2562 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 169,536 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 10.45อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ปี 2561 มีมูลค่า 27,872 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 11.31ขณะที่ปี 2562 มีมูลค่ารวมกว่า 31,080 ล้านบาท […]

ขยับสถานีอวกาศสากลไม่ให้ชนขยะอวกาศ

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซาเผยว่า นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) ได้ดำเนินการหลบหลีกเพื่อไม่ให้ไอเอสเอสชนกับขยะอวกาศ

ดีอีเอสสั่งสำนักงานสถิติเร่งเก็บข้อมูลความเดือดร้อนประชาชน

กรุงเทพฯ 22 ก.ย. รมว.ดิจิทัลฯ สั่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแก้ปัญหาเร่งด่วนให้ประชาชนใน  1 เดือน นายพุทธิพงษ์   ปุณณกันต์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน ครั้งที่ 1/2563 ว่า วันนี้ (22 ก.ย.) ได้อนุมัติแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่2 ซึ่งเป็นแผนเดิม มีกรอบระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่ปี  2559-2564 ตามกำหนดเดิมจะเสร็จปีหน้า โดยได้ กำชับ สำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเก็บข้อมูลสถิติประชาชน  จะต้องทำงานหนัก เรื่องการจัดเก็บข้อมูลสถิติ ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้รวดเร็ว  สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสามารถสนับสนุนข้อมูลของประชาชน ให้ภาครัฐ และนโยบายต่างๆ ที่จะลงไปช่วยเหลือเยียวยาประชาชน  ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย  ตอบโจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง  เพื่อประหยัดงบประมาณ และวัดผลได้จริง เนื่องจากข้อมูลเก่า ถือว่าไม่ทันต่อสถานการณ์แล้ว ทั้งนี้ได้สั่งการให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกลุ่มเป้าหมายในการลงไปสำรวจข้อมูล ระยะเร่งด่วน ใน  5 เรื่องก่อนเป็นอันดับแรกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด19  เช่น ตัวเลขคนว่างงาน คนที่ตกงาน แล้วย้ายถิ่นฐานกลับไปอยู่ตามภูมิลำเนา, ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหา  และอีก 3 กลุ่ม ให้ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ ลงไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปออกมา  ก่อนจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลสถิติ โดยเก็บในระบบดิจิทัลทั้งหมด ให้เวลา ภายใน 1 เดือน กลับมารายงานว่า 5 กลุ่มนี้มีใครบ้าง จะช่วยกลุ่มใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้  ซึ่งทั้งหมดจะถูกรวบรวมข้อมูลไว้ใน Big Data ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในที่เดียวกัน  สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เตรียมแอปพลิเคชั่นแพลตฟอร์มเพื่อรองรับข้อมูลไว้แล้ว ไม่ได้ทำงานล่าช้า แต่เนื่องจากมีหลายหน่วยงานยังไม่ส่งข้อมูลให้ จึงต้องเร่งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  เชื่อว่าหลังจากนี้ ไม่เกิน 3 เดือน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติสามารถตอบโจทย์ สนุนสนุนข้อมูลได้ทุกหน่วยงานอย่างแน่นอน-สำนักข่าวไทย.

