ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

โอกาสของการใช้ยา “ซูรามิน” รักษาออทิสติก ?

19 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการออทิสติกให้หายขาด แต่มีนักวิจัยที่พบความเป็นไปได้ของการใช้ยาซูรามิน (Suramin) เพื่อรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติก นำไปสู่การวิจัยศึกษาสรรพคุณของยาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวิจัยส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลองขั้นต้นและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย ปัจจุบันจึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ยาซูรามินสามารถใช้รักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงใด ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคออทิสติก และเตือนถึงอันตรายของการใช้ยารักษาผู้ป่วยออทิสติกอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี FDA ได้อนุมัติยาสำหรับรักษาอาการข้างเคียงของโรคออทิสติก ทั้งอาการกระตือรือร้นมากเกินไปหรือการขาดสมาธิ เช่น การใช้ยาระงับอาการทางจิตเพื่อบรรเทาอาการฉุนเฉียวง่ายของผู้ป่วยโรคออทิสติก งานวิจัยการใช้ยาซูรามินปี 2017 แต่เดิม ยาซูรามิน (Suramin) ถูกใช้สำหรับรักษาโรคพยาธิตาบอด (Onchocerciasis) และโรคเหงาหลับ (African Trypanosomiasis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ข้อความอ้างถึงสรรพคุณของยาซูรามินในการรักษาโรคออทิสติก ที่สามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกสามารถพูดได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์อ้างงานวิจัยปี 2017 ที่พบว่าการใช้ยาซูรามินสามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า ผู้ป่วยโรคออทิสติกจะมีการทำงานของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตหรือ ATP มากผิดปกติ ซึ่งสารดังกล่าวทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ ดังนั้นความสามารถในการจำกัดการทำงานของ ATP ของยาซูรามิน อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคออทิสติกมีอาการดีขึ้น […]

ใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ ทารกเสี่ยงเป็นออทิสติกแค่ไหน ?

18 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา การศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34% ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์ของไข่ขาว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำ 10 ประโยชน์ของไข่ขาว เช่น การเสริมสร้างร่างกาย ไม่มีไขมัน อุดมด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ร่างกายดูดซึมได้ 100% จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดร.อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริง แต่บางข้ออาจจะต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม ข้อ 1. ไข่ขาวช่วยทำให้ฮอร์โมน หรือเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น ? เรื่องจริง… ในไข่ขาวมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดอะมิโนชื่อ ไลซีน (Lysine) จะช่วยผลิตฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ลิวซีน (Leucine) กับ วาลีน (Valine) สองตัวนี้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ข้อ 2. ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ 100% สูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ ? เรื่องนี้จะเป็นค่าที่มีการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เป็นการวัดคุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน หรือว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ‘สปอโรทริโคสิส’ โรคเชื้อราในแมวที่ติดต่อสู่คน

“สปอโรทริโคสิส” โรคจากเชื้อราพบในแมว มีการพบในคนมากขึ้น อันตรายต่อคนหรือไม่ รักษาได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พ.ต.ต.หญิง รศ.พญ.เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล อาจารย์ประจำภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis) เป็นโรคเชื้อราที่ทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง เชื้อราชนิดนี้จริง ๆ ก็เป็นเชื้อราตามธรรมชาติ อยู่ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ต่าง ๆ โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส ในต่างประเทศมีการตั้งชื่อว่า Rose gardener’s disease เป็นเชื้อราที่มีข้อมูลว่าคนทำสวนถูกหนามบาด หนามทิ่ม แล้วก็เกิดโรคนี้ขึ้นมา ในประเทศไทย “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” พบได้บ่อยในแมว ? สำหรับประเทศไทย โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสพบได้น้อยในคน ข้อมูลจากสัตวแพทย์พบว่ามีสัตว์เลี้ยงติดเชื้อราสปอโรทริโคสิสทุกวัน โดยเฉพาะแมว ถือว่าโรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสเป็นโรคประจำของหมาแมวก็ได้ มีแนวโน้มพบ “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” ในคนมากขึ้น ? ข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ย้อนหลัง 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มี 10 ราย แสดงว่าที่ผ่านมา 1-2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เมล็ดมะละกอกินได้ มีประโยชน์มากมาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่าเมล็ดมะละกอสามารถกินได้ และมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร. จิรายุ หลายนามเพ็ชร อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมล็ดมะละกอสามารถกินได้จริง มีการกินเมล็ดมะละกอกันจริง ๆ ในบางประเทศ ในโซนเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย ก็มีการกินเมล็ดมะละกอเป็นยารักษาโรค ซึ่งตรงนี้เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้น ยังมีบางประเทศในทวีปแอฟริกา อย่างเช่น ประเทศไนจีเรีย มีการนำเมล็ดมะละกอมาหมักใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารได้ด้วย เมล็ดมะละกอ : สุขภาพของไตดีขึ้น? ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยเรื่องการกินเมล็ดมะละกอกับสุขภาพไตที่ทำการศึกษาในมนุษย์ เพราะมีเพียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ในสัตว์ทดลองเท่านั้น และพบได้ค่อนข้างน้อยด้วย เมล็ดมะละกอ : เพิ่มสุขภาพตับ ? ประเด็นนี้คล้ายการกินเมล็ดมะละกอกับสุขภาพไต เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีงานวิจัยที่บ่งบอกว่าการกินเมล็ดมะละกอจะช่วยเรื่องการทำงานของตับหรือเปล่า พบงานวิจัยบางประเด็นในสัตว์ทดลองเท่านั้น และผลที่ออกมายังมีความขัดแย้งกันอยู่พอสมควร เมล็ดมะละกอ : มีสารไอโซไทโอไซยาเนต ช่วยฆ่ามะเร็ง ? ตัวเมล็ดมะละกอมีสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) และมีงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ของสารสกัดตัวนี้ กับการจัดการของเซลล์มะเร็งได้ด้วย โดยพบว่าสารไอโซไทโอไซยาเนตที่พบในเมล็ดมะละกอ มีคุณสมบัติฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยในมนุษย์มายืนยันปริมาณการกินเมล็ดมะละกอ ที่จะส่งผลจัดการเซลล์มะเร็งในร่างกายของคนเรา เมล็ดมะละกอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยง

