ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสันมีสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มารวมกันพอเหมาะพอดี เวลามอง “ปัจจัยเสี่ยง” มีปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ กับปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ สารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเล็ก ๆ อีกหลายอย่าง เช่น มลภาวะ สิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันได้ แก้ไขได้ การป้องกันโรคพาร์กินสัน คนกลุ่มแรกที่เป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ทำงานกับการใช้สารพิษฆ่าแมลง การรับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืช หลัก ๆ ทำให้เซลล์ที่ผลิตสารโดพามีนเสื่อมลง ตายลง เมื่อสารโดพามีนลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลักเรื่องอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก ดังนั้นคนที่ใช้สารพิษฆ่าแมลงต้องป้องกันเป็นพิเศษ 1. ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืชโดยตรง สิ่งที่แนะนำคือเรื่องของการใส่อุปกรณ์ป้องกัน ให้มองถึงโอกาสที่จะรับสารพิษต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไร การเกิดโรคมีอะไรบ้าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลไกการเกิดโรคของร่างกายในทุก ๆ โรค มีทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน เมื่อเกิดโรคได้เพราะปัจจัยต่าง ๆ เสียสมดุล โดยที่ปัจจัยเสี่ยงมากกว่า สำหรับโรคพาร์กินสันเวลามองปัจจัยเสี่ยง จะต้องมองอย่างรอบด้านว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ และอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขไม่ได้” ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ตามสถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เก็บในประเทศไทย อายุเกิน 60 ปี 1 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 80 ปี 3 เปอร์เซ็นต์ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี นี่คือสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขได้” สำหรับปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสันที่แก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ 1. เรื่องของสารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) เป็นปัจจัยภายนอก ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ป้องกันและแก้ไขได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

บนสื่อสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “พาร์กินสัน” เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่า “โดพามีน” ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้ 1. อาการสั่น (Tremor) 2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity 3. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือเคลื่อนไหวน้อย (Hypokinesia) 4. เดินลำบาก มีการทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) ถือว่าเป็น 4 อาการหลักทางด้านการเคลื่อนไหว จริง ๆ มีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอาการเตือนก่อนที่จะมีอาการพาร์กินสันก็มีมากมายเช่นเดียวกัน สัญญาณอาการเตือนโรคพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง อาการเตือนหลัก ๆ มีดังนี้ 1. การนอนละเมอ 2. ท้องผูก 3. ดมกลิ่นไม่ได้ 4. ภาวะซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแฉะ

ตาแฉะเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณของโรคทางตาหรือไม่ และจะต้องดูแลอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตาแฉะ” ภาวะที่คนเรารู้สึกว่ามีน้ำออกมาจากดวงตา จริง ๆ แล้วก็คือ “ขี้ตา” นั่นเอง ปกติ “สี” หรือลักษณะขี้ตา อาจจะบอกถึงโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาแฉะได้ 1.ตาแฉะ : ติดเชื้อไวรัส มีอาการระคายเคืองบริเวณดวงตา และไวรัสที่บริเวณเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดการอักเสบและมีน้ำตาใส ๆ ออกมาค่อนข้างมาก 2.ตาแฉะ : ติดเชื้อแบคทีเรีย คนที่ตาแฉะและมีขี้ตาสีเขียว เหลือง หรือขาวข้น เป็นลักษณะที่บอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะติดเชื้อบริเวณเยื่อบุตาหรือตาแดง ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เกิดจากการสัมผัสโดยตรงจากการที่ถูกน้ำตาหรือตาของผู้ป่วยมาก่อน การใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ ในคนที่เป็นหวัดจากเชื้อไวรัส มีน้ำมูกใส หรือในคนที่เป็นหวัดมีน้ำมูกเขียวหรือเหลือง และเชื้อติดบริเวณดวงตาของตัวเอง จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบไปพร้อม ๆ กับโรคหวัดได้ 3.ตาแฉะ : ภูมิแพ้ขึ้นตา คนที่มีภูมิแพ้ขึ้นตา น้ำตาหรือขี้ตาที่ออกมาจะเป็นลักษณะเหนียวใส ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ข้อควรรู้ ก่อนกินทุเรียน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิป 5 ข้อควรรู้ก่อนกินทุเรียน เช่น ทุเรียนมีน้ำตาลสูง พลังงานสูง หากกินอย่างไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทั่วไป สิ่งที่แชร์กันถูกต้องตามหลักวิชาการ (ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์) แต่เห็นประโยชน์จากการกินทุเรียนให้ถูกวิธี กินให้พอเหมาะ ไม่ใช่เห็นประโยชน์แล้วตั้งหน้าตั้งตากินแต่ทุเรียน จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และดูคลิปต้องใช้สติ เพื่อการกินทุเรียนอย่างมีสติด้วย ข้อ 1 ทุเรียน : ผลไม้มีแคลอรีสูง ? เนื้อทุเรียน 100 กรัม มีแคลอรีสูงสุดประมาณ 180-190 กิโลแคลอรี ทุเรียน 100 กรัม ปริมาณเท่ากับ 2 เม็ด มีหลายครั้งที่คนกินทุเรียนเผลอกินไปเรื่อย ๆ มากกว่า 2 เม็ด กินทุเรียนได้แคลอรีจำนวนมากแล้ว แต่ยังได้แคลอรีจากอาหารมื้อหลักอีก เมื่อกินเข้าไปก็สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 12 ประโยชน์ของมะม่วง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความแนะนำ 12 ประโยชน์ของมะม่วง เช่น ช่วยควบคุมความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ รักษาสิว บำรุงผิว บำรุงสมอง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “มะม่วง 12 คุณประโยชน์” ที่แชร์กัน จริงบางส่วน ในมะม่วงมีวิตามินซีค่อนข้างสูง สารอาหารมีบ้าง แต่มีเล็กน้อย ส่วนการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา ไม่เป็นความจริง ข้อ 1. “ควบคุมความดันโลหิต” ได้ เพราะมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ? ไม่จริงเลย โพแทสเซียมมีไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ส่วนแมกนีเซียมมีน้อยมาก ข้อ 2. “มีวิตามินอี” เสริมสร้างฮอร์โมนเพศ ? ไม่จริง เพราะในมะม่วงมีวิตามินอี 0.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ข้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสาหลักแห่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับเสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์ ตั้งแต่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงให้อยู่ในสภาวะเครียดน้อยที่สุด 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์ที่แชร์กันนี้ โดยภาพรวมก็ใช้ได้ เป็นแนวทางการป้องกันที่ทุกข้อมีหลักฐานอยู่ ข้อ 1 : ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 50% ? โดยปกติแล้วแต่ละข้อมีน้ำหนักในการป้องกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 เท่ากว่าถึง 2 เท่า   ถ้าจะบอกว่าลดลงมา 50% แปลว่าต้องลดลงไป 2 เท่า ทุกข้อจริง ๆ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งขึ้นไปก็ช่วยได้ เป็นการสะสมประมาณสัปดาห์ละ 150 นาที ถ้าออกกำลังกาย 3 ครั้ง (ต่อสัปดาห์) ครั้งละประมาณ 45-50 นาที ถ้าออกกำลังกาย 5 