ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เทคนิคการอดอาหารแบบ IF ให้ได้ผล

การทำ IF กินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไร ทำแล้วจะเป็นโรคกระเพาะหรือไม่ และทำ IF ให้สำเร็จมีเทคนิคอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล การทำIF (Intermittent Fasting) คือ การจำกัดเวลาในการกินอาหาร โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่สามารถกินได้ตามปกติ และช่วงอดอาหารไม่กินอาหารใด ๆ ยกเว้นน้ำเปล่า หรือของเหลวที่ไม่มีแคลอรี การทำ IF จะทำสูตรไหนก็ได้ที่เหมาะกับตัวเราและทำเป็นระยะเวลานานได้ อย่าอดอาหาร อย่าทำอะไรที่ทรมานจนเกินไป เพราะจะทนไม่ได้ และเลิกการทำ IF ได้ง่าย แล้วหันกลับมากินมากกว่าเดิม การทำ IF เป็นหนทางลดน้ำหนัก และการดูแลสุขภาพ การทำ IF ได้ทั้งการลดน้ำหนักและการดูแลสุขภาพ ด้วยการเลือกสูตร IF ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต เริ่มกินอาหารแต่เช้า ไม่ควรเกิน 08.00 น. เพราะการตอบสนองของอินซูลินและการใช้พลังงานจะสูงสุดตอนเช้า โดยส่วนตัวกินไม่เกินบ่ายสองโมง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจหลักการ อดอาหารแบบ IF

การอดอาหารแบบ IF มีหลักวิธีการอย่างไร ควรอดกี่ชั่วโมง อดช่วงเวลาไหน และทำ IF อย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่ก่อโทษ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “IF” มาจากคำว่า Intermittent Fasting หมายถึง การอดอาหารเป็นระยะ แสดงว่ามีช่วงอดอาหาร สลับกับช่วงกินอาหาร การอดอาหารแบบ IF มี 5-6 วิธีเป็นอย่างน้อย เช่น กิน 1 วัน อด 1 วัน กิน 1 วัน อีกวันกินอาหาร 25 เปอร์เซ็นต์ กิน 5 วัน อด 2 วัน กิน 4 วัน อด 3 วัน วิธีที่นิยมกันมากคือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเขม่น หรือตากระตุก

17 พฤษภาคม 2567 – ตาเขม่นคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MRISPEOATNOIN ? — กลโกงยอดฮิต มิจฉาชีพมักทำ

18 พฤษภาคม 2567  สิ่งนี้… คือ การแอบอ้าง หรือการปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น และ สิ่งนี้…ถูกใช้เป็นวิธีการหลอกของมิจฉาชีพ ที่เคยสร้างความเสียหายจากสถิติแจ้งความออนไลน์กว่า 4 ร้อยล้านบาท คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็นมะเร็ง ห้ามนวด จริงหรือ ?

19 พฤษภาคม 67 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากไปนวด จะทำให้มะเร็งแพร่กระจายมากขึ้น เพราะเลือดมีการไหลเวียนมากขึ้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน “โรคมะเร็งจากวัคซีน mRNA” จริงหรือ?

เป็นข่าวปลอมที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แม้ญี่ปุ่นจะยกเลิกบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรีแก่ประชาชน แต่แนะนำให้วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ควรฉีดตามฤดูกาล

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ประโยชน์ของมะเขือเปราะ จริงหรือ ?

16 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์มะเขือเปราะ เป็นพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์ รับประทานบ่อย ๆ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดไข้และความดันโลหิต ลดการอักเสบ และที่สำคัญยังช่วยลดน้ำหนักได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีกำจัดยุง จริงหรือ ?

15 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีไล่ยุง ทั้งใช้น้ำสบู่ น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย ผสมกันช่วยไล่ยุงได้ อีกทั้งให้ใช้น้ำมันงา ทาตัว ยุงกลัวหายห่วง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณฑาทิพย์ คงมี ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: หยุดใช้ “ปากกาลดน้ำหนัก” แล้วกลับมาอ้วนเหมือนเดิม จริงหรือ?

มีงานวิจัยพบว่า การหยุดใช้ปากกาลดน้ำหนัก จะทำให้น้ำหนักตัวกลับมาเท่ากับตอนก่อนจะใช้ยา

1 32 33 34 35 36 277
...