บนสื่อสังคมออนไลน์มีคำเตือนและข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการในสัตว์เลี้ยงที่เรียกว่า “ฮีตสโตรก” ข้อเท็จจริง รายละเอียด และคำแนะนำเรื่องนี้เป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฮีตสโตรก (Heat Stroke) หมายถึง การที่อุณหภูมิของสัตว์เลี้ยงไปมีผลหยุดหรือทำลายกระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายของตัวสัตว์ (ในคนก็เกิดได้) การที่สัตว์ได้รับความร้อนสะสมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น วันที่อากาศร้อนมาก สัตว์เลี้ยง และ/หรือ สุนัข ถูกผูกหรือขังกรงไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงหลายชั่วโมง ตัวเจ้าของมีภารกิจหลายอย่างต้องทำและก็ลืมไปเลยว่าสัตว์เลี้ยงอยู่บริเวณที่แสงแดดส่องถึงและมีความร้อนสะสมด้วย ผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่งสัตว์เลี้ยงจะเริ่มมีอาการมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งทนไม่ได้ อาการฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไร ? อาการเริ่มต้นของฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยงที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนก็คือ หายใจแรงขึ้น (เรียกว่าหอบก็ได้) หายใจลำบาก อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว กระหายน้ำมาก บางตัวถ้าดูแลไม่ทันก็หมดสติ อาจจะชัก โคม่า และเสียชีวิตได้ สำหรับสุนัขสังเกตดูได้เลย จะพบว่าลิ้นแดง แต่เหงือกซีด ตัวที่เป็นฮีตสโตรกน้ำลายจะเหนียว เพราะขาดน้ำ อาการต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :หินปูนในเยื่อบุตา

หินปูนใต้เปลือกตาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะหินปูนเกาะบริเวณเยื่อบุตาด้านในพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเคืองตา ซึ่งในหลายคนอาจจะมีอาการเคืองตา แต่ไม่ได้ไปรับการตรวจ อาจจะเข้าใจว่ามีเศษฝุ่นปลิวเข้าตา หรือเคืองตาจากโรคตาแห้ง หินปูนหรือไขมันแข็ง ๆ ที่สะสมอยู่บริเวณเยื่อบุตาด้านใน ไม่ได้เป็นหินปูนหรือเศษฝุ่นที่ปลิวมาจากข้างนอก แต่เกิดจากการสะสมของหินปูนหรือไขมันที่ล่องลอยมาในเลือด และมาสะสมบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุตาด้านใน หินปูนเยื่อบุตาหรือนิ่วเยื่อบุตา (conjunctival concretion) มี 2 แบบ คือ แบบแข็ง (แคลเซียม หินปูน) และ แบบอ่อน (ก้อนไขมัน) ซึ่งสามารถพบได้ทั้ง 2 แบบ กรณีเป็นแคลเซียมที่มาสะสมอยู่จะทำให้เกิดอาการเคืองมากกว่าแบบอ่อน (ก้อนไขมันนิ่ม ๆ) คนกลุ่มไหนที่พบหินปูนในเยื่อบุตา ส่วนใหญ่พบภาวะหินปูนเกาะตาในผู้สูงอายุ เพราะอาจมีอาการอักเสบเรื้อรังบริเวณเยื่อบุตา หรืออาจจะพบในคนอายุน้อยก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิแพ้ขึ้นบริเวณดวงตา คือมีอาการคันตาเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มานานแล้ว ก็จะทำให้เกิดความเสียหายของเยื่อบุตาบริเวณด้านในจึงทำให้เกิดการสะสมของหินปูน ระยะแรกการสะสมของหินปูนจะอยู่ลึก ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิตามินดีในเห็ด

