ชัวร์ก่อนแชร์ : ให้อาหารนกพิราบ ติดเชื้อในสมอง ทำให้เสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความเตือน มีผู้เสียชีวิตจากนกพิราบ เป็นคนที่ให้อาหารนกพิราบประจำติดต่อกัน 2 ปี สุดท้ายติดเชื้อราในสมอง รักษาไม่ได้และเสียชีวิต จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวนกพิราบมีเชื้อรา และเชื้อราอยู่ในมูลของนกพิราบ คนสามารถติดเชื้อราที่อยู่ในมูลนกพิราบได้ เชื้อราจากมูลนกพิราบทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้จริง แต่จะต้องดูในรายละเอียดก็คือเป็นเชื้อราตัวไหน เชื้อราที่มาจากมูลนกพิราบและทำให้ติดเชื้อในสมองก็คือเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ต้องดูรายละเอียดด้วยว่าคนที่เป็นโรคสมองอักเสบจากเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์  (Cryptococcus Neoformans) และเสียชีวิตมีโรคประจำตัวอะไรหรือเปล่า การติดเชื้อราในสมองจากเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กินยากดภูมิคุ้มกัน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคตับแข็ง หรือว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่น ๆ สมมุติว่าเป็นผู้ป่วยเหล่านี้จริง การได้รับเชื้อปริมาณไม่มากก็สามารถเป็นโรคที่รุนแรงได้ แต่ถ้าเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรงดี โอกาสที่ติดเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ น้อยมาก ๆ นอกจากจะต้องได้รับเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ปริมาณมาก ๆ ซึ่งกรณีนี้สัมผัสนกพิราบประมาณ 2 ปี แต่ละวันอยู่กับนกพิราบนาน ๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ เชื้อคริปโทค็อกคัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : มะเร็งเต้านมให้กินผักคะน้า มะเร็งปอดให้กินเสาวรส จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ “มะเร็งเต้านม ให้กินบรอกโคลี หรือผักคะน้าวันละ 5 ขีด มะเร็งปอด ทางเดินหายใจ ให้กินผลไม้ เช่น เสาวรส ฝรั่ง ส้ม มะนาว มะขามป้อม มะละกอ มะม่วง” จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม ประธานหลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลบางส่วนมีความถูกต้อง แต่ว่าข้อมูลบางส่วนอาจจะทำให้เข้าใจผิด ใครไปปฏิบัติตามอาจจะไม่ได้ผล หรืออาจจะก่อผลเสียตามมาด้วย “มะเร็งเต้านม” ให้กินบรอกโคลี หรือผักคะน้า ? ผักคะน้า กับ บรอกโคลี จัดว่าเป็นผักตระกูลกะหล่ำ หรือเรียกว่า Cruciferous vegetables ผักตระกูลกะหล่ำ ถือเป็นผักที่มีหลักฐานงานวิจัยมากที่สุด ในแง่ของการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดต่าง ๆ รวมถึงมะเร็งเต้านมด้วย ที่แนะนำให้กินวันละ 5 ขีด น่าจะมากไปหน่อย เพราะวันละ 5 ขีด เท่ากับ 500 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเสริมแก้อาการหนังตาตก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความแนะนำอาหารเสริมที่สามารถช่วยแก้อาการหนังตาตกได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ไม่มีอาหารเสริมใด ๆ แก้อาการหนังตาตกได้ ภาวะ “หนังตาตก” เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการดึงเปลือกตา โดยทั่วไปที่เราเห็นเปลือกตามีร่อง 2 ชั้น เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อทางการแพทย์ว่ากล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา (levator muscle) ทำหน้าที่ดึงเปลือกตาทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น ถ้ากรณีที่มีปัญหากับการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา ไม่ว่าจะเป็นจากตัวกล้ามเนื้อตาเองหรือเป็นจากระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาหนังตาตก การรักษาเรื่องนี้ก็คงต้องรักษาตามสาเหตุ วิธีการรักษาหนังตาตก ? “หนังตาตก” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ กลุ่ม 1. หนังตาตกแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ดึงเปลือกตา กลุ่ม 2. หนังตาตกตอนโต อาจจะมีโรคทางระบบร่างกายบางชนิดที่พบบ่อย เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis : MG) ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอ่อนแรง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ออกกำลังกายวันละ 35 นาที ลดเสี่ยงภาวะซึมเศร้า จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า การออกกำลังกายวันละ 35 นาที สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.วิศรัชต์ พฤฒิถาวร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช การออกกำลังกายวันละ 35 นาที มีส่วนลดความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าได้จริง จากงานวิจัยที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้กล่าวถึงอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับการใช้การออกกำลังกายเป็นส่วนเสริมในการรักษาภาวะซึมเศร้า และพบว่าการออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการลดอาการซึมเศร้าได้ สำหรับข้อมูลที่แชร์มาเน้นเรื่องการป้องกัน เป็นลักษณะช่วยลดความเสี่ยงด้วย แต่การระบุว่าออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวสามารถลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้โดยตรง ยังต้องการข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม เพราะการวิจัยมีรูปแบบและข้อจำกัดหลายอย่าง เกณฑ์ประเมินภาวะซึมเศร้า ? ปัจจุบัน การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าจะเน้นที่กลุ่มอาการ เช่น มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ มีอาการเรื่องการนอน การกินอาหารที่เปลี่ยนไป หรือเรื่องของความคิดที่อาจจะเกิดความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือว่าคิดโทษตัวเอง รู้สึกไร้คุณค่า อาการเหล่านี้จะต้องมีต่อเนื่องและมากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 สัปดาห์ ถ้าไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือเป็นบางครั้งบางคราว และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติก็จะไม่เข้าเกณฑ์ภาวะซึมเศร้า สาเหตุ “ซึมเศร้า” มีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องของพันธุกรรม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสงแดดกับการปกป้องดวงตา

แสงแดดทำอันตรายกับดวงตาได้แค่ไหน แว่นกันแดดจำเป็นหรือไม่ และควรเลือกเลนส์แว่นกันแดดอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “แสงแดด” สามารถทำอันตรายกับดวงตาได้ทุกส่วน แสงที่เป็นอันตรายกับดวงตาอย่างมาก คือแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นที่เรียกว่า “อัลตราไวโอเลต” หรือที่คุ้นเคยกันคือ แสงยูวี (Ultra Violet) ที่มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 ถึง 400 นาโนเมตร ในแสงยูวียังแบ่งออกเป็นโซนของแสงยูวีเอ ยูวีบี ยูวีซี (มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 นาโนเมตรขึ้นไป) แสงยูวีซี (UV-C) มักจะไม่พบในแสงแดดธรรมชาติทั่วไป แต่นำไปใช้ทางการแพทย์ เช่น นำมาทำเลสิกผ่าตัดแก้ไขสายตา แสงยูวีเอ ยูวีบี ทำอันตรายกับดวงตาได้อย่างไร รังสีอัลตราไวโอเลต ทั้งยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B) คลื่นแสงทั้ง 2 ชนิดนี้มีอันตรายต่อดวงตาค่อนข้างมากและพบอยู่ในธรรมชาติ โดยยูวีเอ (UV-A) จะมีความสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในบริเวณดวงตาได้ค่อนข้างสูงมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ สำหรับยูวีบี (UV-B) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินที่ควรและไม่ควรกินคู่กัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เกี่ยวกับคู่วิตามินที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.​ดร.​กรกช​ กังวาลทัศน์ ผู้จัดการร้านยาโอสถโดม​ คณะเภสัชศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คู่วิตามินที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยกัน ส่วนใหญ่จริง และอาจจะตีกันจริง แต่การตีกันนั้นก็อาจจะไม่ได้ส่งผลอะไรมากมาย วิตามิน “แฝดดี” 5 กลุ่ม ได้แก่ แฝดดีคู่ที่ 1. วิตามินซี : คอลลาเจน ? ด้วยกลไกการสร้างคอลลาเจน จะมีตัววิตามินซีเข้าไปช่วย เพราะฉะนั้นคู่นี้พอฟังขึ้นอยู่ แต่ว่าตัวคอลลาเจนเองก็จะมีหลายรูปแบบ ซึ่งคอลลาเจนตัวเต็มเขาบอกว่าจะไม่ค่อยดูดซึม จะย่อยกลายเป็นกรดอะมิโน เหมือนกับอาหารที่เป็นโปรตีนทั่วไป แต่ถ้าเป็นไตรเพปไทด์ (Tripeptide) ก็มีงานวิจัยที่ค่อนข้างจะแน่ชัดกว่าเรื่องเกี่ยวกับผิวพรรณ แฝดดีคู่ที่ 2. ธาตุเหล็กควรกินคู่กับวิตามินซี ? เรื่องธาตุเหล็กกินคู่กับวิตามินซีจริง เพราะวิตามินซีเป็นตัวที่ปรับให้โครงสร้างธาตุเหล็กเหมาะสมกับการดูดซึม ซึ่งตัวที่เป็นวิตามินส่วนใหญ่จะทำรูปแบบที่เหมาะสมกับการดูดซึมอยู่แล้ว มักจะมาคู่กันกับวิตามินซี ส่วนที่เป็นจากอาหารก็จะเป็นรูปแบบที่ดูดซึมได้ดีกว่าพวกอยู่ในยาเม็ด แฝดดีคู่ที่ 3. แคลเซียมและแมกนีเซียม ? แคลเซียมคู่กับแมกนีเซียม… ไม่จริง เรื่องของแคลเซียมกับแมกนีเซียม หรือธาตุเหล็ก ถ้ากินด้วยกันจะแย่งกันดูดซึม ทำให้แต่ละตัวจะดูดซึมได้ไม่ดี สิ่งที่แนะนำก็คือให้กินแยกกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 9 ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล มีตั้งแต่อาจทำให้ไตวายไปจนถึงเป็นมะเร็ง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ภก.อรัมษ์ เจษฎาญานเมธา คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล 9 ข้อที่แชร์กัน โดยภาพรวมบอกได้ว่า ปัจจุบันยาลดคอเลสเตอรอลที่ใช้กันทางการแพทย์มากก็คือ ยาลดคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน (Statin) มีบางส่วนที่แชร์เป็นความจริง แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทีเดียว ไม่ได้บอกอัตราการเกิดผลข้างเคียงเหล่านั้น ทำให้เกิดความหวั่นวิตก ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถหาการศึกษาทางการแพทย์มาสนับสนุนได้อย่างชัดเจน ข้อ 1. ยาลดคอเลสเตอรอล “ทำให้เจ็บกล้ามเนื้อและเป็นตะคริว” ? ยาลดคอเลสเตอรอลทำให้บางคนเจ็บกล้ามเนื้อและเป็นตะคริวได้ แต่อัตราการเกิดค่อนข้างน้อย มีการศึกษาขนาดใหญ่พบว่าอัตราการเกิดน้อยกว่า 0.1% แต่ชีวิตจริงอาจจะพบได้มากกว่านั้น เนื่องจากคนที่ใช้ยากลุ่ม Statin อาจจะมีการใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย หรือเป็นคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วอัตราการเกิดค่อนข้างน้อย ข้อที่ 2. ยาลดคอเลสเตอรอล “ทำให้อัตราการเป็นเบาหวานสูงขึ้น 20%” ? มีส่วนจริงที่ยาลดคอเลสเตอรอลทำให้อัตราการเป็นเบาหวานสูงขึ้น แต่ตัวเลขที่แชร์บอกว่า 20% อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ นั่นคือคนจะเข้าใจว่า 20% หมายถึงคนที่กินยากลุ่ม Statin