ดีป้าเดินหน้าเปิดแผนปี 64ขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล

กรุงเทพฯ 22 ก.ย. ดีป้าโชว์ผลงานรอบ 3 ปี ช่วยพลิกโฉมประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า เวลา 3 ปีที่ผ่านมา ดีป้า ได้ทำงานเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจดิจิทัล และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลโดยให้สตาร์ทอัพมีส่วนในการคิด ดีป้า สนับสนุนสตาร์ทอัพไปแล้ว 300 ราย ลงทุนในสตาร์ทอัพ 100 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 6,890 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยสู่ระดับสากล  และสตาร์ทอัพเหล่านี้จะลงไปทดแทนในธุรกิจจริงเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจะต้องดำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูล สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หนึ่งในสถาบันภายใต้สังกัด ดีป้า จึงมีความสำคัญ                  ซึ่งขณะนี้ทีมจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) อาทิ การสำรวจข้อมูลเพื่อประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อแสดงผลข้อมูลสภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล การสำรวจความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลรายไตรมาส และการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ ดีป้า ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ด้านทักษะดิจิทัล กฎหมาย ความปลอดภัย ประโยชน์และโทษจากดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย ผู้พิการ เด็กและเยาวชน เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัล ดีป้าให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” สู่การเป็น “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ของประเทศ โดยการส่งเสริมให้เยาวชนไทยเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ พร้อมเพิ่มทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้าน Coding ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง codingthailand.org และส่งผ่านองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล(Digital Literacy) แก่นักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน รวมถึงผู้ที่ต้องการอัพสกิล-รีสกิลตนเองสู่การเป็นกำลังคนดิจิทัลตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ อีกทั้งมีความพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ดีป้าได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ “ชุมชน” สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลไปแล้ว 177 ชุมชนโดยสามารถยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้วมากกว่า 137 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีการผลิตและแปรรูป โดรนเพื่อการเกษตร แอปพลิเคชันสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจให้กับวิสาหกิจชุมชน เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนชุมชนสู่สังคมดิจิทัล โดยภารกิจต่าง  ดีป้าพยายามลงไปทำงานในชุมชนมากกว่า 500 ชุมชนที่ได่เรียนรู้และใช้โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารพัฒนาขุมชน รวมถึงการไปช่วยประชาชนที่มีความลำบากได้รับโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคัวเอง ดีป้ามองไปยีงกลุ่มอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลใหม่ที่สามารถผลิตและส่งออกมีการผสมผสานและการออกแบบที่เหมาะสม สำหรับแผนงานปี 2564 ดีป้าจะผลักดันในทุกมิติในการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยสู่ยุคดิจิทัล โดยการจัดตั้ง Drone University เพื่อพัฒนาคนให้รู้จักนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงการจัดตั้ง AI University โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อผลิตบุคลากรตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การผลักดันเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและไอโอทีในชื่อ dSURE การสร้างแพลตฟอร์มไทยเพื่อคนไทย (National Platform for All) การนำเทคโนโลยี 5G มาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนา Tech Hunting รวมถึง Big Data พร้อมสานต่อการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนา Thailand Digital Valleyดีป้า จะคงความเป็นแถวหน้าด้านการส่งเสริมและพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามแนวคิด ‘Premier’ ที่พร้อมทำงานเชิงรุก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนคิดเป็น ทำเป็น และทำได้ อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน  ดีป้าโดยสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น รับบทเป็น “ทีมลงทุนร่วมสร้าง” สร้างระบบนิเวศด้านเศรษฐกิจดิจิทัลพร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการดิจิทัลได้พบกัน เพื่อร่วมลงทุนและหาตลาดภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับผู้ให้บริการ โดยที่ผ่านมา ดีป้า ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยไปแล้ว 98 ราย อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ระดับ Series A แล้ว 4 ราย และมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิด “ยูนิคอร์น” สัญชาติไทยให้ได้ในที่สุด  ดีป้ายังได้พัฒนาสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล ยนพื้นที่ Thailand Digital Valley พื้นที่ 30 ไร่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) เพื่อเป็นศูนย์กลางการออกแบบ พัฒนาวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น IoT, Data Science, 5G Applications, Smart Devices, High Value-Added Software, Robotics, Cloud และ Digital Services อีกทั้งเป็นพื้นที่จับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทชั้นนำระดับโลกกับดิจิทัลสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเป้าหมายใน 6 สาขา ประกอบด้วยเทคโนโลยีเพื่อการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (AgTech) เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (Travel Tech) เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Tech) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) และเทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ(GovTech) ก่อนขยายตลาดเชิงพาณิชย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศน์ด้านดิจิทัลอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นแรงจูงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้ Thailand Digital Velley ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) ต่อไป ภายใน Thailand […]

