ชัวร์ก่อนแชร์: Turbo Cancer ในวัคซีนโควิดทำให้คนป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 14,000% จริงหรือ?
ตัวเลข 14,000% นำมาจากรายงานที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบว่าวัคซีนคือสาเหตุของโรคหรือไม่ FDA ไม่พบสัญญาณการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งจากวัคซีนโควิด-19
ตัวเลข 14,000% นำมาจากรายงานที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบว่าวัคซีนคือสาเหตุของโรคหรือไม่ FDA ไม่พบสัญญาณการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งจากวัคซีนโควิด-19
23 พฤษภาคม 2567 – ตาบอดกลางคืนเกิดจากสาเหตุใด เป็นอันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 30 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
งานวิจัยพบว่า RNA ไม่ดัดแปลงยับยั้งมะเร็งในหนูทดลองดีกว่า RNA ดัดแปลง แต่ไม่ได้บอกว่า RNA ดัดแปลงกระตุ้นมะเร็ง เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยาหลอก พบว่าการเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่แตกต่างจากหนูที่ได้รับ RNA ดัดแปลง
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีกี่ชนิด เหมาะกับใคร และควรฉีดตั้งแต่อายุเท่าไหร่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus : HPV) สามารถป้องกันได้ตั้งแต่สาเหตุ ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีนเอชพีวี สามารถฉีดวัคซีนเอชพีวีในเด็กผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดวัคซีนเอชพีวีก็คือก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจะได้ผลมากที่สุด เพราะถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว และมาฉีดวัคซีนเอชพีวี อาจจะเคยติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และมีภูมิคุ้มกันบางส่วน ประโยชน์ที่ได้อาจจะไม่เต็มที่ แต่ก็ยังคงได้ประโยชน์อยู่ ผู้ชายต้องฉีดวัคซีนเอชพีวีหรือไม่ ? การที่ผู้ชายฉีดวัคซีนเอชพีวีก็จะได้ประโยชน์หลาย ๆ อย่าง 1. ตัวผู้ชายเอง คือป้องกันมะเร็งทวารหนัก ถ้ามีหลาย ๆ สายพันธุ์ สามารถป้องกันมะเร็งช่องปากและลำคอ ป้องกันหูดหงอนไก่ 2. ประโยชน์สำหรับผู้หญิงที่เป็นที่รักของผู้ชาย คือป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ชาย 3. ประโยชน์ระดับสังคม ทำให้การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีลดลง เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัสเอชพีวีทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย วัคซีนเอชพีวี มีหลายชนิด […]
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นเนื้องอกชนิดเนื้อร้ายที่บริเวณปากมดลูก มีการเปลี่ยนแปลงจากปากมดลูกธรรมดาไปเป็นเนื้องอกชนิดร้าย เรียกว่า “โรคมะเร็งปากมดลูก” โรคมะเร็งปากมดลูกไม่ได้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ แต่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus : HPV) จะมีส่วนของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนิดหน่อย ตรงที่ว่าถ้ากรรมพันธุ์ของคนไหนที่มีแนวโน้มติดเชื้อไวรัสง่าย มีการเปลี่ยนแปลงจากไวรัสง่าย คนนั้นก็อาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูกง่ายขึ้น แต่ไม่ได้มีสาเหตุโดยตรงจากกรรมพันธุ์ โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากสาเหตุใด สาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV : Human Papilloma Virus) ไวรัสเอชพีวีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเซลล์ของปากมดลูก กลายเป็นระยะก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูกได้ ไวรัสเอชพีวีติดต่อโดยการสัมผัส ส่วนใหญ่คือเพศสัมพันธ์ เพราะการสัมผัสในที่นี้ก็คือสัมผัสแล้วพื้นผิวที่สัมผัสมีรอยแผลรอยถลอกด้วย เพราะไวรัสตัวนี้จะเข้าไปติดเชื้อที่เยื่อบุผิวชั้นล่าง แต่ถ้าคนนั้นไม่มีแผลเลย นำไวรัสเอชพีวีเข้าไปแปะก็ไม่ติด เพราะฉะนั้นเอชพีวีจึงเป็นไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพบมากที่สุดในโลกด้วย “มะเร็งปากมดลูก” ไม่ใช่ว่าปากมดลูกปกติแล้วเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นมะเร็งชั่วข้ามคืน แต่ไวรัสเอชพีวีจะเข้าไปแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเซลล์ของเยื่อบุปากมดลูกให้กลายเป็นระยะก่อนมะเร็ง ใช้ระยะเวลานาน 5-10 ปี ถึงจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ระยะก่อนมะเร็ง และ […]
21 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สั่น กระตุก และรอบเครื่องยนต์ไม่นิ่งเช่น หัวฉีดสกปรก และ คอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์
22 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดอาหารก่อมะเร็ง ทั้งการกินผลไม้เป็นประจำจะทำให้เป็นมะเร็งตับ และการกินปลานิลเลี้ยง เสี่ยงมะเร็งถึง 10 เท่า ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เรณุกา นิธิบุณยบดี รรท.หน.กลุ่มตรวตสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ กรมประมง ตะวัน มีสอาด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี แสงเดือน นาคสุวรรณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 7 กรมประมง ภก.ประพนธ์ อางตระกูล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ ดร.มลฤดี […]
