ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้สวมหน้ากากต้องสูดดมของเสียจากปอด จริงหรือ?
27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน้ากากอนามัยกรองได้แต่อนุภาคของเชื้อโรค ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ดังนั้นหน้ากากจึงไม่ทำให้ผู้สวมต้องส่งสูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ของตนเอง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยต้องสูดดมของเสียที่ออกจากปอดกลับเข้าสู่ร่างกาย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: มาเรีย เอลิซ่า คัลเล ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Complutense University of Madrid อธิบายว่าการสวมหน้ากากอนามัยไม่ทำให้เราสูดดมเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่ร่างกาย เนื่องจากหน้ากากถูกออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาคของเชื้อโรค แต่ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ส่วนที่เป็นทิชชูของหน้ากากจะปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าออกได้ ซึ่งออกซิเจนที่มนุษย์หายใจเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์เราหายใจออกล้วนเป็นแก๊ส หากหน้ากากกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในหน้ากาก ศัลยแพทย์ที่ต้องสวมหน้ากากวันละหลายชั่วโมงคงจะต้องเสียชีวิตแน่นอน ส่วนข้ออ้างที่ว่าการสวมหน้ากากเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา, แบคทีเรีย, ปรสิต และไวรัส ที่ทำให้ป่วยเป็นปอดอักเสบก็ไม่เป็นความจริง มิเกล บาร์รูโก แฟร์แรโร ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด โรงพยาบาล Clínico de Salamanca ยืนยันว่าการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อทางอ้อม ผู้สวมหน้ากากควรเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสที่ตัวกรองของหน้ากาก, ไม่ควรสวมหน้ากากนานเกิน […]