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อันตรายใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปบอกว่า ห้ามใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด เพราะมีสารอันตรายต่าง ๆ จากกระดาษ เช่น สารไดออกซินจากคลอรีนที่ใช้ในการฟอกกระดาษ เรื่องนี้จริงหรือไม่  🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องนี้ต้องดูก่อนว่า “กระดาษทิชชู” (tissue paper) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และกระดาษทิชชูก็มีหลายระดับ หลายเกรด “ทิชชู” นอกจากมีเส้นใยแล้วยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นเคมีใส่ลงไป เพื่อให้ฟังก์ชันการทำงานดีขึ้น เช่น อาจจะทำให้เส้นใยมีความแข็งแรงขึ้นก็ได้ ขณะเดียวกันอาจมีสารปนเปื้อน (เช่น มาจากเส้นใยที่รีไซเคิล) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย ดังนั้น ควรทำความรู้จัก “กระดาษทิชชู”แต่ละชนิดก่อน ว่าเป็นเกรดไหน และอนุญาตให้สัมผัสอาหาร (Food Grade) ได้หรือไม่ กระบวนการผลิตกระดาษทิชชู มีการใช้โซดาไฟ หรือคลอรีน เป็นสารฟอกขาว จริงไหม ? การฟอกคือการกำจัดลิกนิน (Lignin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เส้นใยเกาะติดกันออกไป ทำให้กระดาษมีความขาวมากขึ้น สารประกอบกลุ่มคลอรีน เข้าใจว่ามีการหาสารกลุ่มอื่นทดแทน เพื่อลดโอกาสเกิดสารปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ขึ้นอยู่กับเกรดกระดาษด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สรรพคุณของใบมะม่วง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 สรรพคุณของใบมะม่วง มีตั้งแต่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดไปจนถึงช่วยรักษาโรคบิด 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ภกญ.ศวิตา จิวจินดา ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สรรพคุณของใบมะม่วง 10 อย่างที่แชร์กัน เป็นแนวทางของ “อายุรเวท” ซึ่งเป็นศาสตร์แพทย์แผนโบราณของอินเดีย บางฤทธิ์มีการศึกษาที่รับรองผลของการใช้ในแบบอายุรเวท แต่บางฤทธิ์ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการศึกษารองรับ ใบมะม่วง : ควบคุมโรคเบาหวานได้ จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดของใบมะม่วงสามารถยับยั้งเอนไซม์ในลำไส้เล็ก จะช่วยชะลอการดูดซึมของกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้น สามารถชะลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในด้านความปลอดภัย ใบมะม่วงสด (ยอดอ่อน) กินเป็นอาหารอยู่แล้ว จากการศึกษาความเป็นพิษในหนูทดลอง พบว่าสารสกัดของใบมะม่วงมีความปลอดภัย สามารถกินได้ ถ้าไม่กินมากเกินไปก็ไม่มีอัตรายต่อร่างกาย ไม่ควรนำใบมะม่วงมาเป็นการรักษาหลักของโรคเบาหวาน ? หากต้องการใช้ใบมะม่วงรักษาโรคเบาหวาน ควรเป็นการรักษาร่วม และปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้วย ส่วนตัวคิดว่าควรจะรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน และอย่าได้คาดหวังกับชาใบมะม่วงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่ทุกคนพึงปฏิบัติก็คือการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (เรื่องอาหาร วิธีการกิน และการออกกำลังกาย) ใบมะม่วง : สลายนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไตได้ ? เรื่องนี้ยังไม่มีการวิจัย จึงไม่แนะนำให้ทำตาม ใบมะม่วง : ช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจ ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หม้อทอดไร้น้ำมัน ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปข่าวเตือนว่า หม้อทอดไร้น้ำมัน หรือ Air Fryer ที่หลายคนนิยมใช้ ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็งได้ โดยอ้างอิงคำเตือนจากฮ่องกง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หม้อทอดไร้น้ำมันทำให้อาหารเกิดสารก่อมะเร็ง… “จริง” เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารด้วย ที่สำคัญก็คือ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการปรุงอาหาร ถ้าอุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นเกิน 120 องศาเซลเซียสมาก ๆ หรือว่าใช้ระยะเวลายาวนานเกินไป สารก่อมะเร็งก็จะเกิดขึ้นได้สูงตามมา จากข่าวที่รายงานในฮ่องกง เป็นผลการทดลองหม้อทอดไร้น้ำมันกับมันฝรั่ง ได้ผลพบว่าเกิดสารอะคริลาไมด์ปริมาณสูง ? มันฝรั่งเป็นพืชกลุ่มแป้ง จะมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “แอสพาราจีน” (asparagine : Asn) อยู่สูง ประกอบกับปริมาณน้ำตาลในมันฝรั่งสูง เมื่อความร้อนที่ใช้ประกอบอาหารสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดสารก่อมะเร็งกลุ่มที่เรียกว่าอะคริลาไมด์ (acrylamide) ได้ “อะคริลาไมด์” เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี ที่เรียกว่าปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) หรือปฏิกิริยาสีน้ำตาล ยิ่งน้ำตาลไหม้เกรียมมาก สารอะคริลาไมด์ก็จะมีอยู่มากเช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง มีน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปสาธิตและเตือนให้ระวังน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.สุวภัทร กิตติบัญชากุล อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้จริง ในนมจืดก็มีน้ำตาล แต่เป็นน้ำตาลแล็กโทสที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นน้ำตาลที่มาจากการเติม สำหรับคนที่ดื่มนมอยู่แล้ว อย่ากลัวหรือสับสนจนไม่กล้าดื่มนม เพราะจริง ๆ แล้ว นมยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องการ และก็มีประโยชน์มาก ๆ น้ำตาลในอาหาร มีอย่างน้อย 2 แบบ ? น้ำตาลที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น น้ำตาลแล็กโทส (lactose) ในนม หรือว่าน้ำตาลฟรักโทส (fructose) ในผลไม้ หรือน้ำตาลมอลโทส (maltose) ในมอลต์ กับอีกประเภทหนึ่งก็คือน้ำตาลที่ถูกเติมลงไป นมจืดไม่ค่อยหวาน แม้มีน้ำตาล ? ในนมมีน้ำตาลอยู่แล้ว แต่ที่ไม่รู้สึกว่าหวาน เพราะน้ำตาลแล็กโทสมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 3 เท่า แต่เมื่อดูฉลากโภชนาการแล้วตกใจว่า จริง ๆ แล้วมีน้ำตาลในนมด้วย น้ำตาลแล็กโทสในนมสามารถย่อยได้ ไม่รบกวนกับระดับน้ำตาลในเลือดมากนักเมื่อเทียบกับน้ำตาลกลูโคส (glucose) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผงชูรส กับบัญชีดำ 8 อาหารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ แชร์คำเตือนว่า ผงชูรสเป็นอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง และเป็น 1 ใน 8 ของอาหารในบัญชีดำอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ศูนย์กุมารชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาหารบัญชีดำที่แชร์เหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุของมะเร็งแต่อย่างใดเลย บัญชีดำก็คิดขึ้นเอง ส่งต่อไปเรื่อย ๆ ดูมันเท่ดีมากกว่า แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารแล้ว เราไม่สามารถที่จะกินสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียวกันในปริมาณมากจนเกิดมะเร็งได้ บัญชีดำ : ผงชูรส ? ผงชูรสไม่ใช่สารพิษ เป็นสารธรรมชาติ “โมโนโซเดียม” กับ “กลูตาเมต” “กลูตาเมต” (glutamate) เป็นส่วนพื้นฐานของโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช “โซเดียม” (sodium)  เป็นโซเดียมชนิดเดียวกับเกลือแกง แน่นอนถ้ากินอาหารกลุ่มนี้มากเกินไป เช่น กินเกลือมากเกินไปก็มีพิษได้ กินทุกวันก็ไม่มีปัญหา มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ว่าผงชูรสเกี่ยวกับมะเร็งหรือไม่ ทั้งในสัตว์ทดลองและในคนที่กินผงชูรสต่อเนื่อง ก็ไม่พบว่าเป็นมะเร็งมากไปกว่าคนที่กินอาหารทั่ว ๆ ไปแต่อย่างใด ผงชูรสมีผลเสียต่อสุขภาพไหม ? ตอบว่า “มี”… […]

1 7 8 9 10 11 16