ชัวร์ก่อนแชร์: WHO ไม่แนะนำให้เด็กฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำข้อมูลเก่าของ WHO มาบิดเบือนว่าเป็นข้อมูลอัพเดท WHO รับรองความปลอดภัยของการใช้วัคซีน Pfizer ให้กับเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป แต่ WHO ยังย้ำว่าเด็กมีความจำเป็นเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 น้อยกว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยอ้างว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนท่าทีที่มีต่อวัคซีนโควิด 19 ด้วยการแนะนำว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีนโควิด 19 ในขณะนี้ (Children should not be vaccinated for the moment) เนื่องจากไม่มีข้อมูลการทดลองวัคซีนโควิด 19 ในเด็กที่เพียงพอ จนกลายเป็นข้อความที่มีการค้นหาอย่างแพร่หลาย จนติดอันดับ Google Trends […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้วัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

6 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจสอบจากประเทศต้นทางเป็นเวลา 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีกระแสกดดันทางออนไลน์ต่อรัฐบาลไต้หวัน จากกรณีที่ไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากผู้ผลิตในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นของที่ไม่มีใครต้องการ เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายวัคซีนล็อตนั้นไปยังต่างประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac อยู่ในขั้นทดลอง ใช้กับผู้สูงอายุไม่ได้ จริงหรือ?

5 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีน Sinovac ผ่านการทดลองกับอาสาสมัครหลายพันคนและได้รับการอนุมัติจาก WHO วัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลที่ดีกับผู้สูงอายุ แม้ประสิทธิผลจะลดลงตามอายุของผู้รับวัคซีนที่มากขึ้นก็ตาม ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านคลิปเสียงใน WhatsApp โดย โรแบร์โต เคราส์ ผู้อ้างว่าเป็นนักไวรัสวิทยาจากโรงพยาบาล Albert Einstein Hospital ประเทศบราซิล ที่กล่าวหาว่าวัคซีน Sinovac ถูกนำมาใช้ในบราซิลทั้งๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการทดลองและยังไม่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ยังไม่เคยทดลองกับผู้สูงอายุอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Agencia Lupa ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของประเทศบราซิล ได้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวกับ กีแลร์มี เวอร์เนค นักระบาดวิทยาและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย State University of Rio de Janeiro (UERJ) โดยแยกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สวีเดนติดเชื้อโควิด 19 หลังฉีดวัคซีนแล้ว 6,000 คน จริงหรือ?

4 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำตัวเลขผู้ติดเชื้อมาสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 สาธารณสุขสวีเดนเผยว่ามีผู้รับวัคซีนโควิด 19 จำนวน 1 โดส แล้วกลับมาติดเชื้อ 0.3% ส่วนผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดสกลับมาติดเชื้อแค่ 0.2% เท่านั้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่ามีชาวสวีเดนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว แต่กลับมาติดเชื้อกว่า 6,000 คน พร้อมอ้างว่าเชื้อไวรัสที่อยู่ในวัคซีนคือสาเหตุให้ผู้รับวัคซีนติดเชื้ออีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลทางสถิติมาจงใจสร้างความกังวลและความไม่ไว้ใจต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขสวีเดนที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม โดยระบุว่าในจำนวนผู้รับวัคซีนโควิด 19 ปริมาณ 1 โดสไปแล้วกว่า 2 ล้านคน มีคนที่ติดเชื้อโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 3 ส.ค. 64 อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จ

พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ :🔎  นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.🔎 ทีมงาน “เราช่วยกัน” เว็บไซต์ภาคประชาชน ช่วยค้นหาจุดตรวจโควิดง่าย ๆ : ผู้ดูแลเว็บไซต์ https://wheretotestcovid19.com/🔎 UPDATE ภูมิคุ้มกัน รู้ทันหลากหลาย ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ วันและเวลาในการรับชม : วันอังคาร ที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 18.30 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://youtu.be/x_izYyRgT1Y 00:00 เปิดรายการ10:00 แนะนำเว็บไซต์ “เราช่วยกัน” การหาข้อมูลจุดตรวจโควิด28:00 ตอบคำถามข้อสงสัยจากคอมเมนต์35:00 เมื่อติดโควิดติดต่อ ทางช่องทางใดได้บ้าง1:28:00 เข้าช่วงชัวร์ก่อนแชร์ LIVE UPDATE2:00:07 แนะนำผลิตภัณฑ์ของชัวร์ก่อนแชร์ หมายเหตุ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อินเดียเปิดประเทศหลังหยุดฉีดวัคซีน แล้วใช้ Ivermectin จริงหรือ?

3 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ช่วงปลายเดือนมิถุนายน อินเดียยังมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 เฉลี่ยวันละ 5 หมื่นคน และมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตลอดทั้งเดือนกว่า 100 ล้านโดส สาธารณสุขอินเดียยกเลิกการใช้ Ivermectin รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่อาการไม่รุนแรงและผู้ป่วยไม่มีอาการ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่าน WhatsApp ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าสาเหตุที่อินเดียเปิดให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยี่ยมชมทัชมาฮาล สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศอีกครั้ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้รับการควบคุมแล้ว หลังจากอินเดียชะลอการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน แล้วหันมาใช้ยาทางเลือกอย่าง Ivermectin ในการรักษา จนจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อมูลของ Agencia Lupa ยืนยันได้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศอินเดียยังไม่อาจควบคุมได้ตามที่กล่าวอ้าง และอัตราการติดเชื้อที่ลดลงไม่ใช่ผลมาจากการใช้ยาฆ่าพยาธิชนิด Ivermectin […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเสียชีวิต จริงหรือ?

30 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ธ มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน อาการข้างเคียงจากการใช้ยาไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย โดยอ้างว่าวัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน ที่มีโอกาสทำให้ผู้รับยาเกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น แม้แต่ยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับคนที่แพ้ยาชนิดนี้ การพัฒนายาแต่ละชนิดมีความซับซ้อน เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน การผลิตยาเพื่อรักษาอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางครั้งการใช้ยาต่างชนิดในเวลาเดียวกัน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา มีการประเมินว่าในแต่ละปีมีชาวออสเตรเลียประมาณ 230,000 คน ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนยาปฏิชีวนะก็มีอัตราการเกิดอาการแพ้ยาประมาณ 5% ในกลุ่มประชากรทั้งหมด แม้อาการข้างเคียงของยาและวัคซีนจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงก็ไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเกือบ 200 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอินเดียรักษาโควิด 19 ด้วยการดมไอร้อนจากฉี่วัว จริงหรือ?

29 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำคลิปที่ชาวอินเดียรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ด้วยการให้สูดไอร้อนมาบิดเบือนว่าเป็นการสูดไอร้อนจากฉี่วัว การสูดไอร้อนไม่สามารถรักษาโควิด 19 ได้ และอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มากขึ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในหลายประเทศในทวีปเอเชียโดยอ้างว่า ชาวอินเดียค้นพบวิธีรักษาโควิด 19 ด้วยการฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจผ่านการสูดไอร้อนจากฉี่วัว พร้อมแสดงคลิปการรวมตัวสูดไอร้อนของชาวอินเดียตามสถานที่ต่างๆ เป็นหลักฐานยืนยัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ได้ตรวจสอบที่มาของคลิปวิดีโอต่างๆ พบว่าเป็นกิจกรรมที่ชาวอินเดียมารวมตัวเพื่อสูดไอร้อนจากท่อที่ต่อจากหม้อต้มแรงดัน ซึ่งชาวอินเดียบางกลุ่มเชื่อว่าไอร้อนจะช่วยฆ่าเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ จนมีการเปิดบาร์ไอร้อน (steam bar) ไว้บริการผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโควิด 19 ด้วยการสูดไอร้อนโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี ไม่มีคลิปไหนที่ระบุว่า น้ำที่ใช้ต้มทำไอร้อนคือฉี่ของวัว ดังนั้นการอ้างว่าชาวอินเดียคิดค้นวิธีรักษาโควิด 19 ด้วยการดมไอร้อนจากฉี่วัวจึงไม่เป็นความจริง ส่วนการสูดไอร้อนก็ไม่สามารถรักษาโรคโควิด 19 ด้วยเช่นกัน หลู่มินจี ศาสตราจารย์ภาควิชาโรคติดต่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การสูดไอร้อนสามารถฆ่าไวรัสโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