“เห็ด” มีวิตามินดีมากแค่ไหน และถ้านำเห็ดไปตากแดด จะทำให้วิตามินดี “เพิ่มขึ้น” จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิตามินดี 3 (Vitamin D3; Cholecalciferol) วิตามินที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เอง จากการถูกกระตุ้นด้วยรังสี UVB ในแสงแดด หรือได้จากการกินอาหารบางชนิด วิตามินดี 2 (Vitamin D2; Ergocalciferol) ร่างกายคนเราได้รับจากการกินอาหารเท่านั้น วิตามินดีจากปลา (วิตามินดี 3) และเห็ด (วิตามินดี 2) มีลักษณะคล้ายกัน เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ได้ จากการศึกษาเห็ดที่นิยมกินในประเทศไทย พบว่าเห็ดที่มีปริมาณวิตามินดีสูงสุด คือ เห็ดนางฟ้า (Lung Oyster mushroom) ประมาณ 15 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งร่างกายคนเราต้องการ 15 ไมโครกรัม ก็ถือว่าเพียงพอ ถ้ากินเห็ดนางฟ้า 100 กรัม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และใครที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะนี้ได้บ้าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “จอประสาทตา” เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของลูกตา เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่รับภาพและส่งกระแสประสาทเข้าไปในสมอง “จอประสาทตา” จะต้องอยู่ชิดหรือแนบกับผนังของลูกตา กรณีที่เกิดโรคจอประสาทตาหลุดลอก จะทำให้จอประสาทตาหลุดลอกออกมา จอประสาทตาหลุดลอก เกิดจากสาเหตุอะไร ? สาเหตุที่ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก เกิดจาก 3 กรณี 1. เกิดรูฉีกขาด ทำให้น้ำในวุ้นลูกตาไปเซาะจอประสาทตาหลุดออกจากผนังลูกตา ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากอุบัติเหตุของดวงตาได้ โดยการเกิดรูฉีกขาดจะมีอาการเตือนนำมาก่อน หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์จากน้ำวุ้นลูกตาที่อยู่ด้านในติดจอประสาทตา เกิดตะกอนขึ้นมา มองเห็นเป็นจุด เป็นหยากไย่ลอยไปลอยมา ทำให้มองเห็นสิ่งเหล่านี้เป็น ๆ หาย ๆ อาการเตือนว่าจะเกิดอันตรายกับจอประสาทตา คือภาวะที่ตะกอนไปดึงกระชากจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีแสงเหมือนฟ้าแลบ ทางการแพทย์เรียกว่า Flashing 2. การดึงรั้งของวุ้นลูกตา ทำให้จอประสาทตาฉีกขาดแล้วหลุดออกมา หรือทำให้จอประสาทตาหลุดออกมาทั้งหมดก็ได้ กรณีจอประสาทตาถูกดึงรั้งด้วยวุ้นลูกตา พบได้บ่อยในคนที่มีปัญหาเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา)  3. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือหลอดเลือดบริเวณจอประสาทตาผิดปกติ ทำให้มีน้ำหรือโปรตีนรั่วออกมาจากหลอดเลือดและไปดันจอประสาทตาหลุดลอกได้ […]

ชะตากรรมแพทย์ผู้ถูกยึดใบอนุญาต จากข้ออ้างวัคซีนคือสาเหตุออทิสติก

16 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล งานวิจัยที่เกี่ยวกับวัคซีนและโรคออทิสติกที่โด่งดังที่สุด คือผลงานของ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ อดีตแพทย์ชาวอังกฤษ เจ้าของงานวิจัยสุดอื้อฉาวที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อปี 1998 โดยอ้างว่า การฉีดวัคซีน MMR หรือวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และ หัดเยอรมัน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิสติก แม้การวิจัยซ้ำในแวดวงวิทยาศาสตร์จะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง แต่ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ยังเรียกร้องผ่านสื่อ ให้มีการยุติการฉีดวัคซีน MMR โดยทันที โดยย้ำว่าวัคซีน MMR คือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก นำไปสู่ความกังวลต่อการฉีดวัคซีน MMR ในสังคม ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหัดในหลายพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว ภายหลังในปี 2004 หนังสือพิมพ์ Sunday Times ได้รายงานว่า แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ปกปิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการวิจัยวัคซีน MMR กับโรคออทิสติก การสืบสวนพบว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยของแอนดรูว์ เวคฟิลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าในประเทศไทยมีการพบโรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ โรคนี้เป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศว่าประเทศไทยพบโรคอุบัติใหม่ ชื่อ“ลัมปีสกิน” เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus ที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และรายงานอย่างเป็นทางการปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 06 3225 6888 “ลัมปีสกิน” คือโรคอะไร ? “ลัมปีสกิน” เป็นโรคติดเชื้อในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง โค (วัว) กระบือ (ควาย) และสัตว์ป่าบางชนิด เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus (LSD) […]

1 37 38 39 40 41 277
...