มั่นใจต่อการดำเนินงานของ “ทุนหมุนเวียน” ได้อย่างไร?

24 มิ.ย. – ตอนที่แล้วได้เล่าถึงที่มาและความสำคัญของ “ทุนหมุนเวียน” ซึ่งเป็นการดำเนินงานในรูปแบบของเงินนอกงบประมาณ ไม่ต้องนำส่งรายได้จากการดำเนินงานเป็นรายได้แผ่นดินนั้น แม้ว่าทุนหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ในการดำเนินนโยบายด้านการคลัง เพื่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมสวัสดิการสังคม การกระจายรายได้ และเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านอื่นๆ


อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้ส่วนราชการสามารถเก็บเงินนอกงบประมาณประเภททุนหมุนเวียนไว้ใช้จ่ายหมุนเวียนได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเงิน ของทุนหมุนเวียนที่ขาดประสิทธิภาพ หรือผิดวัตถุประสงค์อันจะส่งผลให้การบริหารเงินแผ่นดินในภาพรวมขาดความต่อเนื่อง ขาดประสิทธิภาพในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล

และเพื่อให้การดำเนินงานของทุนหมุนเวียนเหล่านี้ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 จึงให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และทุนหมุนเวียนที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติเรื่องการประเมินผลไว้เป็นการเฉพาะเป็นประจำทุกปี โดยต้องประเมินในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.ด้านการเงิน
2.ด้านการปฏิบัติการ
3.ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.ด้านการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน
5.ด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง
6.ด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางกำหนดให้กองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ เป็นหน่วยงานหลัก โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ
2.กำกับดูแลและบริหารเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ เป้าหมาย และแนวทางการพิจารณาการเรียกนำส่งเงินนอกงบประมาณเป็นรายได้แผ่นดิน รวมทั้งการกำกับติดตามการนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน
3.ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณ
4.จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลเงินนอกงบประมาณของประเทศ ประมวลข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์รายงานผลการบริหารเงินนอกงบประมาณ
5.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ และการพิจารณาอนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปี หรือประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติมของทุนหมุนเวียน และการขอทำความตกลงในการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ
6.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การแต่งตั้ง และการกำกับดูแลกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังและกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณ
7.ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารทุนหมุนเวียน การจัดตั้ง การติดตามประเมินผล การทบทวนประสิทธิภาพ และการรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียนของหน่วยงานของรัฐ
8.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ใครเป็นผู้ติดตามการดำเนินงาน “ทุนหมุนเวียน” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
และเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 กำหนด กองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ ได้กำหนดกลไกในการกำกับและติดตามการปฏิบัติงานของทุนหมุนเวียน ผ่านคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1.คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
2.คณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
3.คณะอนุกรรมการตัดสินรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น

ใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวชี้วัด
กรมบัญชีกลางดำเนินการกำกับและติดตามการดำเนินงานทุนหมุนเวียน โดยการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเกณฑ์วัด และจัดทำเป็นบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี โดยมีการประเมินผลระดับคะแนนตั้งแต่ 1-5 ผ่านการกำหนดตัวชี้วัดใน 6 มิติ ประกอบด้วย
1.ด้านการเงิน ประเมินผลการดำเนินงานเพื่อสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการจัดเก็บรายได้ การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการปริมาณสินค้าคงเหลือ การจัดเก็บหนี้ การบริหารค่าตอบแทนจากการลงทุน การบริหารค่าใช้จ่ายของทุนหมุนเวียน เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเงิน


2.ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินผลการดำเนินงานที่สะท้อนผลลัพธ์ในการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุนหมุนเวียน เช่น ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของเกษตรกรที่ลดลง การประหยัดเวลาของผู้ใช้บริการ (เช่น เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการบริหารท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ – กองทัพเรือ) ร้อยละของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินภายใน 8 นาที เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจต่อการให้บริการ การแก้ไขปัญหา/การจัดการข้อร้องเรียน การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการที่สอดคล้องกับผลสำรวจความพึงพอใจ เป็นต้น

3.ด้านการปฏิบัติการ ประเมินผลการดำเนินงานที่สะท้อนถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานตามภารกิจ ผลลัพธ์ และผลกระทบจากการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นการกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจของทุนหมุนเวียน เช่น จำนวนผลผลิตที่ผลิตได้ จำนวนผู้ใช้บริการ จำนวนสมาชิก จำนวนโครงการ/ราย/องค์กร/หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สัดส่วนของเสียจากกระบวนการผลิต การดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด (Service Level Agreements: SLA) เป็นต้น

4.ด้านการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน ประเมินผลการดำเนินงานใน 3 ประเด็น คือ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการสารสนเทศและดิจิทัล

5.ด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง ประเมินผลการดำเนินงานใน 2 ประเด็น คือ บทบาทคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน และการบริหารทรัพยากรบุคคล

6.การดำเนินงานตามนโยบายรัฐ/กระทรวงการคลัง กำหนดเกณฑ์การประเมินผลฯ ดังนี้ การใช้จ่ายเงินตามแผนการใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติ

นอกจากการกำหนดตัวชี้วัดตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว กรมบัญชีกลางยังมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา รวมถึงสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของเงินนอกงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานของทุนหมุนเวียนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า “ทุนหมุนเวียน” ที่อยู่ในการกำกับดูแลของกรมบัญชีกลาง จำนวน 113 ทุน โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้

ในตอนหน้าจะพาไปทำความรู้จักกับกองทุนหมุนเวียน ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทย .

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี