ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : กระดาษทิชชู ทำให้ไฟไหม้ในรถได้ จริงหรือ ?

23 เมษายน 2567 ตามที่มีการแชร์เตือนผู้ใช้งานรถยนต์ว่า เมื่อจอดรถตากแดด อย่าทิ้งกระดาษทิชชูไว้ในรถ เพราะจะทำให้รถยนต์เกิดไฟไหม้ได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กระดาษทิชชู่จะเริ่มติดไฟลุกไหม้ได้นั้น จะต้องได้รับความร้อนสูงถึงประมาณ ประมาณ 218 – 249 °c  ซึ่งอุณหภูมิที่อาจารย์ได้ทำการทดสอบจะอยู่ที่ 87 °c เท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการจุดติดไฟของกระดาษทิชชูได้ การจุดติดไฟได้จะต้องมีองค์ประกอบครบ ซึ่งในที่นี้เรียกว่า สามเหลี่ยมแห่งไฟ คือ ต้องมีอากาศ ความร้อน เชื้อเพลิง ข้อสังเกตหากเกิดกรณีไฟไหม้กระดาษทิชชู มีการแชร์ว่า กระจกหลังรถจะทำตัวเป็นเลนส์รวมแสงนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก กระจกรถยนต์ถูกออกแบบไม่ได้มีความนูนหรือเว้าเพียงพอที่จะรวมแสงได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์ของ “พริกหมาล่า” ต่อสุขภาพ จริงหรือ ?

22 เมษายน 2567 – บนโซเชียลแชร์ 10 ประโยชน์ของ “พริกหมาล่า” ต่อสุขภาพ อาทิ ขับลม กระตุ้นลำไส้ ขับระดูในสตรี สูดดมแก้วิงเวียน แก้หวัด ขับเสมหะ บรรเทาอาการอักเสบ และยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อไวรัสได้ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์จีน นายแพทย์ ภาสกิจ วัณนาวิบูล หัวหน้าหลักสูตรแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต สัมภาษณ์เมื่อ : 9 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

Plandemic 2 : ภาคต่อสารคดีปลอม กับข้ออ้าง “แผนแพร่ระบาดไวรัสมรณะ”

23 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความอื้อฉาวของ Plandemic : The Hidden Agenda Behind Covid-19 ทำให้ มิกกี วิลลิส เดินหน้าผลิตผลงานภาคต่อในรูปแบบสารคดีขนาดยาวในชื่อ Plandemic : Indoctornation เพื่อเผยแพร่ในอีก 4 เดือนต่อมา มิกกี วิลลิส อ้างว่าผลงานสารคดีความยาว 84 นาทีชิ้นนี้ เปรียบเสมือนผลงานฉบับเต็มของ Plandemic 1 เนื่องจากมีเนื้อหาที่เจาะลึกยิ่งกว่าเดิม จุดประสงค์เพื่อตอบโต้สื่อมวลชนและ Fact Checker ที่จับผิดผลงานก่อนหน้านี้ของเขา แต่การที่ผู้สร้าง Plandemic 2 ประกาศวันเผยแพร่ผลงานอย่างชัดเจนในวันที่ 18 สิงหาคม 2020 ส่งผลให้สำนักข่าวและแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ มีเวลาวางแผนรับมือมากกว่า Plandemic 1 ทำให้ผลกระทบจากการเผยแพร่ Plandemic 2 น้อยกว่าสารคดีฉาวเรื่องก่อนอย่างมาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วัคซีน HPV มีอันตราย จริงหรือ ?

19 เมษายน 2567 บนโซเชียลแชร์ข้อมูลเตือนว่า วัคซีน HPV มีอันตราย ฉีดแล้วอาจทำให้เป็นโรคร้ายแรงขึ้นได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ควรฉีด นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 29 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : EHAT GALSTINK ? — ไม่ชอบนะ แต่ตามส่องรู้ทุกเรื่อง !

20 เมษายน 2567 สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในโลกยุคดิจิทัล และสิ่งนี้… อาจกลายเป็นการเสพติดความสุข จากการตามส่องคนที่เราไม่ชอบ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำต้มใบยี่หร่า ยับยั้งมะเร็ง จริงหรือ ?

21 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์แนะนำผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็ง ให้รีบกินน้ำต้มใบยี่หร่า เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

Plandemic ปฐมบทสารคดีลวงโลก เบื้องหลังไวรัสโควิด-19

20 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล เมื่อปี 2020 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก เกิดปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ที่มีการแชร์คลิปและข้อมูลจากสารคดีขนาดสั้นเรื่อง Plandemic กันอย่างแพร่หลาย แต่กลายเป็นว่า เนื้อหาเหล่านั้นกลับเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 และการโจมตีนโยบายรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างไม่ถูกต้อง กลายเป็นต้นทางแห่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงเผยแพร่ทางโลกไซเบอร์จนถึงทุกวันนี้ Plandemic เป็นชุดสารคดีไตรภาคที่พยายามอ้างว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่มีการวางแผนล่วงหน้า โดยสารคดีตัวปฐมบทได้แก่ Plandemic : The Hidden Agenda Behind Covid-19 สารคดีความยาว 26 นาที เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 รูปแบบของ Plandemic 1 เน้นเนื้อหาจากบทสัมภาษณ์ระหว่าง มิกกี วิลลิส อดีตนายแบบและนักแสดงที่ผันตัวมาเป็นนักสร้างสารคดีแนวทฤษฎีสมคบคิด และ จูดี ไมโควิตส์ นักวิจัยผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน Fact Checker หลายสำนักได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคำกล่าวอ้างของ จูดี ไมโควิตส์ ในหลายประเด็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : LACKBITIC ? — จุดเริ่มต้นข่าวลวง หลอกล่อให้หลงคลิก

13 เมษายน 2567 – สิ่งนี้…ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลข่าวสารปลอม หรือบิดเบือนได้ และสิ่งนี้… พบว่า ปรากฏบนสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน เป็นจำนวนมาก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เจ็บตาเหมือนมีเข็มทิ่มตา

14 เมษายน 2567 – เจ็บตาเหมือนมีเข็มทิ่มตา เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระดาษชำระ สาเหตุมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ ?

15 เมษายน 2567 – บนโซเชียลแชร์ข่าวจากต่างประเทศ พาดหัวว่า ใช้ทิชชู่ผิด ๆ เป็นมะเร็ง นักศึกษาอายุแค่ 20 แต่เป็นมะเร็งปากมดลูก ชี้สาเหตุมาจาก “กระดาษชำระ” ที่เลือกใช้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 29 มีนาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ร้อนใน แผลในปาก จริงหรือ ?

17 เม.ย. 67 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้ร้อนใน ทั้งการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เปลี่ยนยาสีฟัน เลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงการกินขิงและกระเทียมจะช่วยให้หายเร็วขึ้น ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดยาดมอันตราย จริงหรือ ?

18 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เตือน ใช้ยาดมผิดอันตรายต่อระบบประสาท ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ ให้ใช้เฉพาะตอนเป็นหวัด คัดจมูก และเวียนศีรษะเท่านั้น ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 36 37 38 39 40 277
...