28 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newsmeter (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO และ CDC ยืนยันว่าการสูดไอร้อนไม่สามารถฆ่าไวรัสโควิด 19 ได้ และอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ WhatsApp ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าไวรัสโควิด 19 จะแฝงอยู่ที่โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส ผ่านไป 4 ถึง 5 วันเชื้อจะลงปอด จึงจำเป็นต้องกำจัดเชื้อที่จมูกด้วยการสูดไอร้อน โดยอุณหภูมิ 50°C จะทำให้ไวรัสเป็นอัมพาต, 60°C ทำให้ไวรัสอ่อนแอจนถูกภูมิคุ้มกันกำจัดโดยง่าย, 70°C จะทำให้ไวรัสตายทั้งหมด คนที่อยู่บ้านควรสูดไอร้อนวันละครั้ง, คนที่ออกไปซื้อของที่ตลาดต้องสูดวันละ 2 ครั้ง, คนที่พบปะผู้คนหรือทำงานนอกบ้านต้องสูดวันละ 3 ครั้ง สูดครั้งละ 5 นาทีช่วงเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เชื้อก็จะหายไปเอง FACT […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 28 ก.ค. 64 โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?

ชัวร์ก่อนแชร์ ชวนคุยในหัวข้อ โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?และหลากหลายข้อสงสัยการกินยาให้ปลอดภัยในระลอกนี้ ดำเนินรายการโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์แขกรับเชิญพิเศษ : ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) วันและเวลาในการรับชม : วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.00 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://www.youtube.com/watch?v=LK_e4lN84g8ช่องทางในการรับชม Facebook : https://fb.watch/78pmgIzpwU/ 00:00 แนะนำพื้นที่ใหม่ “ชัวร์ก่อนแชร์ Membership”02:00 เปิดรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ Live06:21 เชิญผู้เชียวชาญพูดคุยหัวข้อ “โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?”18:27 ยกตัวอย่างข่าวที่แชร์กันถึง “คำแนะนำในโรงพยาบาลกักกัน ที่สามารถนำไปใช้ที่บ้านได้”34:38 ช่วงตอบคำถามเรื่อง “การดื่มน้ำ และสูดดมไอน้ำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชิปในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด จริงหรือ?

28 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ไม่มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟ ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่ให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัวหรือมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าไมโครชิปที่อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด โดยมีคลิปวิดีโอสาธิตการจุดหลอดไฟด้วยการแนบที่ต้นแขนของผู้หญิงที่อ้างว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้ว FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Check ไม่อาจยืนยันได้ว่าผู้หญิงที่อยู่ในคลิปวิดีโอเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ยังไม่พบว่าส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟตามที่กล่าวอ้าง ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่สามารถให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัว หลอดไฟบางชนิดยังมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ซึ่งสามารถเปิดไฟได้เพียงแค่มือสัมผัส รวมถึงหลอดไฟที่สั่งการเปิดปิดด้วยรีโมท คอนโทรล นอกจากนี้ ในอินเทอร์เน็ตยังมีคลิปวิดีโอมากมายที่สาธิตการประดิษฐ์หลอดไฟที่ให้แสงสว่างเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังอีกด้วย ข้อมูลอ้างอิง: https://voxukraine.org/nepravda-pry-kontakti-z-mistsem-vaktsynatsiyi-mozhe-zagoritys-lampa/ หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”LINE :: @SureAndShare หรือคลิก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้ร่างกายรับส่ง Bluetooth ได้ จริงหรือ?

27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไมโครชิปมีขนาดความยาว 0.5 นิ้ว ใหญ่เกินกว่าจะผ่านรูเข็มฉีดยาได้ ส่วนประกอบที่ AstraZeneca เปิดเผย ไม่มีไมโครชิปอยู่ในวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านทาง TikTok โดยผู้ที่อ้างว่าเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca บอกว่าในวัคซีนมีไมโครชิป เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ทำให้ตัวเขาเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ และมีข้อความแสดงการเชื่อมต่อที่ระบุว่า Connecting to AstraZeneca_ChAdOx1-S FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ในความเป็นจริงแล้ว ข้อความแสดงการเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสามารถตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าในวัคซีน AstraZeneca มีไมโครชิปที่ส่งสัญญาณ Bluetooth ได้ บริษัท AstraZeneca เปิดเผยส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ให้สาธารณชนสามารถสืบค้นได้ ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่มีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบอย่างที่กล่าวอ้าง […]

1 23 24 25 26 27 46