บอร์ดกสทช.ย้ำผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลไม่ต้องกังวลผลกระทบประกาศเรียงช่องทีวี

กรุงเทพ 22 ก.ย. บอร์ดกสทช. วอนผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลปีะกาศเรียงช่องทีวีเชื่อเดือนพ.ย.ชัดเจน  นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการออกประกาศเรียงช่องทีวีดิจิตอลว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจั้นตอนการประชาพิจารณ์(ร่าง)ประกาศ จึงจะต้องรอให้มีการสรุปผลการประชาพิจารณ์ก่อนจึงจะให้กรรมการกสทช.พิจารว่า(ร่าง)ประกาศเรียงช่องทีวีดิจิตอลจะออกมาแบบใด เบื้องต้นขอให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบให้เปลี่ยนแปลงหมายเลขช่องไปจากปัจจุบัน หมายเลขช่องยังคงเป็นหมายเลขเดิม การออกประกาศเรียงช่องเป็นการนำช่องที่ยังไม่มีผู้ใช้งานมาให้บริการกับสาธารณะ และเป็นการทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ขอให้ผู้ประกอบการสบายใจได้ ทั้งนี้เชื่อว่าการเรียงช่องจะมีความชัดเจนเมื่อศาลปกครองทีคำวินิจฉัยแล้ว ซึ่งกสทช.จะพิจารณาปรังปรุงร่างให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลโดยจะมีความชัดเจนประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ -701.

กสทช.จับมือสขค.วางแนวทางการแข่งขันทางดิจิทัลอย่างเป็นธรรม

กรุงเทพฯ 22 ก.ย. สขค. จับมือกสทช. ร่วมมือกำกับดูแลด้านการแข่งขันทางการค้า สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (ขศ.) โดยนายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการกำกับดูแลการแข่งขันในธุรกิจเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมกับนายไตรรัตน์ วิริยศิริกุล รองเลขาธิการรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างสบค. และกสทช.จะร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลการแข่งขันในธุรกิจเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมรวมถึงกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธุรกิจเฉพาะที่อยู่ในการกำกับดูแลของกสทช. โดยตรงมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ข้อตกลงมีสาระสำคัญ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในธุรกิจระหว่างสขค. กับสำนักงานกสทช. เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมรวมถึงกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและคล่องตัวทันต่อพัฒนาการของรูปแบบและพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แบะเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าสู่บุคลากรของทั้งสองหน่วยงานและผู้ประกอบธุรกิจในธุรกิจเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมรวมถึงกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอส ผนึกดีป้า หัวเว่ยพัฒนาศูนย์ 5G

กระทรวงดิจิทัลฯ โดยดีป้า จับมือ หัวเว่ย สร้างศูนย์ 5G EIC หวังปฏิรูปการใช้เทคโนโลยีทุกมิติของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในอาเซียน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือเปิดศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) ศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบนิเวศ 5G แบบครบวงจร เพื่อสร้างมูลค่าและโอกาสใหม่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดย นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า วันนี้อาจเป็นการเริ่มต้น แต่ความจริงแล้ว ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการนำ 5G มาใช้พัฒนาประเทศไทย นโยบายรัฐบาลที่พยายามผลักดันให้เกิดการประมูล 5G เมื่อวันที่ 16 กุมภาที่ผ่านมา เนื่องจากวันนี้เราต้องการทำให้คนทั่วโลกเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมอย่างมากทั้งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและการนำ 5G มาใช้ประยุกต์ให้ทุกมิติมีการนำมาใช้ เมื่อประเทศไทยมีการเปิดให้ประมูลประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้สร้างความร่วมมือและนำผู้ให้บริการหลัก ทั้ง Huawei AIS […]

