ธปท. พร้อมให้แบงก์ยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูฯ ช่วยเอสเอ็มอี

กรุงเทพฯ 21 เม.ย. – ธปท. พร้อมให้แบงก์ยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูฯ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี วันที่ 26 เม.ย. นี้ ขณะที่การพักทรัพย์พักหนี้ ยืนยันไม่กดราคา


น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอกู้เงินจาก ธปท. ตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อฟื้นฟูและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ) ได้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ (1) มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท และ (2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้)  วงเงิน 100,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท เป็นมาตรการเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ เพื่อดูแลประคับประคองกิจการ รักษาอัตราการจ้างงาน เพื่อไม่ส่งผลกระทบกับศักยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว


สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ คือ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีสถานประกอบการ และ ประกอบธุรกิจในไทยเป็นลูกหนี้เดิม ที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท และ ไม่เป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ 31 ธ.ค. 62 หรือ เป็นลูกหนี้ใหม่ ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง

ขณะเดียวกันจะต้องไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ยกเว้น ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai รวมถึงต้องไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินด้วย เนื่องจากต้องการให้เงินไปสู่ผู้ประกอบธุรกิจที่แท้จริง

ส่วนวงเงินที่ได้รับสินเชื่อหากเป็นลูกหนี้เดิม จะขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินในแต่ละสถาบันการเงิน แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท จากเดิมขอกู้ได้ 20% ทั้งนี้ หากเคยได้รับสินเชื่อ Soft loan ให้นับรวมด้วย ขณะที่ลูกหนี้ใหม่ สามารถขอกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยให้นับรวมวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน  ซึ่งมาตรการนี้จะมีระยะเวลาการให้สินเชื่อ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน5% ต่อปี โดย 6 เดือนแรก รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ และ 2 ปีแรกของสัญญาให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี และสถาบันการเงินจะต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัดในช่วง 5 ปี


ด้านมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้)  วงเงิน 100,000 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีทรัพย์สินที่สามารถตีโอนชำระหนี้ได้และมีศักยภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการลดภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว มีโอกาสในการกลับมาดำเนินธุรกิจในอนาคต ไม่ถูกกดราคาทรัพย์สิน (fire sale)  ส่วนคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยมีสถานประกอบการ และ ประกอบธุรกิจในไทย เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มี.ค.64 และไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธ.ค.62 และไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน

สำหรับเงื่อนไขในสัญญาลูกหนี้ หรือ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิซื้อคืนได้ภายในเวลา 3 – 5 ปี นับแต่วันที่รับโอน สถาบันการเงินต้องไม่ขายทรัพย์สินที่รับโอน เว้นแต่ได้รับแจ้งว่าจะไม่ใช่สิทธินี้แล้ว ขณะเดียวกัน ลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์ สามารถเช่ากลับ เพื่อนำไปประกอบธุรกิจต่อไป โดยแจ้งความประสงค์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สถาบันการเงินรับโอนทรัพย์รวมถึงสถาบันการเงินจะนำค่าเช่าที่ได้รับ หักจากราคาขายคืน

อย่างไรก็ตาม หากผู้เช่าทำทรัพย์สินเสียหาย ชำรุด เสื่อมค่า อาจไม่ได้รับสิทธิในการซื้อคืนขณะเดียวกัน หากมีการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้น สิทธิซื้อคืนยังคงเดิม เว้นแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาจนสถาบันการเงินยกเลิกสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แต่ยังคงให้สิทธิลูกหนี้แสดงเจตนาว่าจะซื้อคืนภายใน 30 วัน ทั้งนี้ หากรับโอนทรัพย์แล้วยังมีหนี้คงค้างให้สถาบันการเงินพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมด้วย

ขณะที่ราคาซื้อคืนนั้น จะต้องไม่เกินราคาที่สถาบันการเงินรับโอนบวกกับค่าใช่จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี บวกกับค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้นจริง ลบด้วยค่าเช่าที่ได้รับจากลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์ระหว่างสัญญา โดยธุรกรรมนี้จะได้รับยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์ ทั้งขาที่โอนให้สถาบันการเงินและขาซื้อคืนของลูกหนี้และเจ้าของทรัพย์

อย่างไรก็ดีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ยอมรับว่า ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า