fbpx

ขยายมาตรการบรรเทาผลกระทบสายการบินจาก COVID-19

กรุงเทพฯ 13 ม.ค. – “ศักดิ์สยาม” นั่งหัวโต๊ะประชุม กบร. ขยายมาตรการบรรเทาผลกระทบสายการบินจาก COVID-19 ในไตรมาส 1/65 หลังโอไมครอนระบาดหนัก ส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในช่วงปลายปี 64 กลับชะลอตัวลงอีกเป็นระลอกที่ 5


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ระบุว่า ที่ประชุมมีมติขยายระยะเวลามาตรการลดค่าใช้จ่ายและมาตรการทางการเงิน ในไตรมาสที่ 1/2565 เพื่อบรรเทาผลกระทบกับสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เห็นชอบให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบิน ที่ได้ดำเนินการมาจนถึงสิ้นปี 2564 ต่อเนื่องไปอีก 1 ไตรมาส เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น หลัง COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอนระบาดหนัก จนคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในช่วงปลายปี กลับชะลอตัวลงอีกเป็นระลอกที่ 5 เร่งระดมมาตรการด้านปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายสายการบินอีกทาง พร้อมทั้งนำผลการศึกษาแนวทางของประเทศต่างๆ มาปรับปรุงมาตรการให้สามารถช่วยพยุงการดำเนินงานของสายการบินได้เต็มที่ทุกรูปแบบ ประกอบด้วย

  1. มาตรการด้านการลดค่าใช้จ่ายของสายการบิน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ดำเนินมาตรการลดค่าใช้จ่ายของสายการบินที่ใช้บริการสนามบินของ ทอท. โดยขยายระยะเวลาปรับลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน (Landing Charge) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ลงอัตราร้อยละ 50 ทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ สำหรับสายการบินที่ยังทำการบินอยู่ และยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) สำหรับสายการบินที่หยุดให้บริการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565      


  1. มาตรการทางการเงิน

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ขยายระยะเวลาชำระหนี้ (Credit Terms) ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ จาก 15 วัน เป็น 90 วัน จนถึงรอบชำระวันที่ 31 มีนาคม 2565 ด้านกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราค่าเช่าสำหรับทุกกิจกรรม ในอัตราค่าเช่าไม่ต่ำกว่าที่กรมธนารักษ์กำหนด เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565)                  
ส่วน ทอท. เลื่อนชำระค่าบริการสนามบิน (Landing and Parking Charges) และค่าเครื่องอำนวยความสะดวก (Aircraft Service Charge) สำหรับงวดชำระเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 ออกไปงวดละ 9 เดือน และให้ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 12 งวดชำระ

นอกจากมาตรการเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและมาตรการที่เกี่ยวข้องทางการเงินโดยตรงแล้ว ประธาน กบร. ยังมอบนโยบายให้ CAAT ประสานหน่วยงานผู้ให้บริการทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เช่น ทอท. ทย. และผู้ดำเนินการสนามบินทุกราย รวมทั้งบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อให้แต่ละเที่ยวบินสามารถลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สายการบินประหยัดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนหลักได้อีกทางหนึ่ง และให้ CAAT ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน เพื่อเตรียมมาตรการรองรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และช่วยสายการบินให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังให้ CAAT มีมาตรการดูแลบุคลากรด่านหน้าทางการบิน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสให้มากที่สุด กบร. ยังสั่งการให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินมาตรการ จัดทำแผนบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ เพราะจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย


สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินในช่วงไตรมาสที่ 4/2564 ที่ผ่านมา สถิติจำนวนผู้โดยสารในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเฉลี่ย 6 เท่า โดยจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มการติดเชื้อภายในประเทศลดลง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้การเดินทางภายในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ส่วนการเดินทางระหว่างประเทศ มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า จากไตรมาสก่อนหน้า จากนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เรือสินค้าชนสะพานพังในสหรัฐ