เป็นการนำเสนอข้อมูลเท็จ จากการอ่านช่วงอายุผู้ป่วยมะเร็งเต้านมผิด
บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 6 วิธีทำให้ลูกคิ้วดกง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมี หัวหน้ากลุ่มงานเส้นผมและเล็บ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “คิ้วดก” จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด หรือคุณพ่อคุณแม่ให้มา กรณีคนในครอบครัวคิ้วไม่ดก การนำอะไรบางอย่างมาทาเพื่อให้ลูกมีคิ้วดกขึ้นก็ไม่เป็นความจริง วิธีที่ 1. โกนคิ้วของทารก จะทำให้คิ้วที่เกิดใหม่หนาขึ้น ? บริเวณคิ้วมีการสร้างจากต่อมขนที่อยู่ใต้ผิวหนัง การโกนคิ้วออกไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับต่อมขน หรือต่อมผมนั้น ๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องโกนออกเพื่อหวังว่าคิ้วที่ขึ้นมาใหม่จะดกหนามากขึ้น วิธีที่ 2. นำดอกอัญชันมาบดและทาทิ้งไว้ สารแอนโทไซยานินในอัญชันจะช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นให้ขนคิ้วดกดำมากขึ้น จริงไหม ? “อัญชัน” ไม่ได้มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างขนมากขึ้น กรณีแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ก็ไม่ได้มีผลเกี่ยวกับเรื่องการสร้างขนที่ชัดเจน สิ่งที่อัญชันอาจจะมีผลก็คือ อัญชันไปย้อมที่ขนหรือผมบริเวณนั้น ทำให้มองเห็นขนหรือผมบริเวณนั้นชัดเจนขึ้น จึงรู้สึกเหมือนขนดกมากขึ้น หรืออัญชันไปติดที่ผิวหนัง วิธีที่ 3. ใช้ยางจากก้านพลู นำน้ำยางวาดตามรอยคิ้ว 4-5 ครั้ง จะทำให้คิ้วดกดำขึ้น ? […]
บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำการบดปั่น “ใบมะละกอ” ดื่มแล้วจะช่วยให้สู้กับโรคไข้เลือดออกได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี มีการศึกษารวบรวมงานวิจัยที่มีคุณภาพมาดูผลการรักษา พบว่า “สารสกัดใบมะละกอ” น่าจะมีแนวโน้มเพิ่มเกล็ดเลือด (ผู้ป่วยไข้เลือดออกหลายคนจะมีปัญหาเกล็ดเลือดต่ำ) ประเทศที่ศึกษาส่วนใหญ่อยู่แถบเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน มาเลเซีย อินโดนีเซีย การศึกษาทั้งหมดไปในแนวทางเดียวกัน คุณสมบัติของสารในใบมะละกออาจช่วยกลไกที่เสียหายไปเพราะไข้เลือดออกได้พอดี “ไวรัสเดงกี่” (Dengue virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยรั่ว ส่งผลให้เลือด น้ำเลือดไหลออกมาสู่ภายนอก ถ้าผู้ป่วยเสียน้ำจากเลือดมาก ๆ ความดันตก อาจช็อกได้ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต มีการศึกษาอยู่จำนวนหนึ่งแต่ยังไม่มากพอเกี่ยวกับ “สารสกัดใบมะละกอ” น่าจะทำให้หลอดเลือดรั่วได้น้อยลง และทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือดเพิ่มจำนวนมากขึ้น กินใบมะละกอเพื่อรักษาไข้เลือดออกได้ ? ในทางการแพทย์ เวลาที่จะบอกว่าการรักษาใดเป็นการรักษามาตรฐาน จะต้องมีการศึกษาที่รู้ว่าปริมาณสารสำคัญ หรือว่าขนาดยาที่ใช้ เท่าไหร่กันแน่ แล้วผู้ป่วยเป็นโรคนี้จริง ๆ หรือเปล่า ลดอัตราการตายได้หรือไม่ รวมทั้งกลไกการออกฤทธิ์มีอย่างไร […]
ผู้วิจัยไม่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้เสียชีวิต จึงไม่สามารถระบุได้ว่าการตายจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะวัคซีนหรือไม่
บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำ 4 ประโยชน์ของข้าวยีสต์แดง ทั้งลดไขมันในเลือด ดีต่อสุขภาพหัวใจ ลดความเสี่ยงเมตาบอลิกซินโดรม และลดการอักเสบในร่างกายได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ประมวล ทรายทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางอย่างก็เป็นจริง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยมาแล้ว บางอย่างก็อาจจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การกินข้าวยีสต์แดงไม่ได้หมายความว่าจะมีสุขภาพดีเสมอไป อาจจะมีโทษโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตข้าวยีสต์แดง ข้าวยีสต์แดง คืออะไร ? ข้าวยีสต์แดง คือกระบวนการหมักข้าวสารโดยใช้เชื้อราสายพันธุ์หนึ่ง คือ โมแนสคัส (Monascus) มีคุณสมบัติสร้างสารสีแดง ในขณะเดียวกันมีการสร้างสารบางชนิดมีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารในกลุ่มโมนาโคลิน (Monacolin) มีการนำมาใช้ผสมอาหาร หรือใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ข้อ 1. ข้าวยีสต์แดงลดไขมันในเลือด จริงหรือ ? มีการศึกษากันมาแล้วว่าสารโมนาโคลินเค (Monacolin K) มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนยาลดคอเลสเตอรอล ที่แพทย์จ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง คือยากลุ่มสแตติน (statin) มีหลายคนคิดจะนำข้าวยีสต์แดงกินแทนยาลดคอเลสเตอรอล ควรปรึกษาแพทย์ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์จะดีที่สุด เพราะยาจะมีปริมาณที่แน่นอนในการบริโภคแต่ละครั้ง ในส่วนของข้าวยีสต์แดง อาจจะมีความแปรผันของสารโมนาโคลินเค หรือสารอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเทียบปริมาณได้กับยา […]