ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้เขียงพลาสติก เสี่ยงอาหารปนเปื้อน “ไมโครพลาสติก” จริงหรือ?
มีงานวิจัยพบว่า การใช้เขียงพลาสติกทำให้อาหารปนเปื้อนไมโครพลาสติกจริง
มีงานวิจัยพบว่า การใช้เขียงพลาสติกทำให้อาหารปนเปื้อนไมโครพลาสติกจริง
งานวิจัยสำรวจ “อัตราส่วน” ของไมโครพลาสติกในอากาศ ไม่ได้สำรวจ “น้ำหนัก” ของไมโครพลาสติกในอากาศ
11 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเป็นเวลานานเป็นอันตราย เนื่องจากร่างกายจะได้รับสารก่อมะเร็งชนิดไดออกซิน โดยอ้างว่า เชอรีล โครว นักร้องสาวชาวอเมริกันที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีสาเหตุจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Dioxin ไดออกซิน (Dioxin) คือสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถูกย่อยสลายได้ยาก ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สะสมในไขมันของสิ่งมีชีวิต มีความเป็นพิษสูงและยังเป็นสารก่อมะเร็ง หากได้รับในปริมาณสูงจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการสืบพันธุ์ ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาหรือ EPA ระบุว่า การพบสารไดออกซินปะปนในอากาศและแหล่งน้ำ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมการเผา ทั้งการเผาขยะและเชื้อเพลิง นิโคล แดเซียล รองศาสตราจารย์ ด้านระบาดวิทยาและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา […]
แม้บางกรณี การใช้พลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการทดแทนการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากกว่า แต่กระบวนการผลิตพลาสติกจนถึงการกำจัดซากพลาสติก ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ศิริชัย แดงเอม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
09 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ก่อนหน้าที่ สตู ปีเตอร์ส นักจัดรายการผู้มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง จะโด่งดังกับสารคดีต่อต้านวัคซีนโควิด-19 ทั้ง Died Suddenly และ Final Days ช่วงกลางปี 2022 เขาได้นำเสนอสารคดีความยาว 45 นาทีเรื่อง Watch the Water เนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์ ไบรอัน อาร์ดิส อดีตแพทย์ด้านการบำบัดโรคด้วยการจับกระดูกสันหลัง ผู้มีประวัติสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัส Remdesivir รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทฤษฎีที่ ไบรอัน อาร์ดิส ชักจูงให้ผู้ชมคล้อยตามใน Watch the Water คือการอ้างว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นผลจากแผนอันชั่วร้ายที่เรียกว่า Plandemic จากการร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) และคริสตจักรโรมันคาทอลิก โดยอ้างว่าไวรัสโควิด-19 แท้จริงแล้วเกิดมาจากพิษของงู, ยาต้านไวรัส Remdesivir มีส่วนประกอบของพิษงู และมีแผนแพร่เชื้อโควิด-19 ผ่านทางแหล่งน้ำอีกด้วย […]
7 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้ยางของรถยนต์สึกไม่เท่ากัน หรือที่เรียกว่าอาการ “รถกินยาง” เช่น ช่วงล่างหลวม เสื่อมสภาพ และ ศูนย์ล้อของรถยนต์ไม่ตรง บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์
6 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า ห้ามนำอาหารร้อน ๆ แช่ตู้เย็นทันที ไม่ใช่ถึงขนาดจะทำให้ตู้เย็นพัง แต่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ที่จะอาหารเป็นพิษ และท้องเสียได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ปิติยา กมลพัฒนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 18 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
5 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลแชร์แนะนำ 4 ประโยชน์ของข้าวยีสต์แดง ทั้งลดไขมันในเลือด ดีต่อสุขภาพหัวใจ ลดความเสี่ยงเมตาบอลิกซินโดรม และลดการอักเสบในร่างกายได้ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ประมวล ทรายทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 18 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
4 พฤษภาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นอาวุธไซเบอร์ ที่มีมูลค่าการโจมตีขั้นสูงสุด ของ Hacker และสิ่งนี้… ถูกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของ Hardware หรือ Software ที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือเพิ่งค้นพบใหม่ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ 15 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง
3 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์แนะนำสมุนไพรเพื่อผู้สูงอายุ มีตั้งแต่ใบบัวบกและกระเทียมช่วยลดความดัน เตยหอม และ กะเพรา ช่วยแก้เบาหวาน และ มะระ ตำลึง ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
2 พฤษภาคม 2567 – มะเร็งปากมดลูกคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์