ดีอีเอสชงตำรวจตามแพลตฟอร์มไม่ปิดกั้น-มือโพสต์โซเชียลผิดกฎหมาย

กรุงเทพฯ 21 ก.ย. ดีอีเอส เตรียมส่งข้อมูล การใช้โซเชียลผิดกฎหมายช่วงชุมนุม 19-20 ก.ย. ให้ตำรวจ พร้อมส่งข้อมูลให้ตำรวจดำเนินการกับแพลตฟอร์มที่มีคำสั่งศาลให้ปิดกั้นเว็บผิดกฎหมายแต่ไม่ดำเนินการ 24 ก.ย.นี้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงการติดตามความตืบหน้าในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดกรณีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการกระทำผิดกฎหมายว่า กระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจเมื่อได้ขอคำสั่งศาลส่งให้แพลตฟอร์มช่วยปิดกั้นเว็บที่ผิดกฎหมาย เมื่อเวลาผ่านไปหากพบว่ายังไม่ได้รับความร่วมมือกระทรวงจะรวบรวมข้อมูลส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการโดยจะรวบรวมข้อมูลหลักฐานคำสั่งศาลที่ยังไม่ได้ดำเนินการส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจภายในวันที่ 24 ก.ย.นี้ นอกจากนี้ในโอกาสเดียวกันจะนำข้อมูลการกระทำความผิดผ่านโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้รวมถึงการดำเนินการกับผู้เปลี่ยนชื่อบัญชีทวิตเตอร์ไปเหมือนกับบัญชีของกระทรวงด้วย ส่วนที่เฟซบุ๊กประเทศไทยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลกรณีที่มีคำสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์หรือเพจที่ผิดกฎหมาย นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กระทรวงฯได้รับการแจ้งจากศาลให้ไปชี้แจงกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาล จำนวน 17 คดี ซึ่งกระทรวงยินดีที่จะไปชี้แจง โดยตนจึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงฯ เตรียมการเพื่อชี้แจงเหตุผลที่ต้องขอคำสั่งศาลในการปิดกั้นเว็บไซต์หรือเพจที่ผิดกฎหมาย -สำนักข่าวไทย.

วว.ใช้งานวิจัยยกระดับอุตสาหกรรมเอทานอล

วว. 21 ก.ย.63 – วว. วิจัยใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุน ยกระดับอุตสาหกรรมเอทานอลในประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษา โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอลโดยผลวิจัยชี้ว่าใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอล ลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ประมาณ 25% หรือลดต้นทุนได้ 1.18 บาทต่อการผลิตเอทานอล 1 ลิตร ย้ำผ่านการทดสอบการประเมินผลด้านปลอดภัยทางชีวภาพแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล ที่จะควบคุมและกำกับการใช้งานเชื้อจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอล โดยศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. วิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อยีสต์ที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมด้วยเชื้อยีสต์จากธรรมชาติของประเทศไทย ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล และด้านคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตเอทานอลอื่น ๆ เช่น สารพลอยได้ และ ของเหลือจากกระบวนการผลิตเอทานอลโดยยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ โดย วว. สามารถคัดเลือกยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม คือ สายพันธุ์ MD1 สำหรับวัตถุดิบมันสำปะหลัง มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์กลูโคอะไมเลสได้ ช่วยในการผลิตเอทานอลที่ความเข้มข้นสูง สามารถลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ ส่วนเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม GY1 สำหรับวัตถุดิบประเภทกากน้ำตาล มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์อุตสาหกรรม  เมื่อทำการผลิตเอทานอลที่ใช้ความเข้มข้นตั้งต้นของกากน้ำตาลสูง ส่วนการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของการใช้เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม ผ่านการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์   ซึ่งงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ของ วว. สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (BCG) ของประเทศ  ซึ่ง วว. ศักยภาพและความสามารถในการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์  ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต .-สำนักข่าวไทย

1 26 27 28 29 30 51
...