จะมีความเสี่ยงเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผักแขยง แก้ไขมันอุดตัน แก้มะเร็งได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิปแนะนำผักแขยง พร้อมข้อความว่า “ผักแขยงเป็นผักที่โด่งดังไปทั่วโลก ไทยส่งออกอันดับ 1 ฝรั่งแห่กินแก้ไขมันอุดตัน แก้มะเร็งได้” เรื่องนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ในภาพรวม ยังไม่พบงานวิจัยว่า “ผักแขยงช่วยลดไขมันได้” แต่พบว่าผักแขยงมีฤทธิ์ปกป้องหลอดเลือดไม่ให้ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระหรือว่าสารพิษ เรื่อง “ผักแขยงต้านมะเร็ง” ไม่มีการศึกษาวิจัยโดยตรง แต่อาจจะอนุมานจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่ได้ยืนยันทั้งหมด นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงผักแขยงในภาษาต่าง ๆ พูดได้ว่า “แขยง” เป็นหนึ่งในผักประจำถิ่นอาเซียนที่มีคนหลายชาติสนใจและกินเป็นอาหารประจำครัวเรือน ซึ่งรวมถึงคนไทยนิยมกินเป็นผักเคียงด้วย แพทย์แผนไทย มีบันทึกสรรพคุณ “ผักแขยง” ไว้หรือไม่ ? “แขยง” เป็นผักพื้นบ้านของประเทศไทย แพทย์พื้นบ้านก็มีการใช้ผักแขยงเพื่อดูแลสุขภาพ เช่น ขับลม ช่วยเป็นยาระบาย รักษาฝีหนอง โดยการนำมาทุบ ตำ โปะกับฝีกับหนอง “ผักแขยง” มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองที่แผลได้ เชื่อมโยงกับการใช้แบบโบราณ การนำต้นสดผักแขยงมาตำแล้วโปะกับแผล ป้องกันการเกิดหนอง หรือแก้ผดผื่นคันได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 โรคร้าย จากนกพิราบ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือน นกพิราบมีเชื้อโรคอันตราย สามารถก่อให้เกิดโรคได้ ถึง 6 โรค มีตั้งแต่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดอักเสบ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แชร์เตือนนกพิราบมีอันตรายสามารถก่อโรคได้มากถึง 6 โรค… เป็นความจริง เพราะนกพิราบสามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคนได้หลายโรค โรคที่ 1. โรคคริปโทค็อกโคซิส เกิดจากเชื้อรา ทำให้ปอดติดเชื้อ ? โรคคริปโทค็อกโคซิส (Cryptococcosis) เกิดจากเชื้อราคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcus Neoformans) เพราะว่าเชื้อราคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ เข้าสู่ร่างกายทางเดินหายใจและไปฟักตัวอยู่ที่ปอดก่อน ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดีเชื้อก็จะแพร่ไปอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ มีอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่เชื้อราคริปโทค็อกคัสชอบมากก็คือ “สมอง” ไม่ใช่เฉพาะสมองเท่านั้นที่เชื้อราคริปโทค็อกคัสเข้าไปติดได้ แต่ยังมีที่ตับ ม้าม และผิวหนัง โรคที่ 2. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อผ่านระบบทางเดินอาหาร และทำให้เสียชีวิต ? เรื่องนี้เป็นความจริง แต่มีความสัมพันธ์กับโรคที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตาบ่อย เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข่าวชายชาวต่างชาติเกือบตาบอด เพราะขยี้ตาบ่อยตั้งแต่เด็ก ทำให้ต้องพบจักษุแพทย์ และต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นไปได้… เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระจกตาดำ ที่มองเห็นเป็นตาดำ มีลักษณะเฉพาะที่มีความบอบบาง และสำคัญกับการทำงานของดวงตามาก เพราะฉะนั้นการที่ถูกกระทำหรือถูกขยี้อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง นอกจากจะทำให้เกิดการถลอกหรือเกิดบาดแผลบริเวณกระจกตาดำ ในระยะยาวยังทำให้ความแข็งแรงของบริเวณกระจกตาดำเสียไป เกิดภาวะที่ทางการแพทย์เรียกว่า “กระจกตาย้วย” ทางการแพทย์เรียกว่าโรคเคอราโทโคนัส (Keratoconus) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย ลักษณะของโรคกระจกตาย้วย ภาวะกระจกตาย้วยเกิดจากการสูญเสียความแข็งแรงของบริเวณกระจกตาดำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกระจกตา มีลักษณะย้วยลงมามากกว่าปกติ เรียกโรคนี้ว่า “กระจกตาย้วย” สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง “กระจกตาย้วย” ได้แก่ 1. คนที่ขยี้ตาบ่อย ๆ ความแข็งแรงของกระจกตาเสียไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกระจกตา อาจเป็นคนที่กระจกตาอักเสบ หรือเป็นภูมิแพ้บริเวณเยื่อบุตา ก็ทำให้เกิดอาการคันและมีพฤติกรรมขยี้ตารุนแรงเป็นประจำ 2. กลุ่มคนที่มีความผิดปกติของยีน (ดาวน์ซินโดรม : Down syndrome) หรือกลุ่มคนอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเสียความแข็งแรงของกระจกตาดำ ร่วมกับการขยี้ตาก็อาจจะทำให้เกิดภาวะกระจกตาย้วยได้ สังเกตอาการอย่างไรว่ามีภาวะกระจกตาย้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคที่ได้จากการกินกากหมู จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่ากินกากหมูแล้วจะได้โรคต่าง ๆ ทั้งความดันเลือดสูง มะเร็ง และหลอดเลือดตีบตัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าจะแชร์อยากให้เพิ่มข้อความ “ไม่ดี” ในแง่ที่ว่า “กินปริมาณมากและกินประจำ” ส่วนกรณีที่บอกว่ากินกากหมูแล้ว จะได้โรคต่าง ๆ ทั้งความดันเลือดสูง มะเร็ง และหลอดเลือดตีบตัน รู้สึกว่าเป็นการตีตราให้โทษของกากหมูมากเกินไป เพราะกากหมูก็ไม่ได้เป็นตัวร้ายขนาดนั้น เนื่องจากอาหารทุกอย่างมี 2 ด้าน ทั้งคุณและโทษ ข้อ 1. กินกากหมูแล้ว หลอดเลือดตีบตัน ? ถ้าบอกว่ากินกากหมูแล้วเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือหลอดเลือดตีบตัน… ถูกต้อง คุณค่าทางโภชนาการของกากหมูคือให้พลังงานและไขมัน ไขมันที่ได้ส่วนใหญ่เป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวจะส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแน่ ๆ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ นอกจากนี้ กากหมูยังให้คอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ได้หมายความว่ากินกากหมูปุ๊บแล้วจะเป็นหลอดเลือดตีบตัน ขึ้นกับบริบทรอบตัวด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดจากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการตีบหรืออุดตันอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ข้อดีของกะปิ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 ข้อดีของกะปิ เช่น บำรุงกระดูก ป้องกันฟันผุ มีวิตามิดี บี 12 โอเมก้า 3 จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อความที่แชร์มีทั้งจริง และเป็นเหตุเป็นผลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ข้อ 1. กะปิบำรุงกระดูก ? แคลเซียมจะถูกปลดปล่อยจากกะปิถ้าผ่านความร้อน ในกะปิมีแคลเซียมจริง ถ้ากะปินั้นทำจากเคยหรือกุ้งก็มีแคลเซียมที่สูง กะปิคุณภาพดี น้ำหนัก 100 กรัม จะมีปริมาณแคลเซียมได้มากถึง 1,300-1,400 มิลลิกรัม กะปิที่คุณภาพไม่ดี หรือรอง ๆ ลงมา น้ำหนัก 100 กรัม อาจจะเหลือแคลเซียมประมาณ 400-500 มิลลิกรัม มีการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมในกะปิกับแคลเซียมในนมวัว โดยบอกว่าแคลเซียมในกะปิมีมากกว่าในนมวัวหลายเท่า ซึ่งเรื่องนี้จะต้องคิดตามน้ำหนัก ดังนี้ กะปิหนัก 100 กรัม มีแคลเซียมประมาณ 1,300-1,500 […]

1 5 6 7 8 9 18