ชัวร์ก่อนแชร์: 17 ชาติในยุโรปยกเลิกการใช้วัคซีน AstraZeneca จริงหรือ?

1. หลายชาติในยุโรปเคยออกคำสั่งระงับการใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นการชั่วคราว หลังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการใช้วัคซีน
2. แต่เมื่อ WHO และ EMA ยืนยันว่าวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง หลายชาติในยุโรปจึงนำวัคซีน AstraZeneca กลับมาใช้อีกครั้ง

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนเจือปนอลูมิเนียม เป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

1. วัคซีนหลายชนิดมีเกลืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยชะลอการทำงานของสารออกฤทธิ์และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น

2. ผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันไม่พบหลักฐานว่าสารอลูมิเนียมก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Moderna มี Luciferin เจือจางกับสารละลาย 66.6 ml จริงหรือ?

1. Luciferin คือสารสร้างการเรืองแสงทางชีวภาพในหิ่งห้อย
2. FDA ยืนยันว่าไม่มี Luciferin อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ของ Moderna
3. มีแค่การใช้เอนไซม์ Luciferase ในการวิจัยไวรัสโควิด 19 เท่านั้น

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 1 ก.ย. 64 “โควิด-19 กับสตรีตั้งครรภ์”

พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” 🎯 ชวนคุยในหัวข้อ : โควิด-19 กับสตรีตั้งครรภ์🔎 โดย : นพ.พูนศักดิ์ สุชนวณิช สูตินรีแพทย์ 🎯 และอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กัน : “เจลแอลกอฮอล์” ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย ?🔎 โดย : ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ศปอส.) จุฬาฯ👉 ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการ ศปอส.👉 และ ดร.ภุชงค์ ศรีอ่วม วิศวกรความปลอดภัยในการทำงาน วันและเวลาในการรับชม : วันพุธ ที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 20.00 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://youtu.be/1z8Rf8hD7HEช่องทางในการรับชม Facebook : https://www.facebook.com/266168127080435/posts/1447387968958439/ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนมี “สารฆ่าเชื้ออสุจิ” ทำให้เป็นหมัน จริงหรือ?

1. โพลีซอร์เบต 80 และ ออกโทซินอล 10 เป็นสารที่ใช้ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเพิ่มความคงตัวในวัคซีนและขัดขวางการออกฤทธิ์ของไวรัสเชื้อตายในวัคซีน
2. ใช้ในปริมาณน้อยและไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นหมัน

ชัวร์ก่อนแชร์: ใบพลูช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

แม้สรรพคุณของใบพลูจะช่วยบรรเทาปวดและช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ WHO ยืนยันว่าการบริโภคใบพลูต้มสุกไม่สามารถรักษาการป่วยจากโควิด 19 ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เต้านมผู้หญิงใหญ่ขึ้น จริงหรือ?

1. เต้านมของผู้หญิงจะขยายตัวตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือจากการใช้ยาบางชนิด
2. วัคซีนโควิด 19 ไม่มีฮอร์โมนกระตุ้นการขยายเต้านมเป็นส่วนประกอบของวัคซีนแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: สุราสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโควิด 19 จริงหรือ?

1. WHO ยืนยันว่าสุราไม่ช่วยป้องกันโควิด 19 และยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
2. การดื่มสุราไม่ว่าจะในปริมาณเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ชัวร์ก่อนแชร์: สูบบุหรี่และกินมังสวิรัติช่วยป้องกันโควิด 19 จริงหรือ?

1. หน่วยงาน CSIR ในอินเดียยืนยันว่าผลวิจัยไม่อาจสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่และการกินมังสวิรัติช่วยป้องกันเชื้อโควิด 19
2. WHO ย้ำว่ายังไม่มีงานวิจัยที่มีบทสรุปเรื่องความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 25 ส.ค. 64 สมุนไพรจีน กับโควิด-19

พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” 🎯 ชวนคุยในหัวข้อ : สมุนไพรจีน กับโควิด-19🔎 แขกรับเชิญพิเศษ : แพทย์จีนต้นสกุล สังข์ทองแผนกอายุรกรรมทางเดินอาหาร คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว 🎯 และอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กัน : กินสมุนไพร มีผลกับตับ แค่ไหน?🔎 แขกรับเชิญพิเศษ : รศ.ดร.นพ.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันและเวลาในการรับชม : วันพุธ ที่ 25 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://www.youtube.com/watch?v=zNmEm8am1WQช่องทางในการรับชม Facebook : https://www.facebook.com/266168127080435/posts/1442621329435103/ หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” LINE :: @SureAndShare […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน จริงหรือ?

1. เป็นข้ออ้างโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวติดต่อต้านวัคซีน
2. สถาบันการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) ยืนยันไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนและโรคเบาหวานแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: สายการบินไม่รับคนฉีดวัคซีนโควิด หวั่นลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

1. หน่วยงานด้านการบินของยุโรปทั้ง IATA, EASA และ A4E ต่างสนับสนุนให้ผู้โดยสารและพนักงานของบริษัทฉีดวัคซีนโควิด 19
2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิด Economy Class Syndrome ที่เกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบิน แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19

1 21 22 23 24 25 46