บัลติมอร์ 26 มี.ค.- สื่อในสหรัฐรายงานว่า เกิดเหตุเรือสินค้าชนสะพานสำคัญในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ทำให้สะพานพังลงไปในแม่น้ำ เว็บไซต์บิสซิเนสส์ อินไซเดอร์รายงานว่า มีผู้โพสต์คลิปผ่านเอ็กซ์ (X) ในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาสหรัฐ เป็นภาพเหตุการณ์ขณะที่เรือลำใหญ่ชนกับคานรองรับของสะพานฟรานซิส สกอตต์ คีย์ (Francis Scott Key Bridge) เห็นกลุ่มควันลอยขึ้นจากเรือ จากนั้นสะพานได้ทยอยพังลงไปในแม่น้ำ ขณะที่สำนักงานเครื่องกลเบย์แอเรียถ่ายทอดสดทางยูทูบเมื่อเวลา 01:28 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น เห็นเรือลำใหญ่ชนสะพานดังกล่าว จากนั้นเมื่อเวลา 03:00 น.เห็นโครงสร้างสะพานแตกเป็นส่วน ๆ และจมอยู่ในแม่น้ำ บิสซิเนสส์ อินไซเดอร์ได้ตรวจสอบแผนที่การเดินเรือในเว็บไซต์เวสเซิล ไฟน์เดอร์ (VesselFinder) พบว่า เมื่อเวลา 02:50 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น เรือดาลี (Dali) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสินค้าติดธงชาติสิงคโปร์ ยังคงจอดนิ่งอยู่ใต้สะพาน สะพานแห่งนี้เปิดใช้งานเมื่อเดือนมีนาคม 2520 มีความยาวทั้งหมด 2,632.3 เมตร.-814.-สำนักข่าวไทย

ศาลยกฟ้อง “ชวน หลีกภัย” หมิ่นประมาท “ทักษิณ”

“ชวน” อดีตนายกรัฐมนตรี เผยศาลยกฟ้องคดี “ทักษิณ” ฟ้องหมิ่นประมาท ชี้มีสิทธิ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่ได้ประสบมาเพราะเป็นนักการเมืองและเป็นอดีตนายกรัฐมนต

“ทนายตั้ม” แฉเส้นทางเงินเว็บพนันโยง “ส่วยตัวท็อป” น็อก “บิ๊ก ตร.”

“ทนายตั้ม” นายษิทรา เบี้ยบังเกิด ตั้งโต๊ะเปิดหลักฐานแฉขบวนการส่วยตัวท็อปแบบม้วนเดียวจบ โยงบิ๊กตำรวจรับเงินเว็บพนัน

ข่าวแนะนำ

ให้ประกันตัว “จักรภพ” นัดพบพนักงานสอบสวน 22-23 เม.ย.

ตำรวจกองปราบฯ อนุญาตประกันตัว “จักรภพ เพ็ญแข” วางหลักทรัพย์ข้อหาละ 200,000 บาท นัดหมายพบพนักงานสอบสวน 22-23 เม.ย.นี้

“ทนายตั้ม” มอบหลักฐานแฉเส้นทางการเงินเว็บพนันโยง “บิ๊ก ตร.” ให้ “บิ๊กเต่า”

“ทนายตั้ม” นายษิทรา เบี้ยบังเกิด นำหลักฐานมอบให้กับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หลังออกมาแฉเส้นทางการเงินเว็บพนันโยงถึงบิ๊กตำรวจ

“จักรภพ เพ็ญแข” ถึงกองปราบฯ รายงานตัวตามหมายจับ

“จักรภพ เพ็ญแข” ถึงกองปราบฯ รายงานตัวตามหมายจับคดีครอบครองอาวุธปืน -อั้งยี่ เมื่อปี 2560 ด้านทนายความเตรียมหลักทรัพย์ 2-3 แสนบาทต่อคดี ไว้ยื่นประกันตัวในชั้นสอบสวน

พบร่างเหยื่อสะพานถล่มแล้ว 2 ราย

ทีมนักประดาน้ำสหรัฐ พบร่างผู้เสียชีวิตจากเหตุสะพานพังถล่มในเมืองบัลติมอร์ แล้ว 2 ราย เป็นคนงานชาวเม็กซิโกและชาวกัวเตมาลา