ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำต้มใบกระท่อม รักษาเบาหวานหายแบบถาวร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ดื่มน้ำต้มใบกระท่อม จะทำให้หายจากเบาหวานได้ถาวร จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ประธานศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จากที่แชร์กันว่า “ดื่มน้ำต้มใบกระท่อมรักษาเบาหวานหายแบบถาวร” นั้น ไม่เป็นความจริง ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกว่า “กระท่อม” สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ ที่สำคัญ ยังไม่มีหลักฐานว่าใบกระท่อมสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ซึ่งรวมถึงยาแผนปัจจุบันด้วยก็ยังไม่มียาตัวไหนที่มีหลักฐานว่าสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ใบกระท่อมช่วยรักษาเบาหวานได้ หรือไม่ ? จากการศึกษาในหลอดทดลอง ดูว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถดึงน้ำตาลเข้ามาในเซลล์ได้ดีขึ้นหรือไม่ พบว่าเมื่อใส่ใบกระท่อมเข้าไป ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถนำน้ำตาลกลับเข้าสู่เซลล์ได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความเข้มข้นของกระท่อมเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อตายไป การทดลองในเซลล์ไม่สามารถจะตีความ และ/หรือ นำมาใช้ในมนุษย์ได้โดยตรง  แต่ตามหลักต้องเริ่มจากการศึกษาในหลอดทดลอง ต่อมาก็จะเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง หลังจากนั้นศึกษาวิจัยในคน ที่บอกว่า “กระท่อม” ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับและไต จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง เนื่องจากมีรายงานมาแล้วว่ากระท่อมทำให้มีตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง และไตวายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาหลาย ๆ อย่างร่วมกัน นอกจากนี้ มีอาการที่สำคัญก็คือทำให้ใจสั่น และความดันเลือดสูงขึ้นได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่าไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง เพราะจะกัดกระเพาะและทำให้ท้องอืดได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีการแชร์ว่า “ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง” มีบางส่วนจริงสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และเป็นผู้ที่มีปัญหาน้ำย่อยน้ำตาลในนม (น้ำตาลแล็กโทส) ไม่เพียงพอ แต่คนที่สุขภาพดีทั่วไปสามารถดื่มนมตอนท้องว่างได้ เมื่อนมลงไปอยู่ในท้องจะแปรสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ และกัดกระเพาะอาหารได้ ? เรื่องนี้ไม่จริง นมไม่สามารถกัดกระเพาะอาหารด้วยตัวของนมเอง ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ นมตามธรรมชาติมีความเป็นกรดอ่อน ๆ แต่ความเป็นกรดอ่อนของนมแทบจะไม่ต่างจากความเป็นกลางเลย เนื่องจากนมตามธรรมชาติจะมีองค์ประกอบเป็นเกลือของกรด โปรตีนในนม และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ดังนั้น “นมไม่กัดกระเพาะ” ถึงแม้ว่านมไม่กัดกระเพาะ แต่นมสามารถกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มนมในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหารอยู่ ไม่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร สามารถดื่มนมตอนท้องว่างได้หรือไม่ ? กลุ่มคนดังต่อไปนี้ สามารถดื่มนมได้ตามปกติ 1. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร 2. ไม่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร 3. ไม่มีภาวะพร่อง หรือขาดน้ำย่อยที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทสในนม มีหลายคนเข้าใจว่า “ดื่มนมตอนท้องว่าง” นมจะช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร จริงหรือไม่ ? ถ้าใช้คำว่า “เคลือบกระเพาะอาหาร” คือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เขย่าลูก อันตรายจริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่าการเขย่าลูกทำให้เกิดอันตรายหลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ไปจนถึงทำให้ตาบอด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กุลเสฏฐ ศักดิ์พิชัยสกุล กุมารแพทย์ประสาทวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “การเขย่าลูก” ที่แชร์กัน มีชื่อที่เรียกทางการแพทย์ว่า “Shaken Baby Syndrome” Shaken การเขย่า Baby  เด็กทารก Syndrome อาการ การเขย่าลูกจะทำให้เกิด “เลือดออกในสมอง” ? เขย่าลูกทำให้เลือดออกในสมอง เป็นเรื่องจริง การเขย่าเด็กโดยเฉพาะในเด็กทารก เด็กเล็ก ๆ อายุน้อยกว่า 2 ขวบ สามารถทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ เนื่องจากขนาดของศีรษะเด็กจะใหญ่กว่าขนาดร่างกาย นั่นคือเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว และส่วนกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีการเขย่าเกิดขึ้น ศีรษะเด็กจะมีการขยับไปมา และในกะโหลกศีรษะมีเนื้อสมองอยู่ การเขย่าแบบนี้ เนื้อสมองจะถูกกระทบกระแทกทุก ๆ ด้าน เพราะว่ากะโหลกก็คือกระดูก ทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ กะโหลกแตกได้จากการเขย่าลูก จริงไหม ? การเขย่าลูกไม่สามารถทำให้กะโหลกศีรษะเด็กแตกได้ แต่ขณะที่ผู้ใหญ่เขย่าเด็กเกิดความเครียด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกุ้งดิบเสี่ยงตาบอดจากพยาธิปอดหนู จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข่าวเกี่ยวกับการกินเมนูกุ้งดิบ มีพยาธิปอดหนูไชเข้าตา จนทำให้ตาบอดได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งที่แชร์กันว่า “กินกุ้งดิบเสี่ยงตาบอดจากพยาธิปอดหนู” เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง พยาธิตัวต้นเหตุ ชื่อ “พยาธิปอดหนู” ? พยาธิปอดหนู หรือ พยาธิหอยโข่ง ปกติแล้วตัวอ่อนจะอยู่ตามสัตว์ชนิดอื่น (เช่น หอยโข่ง กุ้ง) สัตว์เลื้อยคลาน (เช่น ตะกวด) เมื่อหนูไปรับตัวอ่อนจากสัตว์เหล่านี้เข้ามา พยาธิจะไชไประบบประสาทส่วนกลาง จากนั้นมาที่ปอด ขณะที่พยาธิอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู ก็จะผสมพันธุ์กันออกไข่ ไข่ก็จะฟักเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนก็จะไชจากหลอดเลือดแดงที่ปอดหนูไปทางเดินอาหารของหนู จากนั้นก็ปะปนมากับมูลของหนู พยาธิจากปอดหนู กระจายสู่สัตว์อื่น ? หอยโข่ง กุ้ง หรือตะกวด (ตัวเงินตัวทอง) กินมูลของหนูเข้าไปซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ ตัวอ่อน (พยาธิ) ก็จะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในสัตว์เหล่านั้น เมื่อคนกินสัตว์เหล่านั้นเข้าไปโดยปรุงไม่สุก พยาธิก็จะเข้าไปสู่ลำไส้ แล้วไชผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ไปที่ระบบประสาทส่วนกลางหรือเยื่อหุ้มสมอง และไปอยู่ในน้ำไขสันหลัง พบว่าคนที่มีพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการทางระบบประสาท แต่เนื่องจากคนไม่ใช่หนูที่พยาธิจะสามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสด และ หอมหัวใหญ่ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลเรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ไขมันในเลือดสูง แทนที่จะหายามากินให้กินกระเทียมสดวันละ 10 กลีบ กินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากข้อมูลที่แชร์กันว่า “ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสดและหอมหัวใหญ่” นั้นมีส่วนที่ถูกต้องบ้าง แต่รายละเอียดไม่ครบ อาจจะมีข้อควรระวังของอาหารบางอย่างกับโรคบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึง ไขมันในเลือดสูงมีหลายระดับ ถ้าหากเป็นไขมันในเลือดสูงที่มีระดับสูงมาก คือมากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะต้องไปพบแพทย์ กินกระเทียมวันละ 10 กลีบ ช่วยอะไรได้บ้าง ? กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีการศึกษามาก จนกระทั่งมีการนำหลายข้อมูล หลายการศึกษา มาทำการวิเคราะห์รวมกัน พบว่าการกินกระเทียมมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือดได้ “หอมหัวใหญ่” ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเทียม มีการศึกษาหอมหัวใหญ่บ้างแต่น้อยกว่ากระเทียม และพบว่าหอมหัวใหญ่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ ที่บอกว่าให้กินกระเทียมมากถึง 10 กลีบ ในการศึกษาไม่ได้ยืนยันจำนวน 10 กลีบ แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่ากินอยู่ที่ 5 กรัม ก็สามารถช่วยลด (ไขมันในเลือด) ได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฟลูออไรด์เป็นสารพิษ ทำให้ไอคิวต่ำ ก่อมะเร็ง เบาหวาน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนเกี่ยวกับ “ฟลูออไรด์” ที่คุ้นเคยกันว่าอยู่ในยาสีฟันหลายชนิด เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ไอคิวต่ำ และเป็นโรคต่าง ๆ หลายโรค เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ทพญ.ดร.วลีรัตน์ ศุกรวรรณ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แชร์กันว่า “ฟลูออไรด์” คือสารเคมีเป็นพิษ เรื่องนี้ “ไม่เป็นความจริง” ในชีวิตประจำวันมีการใช้ฟลูออไรด์ถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และมีประโยชน์มากกว่าโทษ “ฟลูออไรด์” สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งในอากาศ ดิน หิน หรือน้ำ โดยเฉพาะจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ อาหาร พืชผัก ผลไม้บางชนิด ก็มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น ความเป็นพิษของฟลูออไรด์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรับปริมาณมาก ๆ หรือปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง สะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ฟลูออไรด์ทำให้ไอคิวต่ำและเกิดอีกหลายโรค จริงหรือไม่ ? การได้รับฟลูออไรด์กับระดับไอคิว หรือความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก เรื่องนี้ไม่พบความสัมพันธ์และไม่เกี่ยวข้องกันเลย การได้รับฟลูออไรด์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ นอกจากนี้ ที่มีการอ้างอิงงานวิจัยเกี่ยวกับฟลูออไรด์นั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน “น้ำยาบ้วนปาก” ใช้แล้วฟันดำ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่า มีน้ำยาบ้วนปากบางชนิด ใช้แล้วจะทำให้ฟันเป็นคราบดำในปาก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีน้ำยาบ้วนปากที่ใช้ต่อเนื่องแล้วฟันจะดำ “เป็นเรื่องจริง” เพราะหลังจากการใช้น้ำยาบ้วนปากบางประเภท อาจจะทำให้เกิดคราบและเกิดหินปูนได้ น้ำยาบ้วนปากชนิดนี้ เป็นอย่างไร ? น้ำยาบ้วนปากที่ว่ามีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ ตัวยาคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) “คลอร์เฮกซิดีน” ชื่อทางการค้าที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย ก็จะมี “ซี 20” “ซีดี 24” การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมยาฆ่าเชื้อคลอร์เฮกซิดีน ควรได้รับคำแนะนำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ ในการสั่งจ่าย และแนะนำวิธีการใช้ น้ำยาบ้วนปากสร้างคราบบนฟันได้อย่างไร ? “คราบบนฟัน” เกิดจากปฏิกิริยาของสารเคมีที่มีผลต่อปฏิกิริยาในช่องปาก ทำให้เกิดคราบสีดำหรือน้ำตาลติดบนตัวฟัน (staining) ซึ่งเป็นผลตามมาจากการบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตัวนี้ แต่สามารถขัดออกได้ด้วยการขัดฟันของทันตแพทย์ การใช้น้ำยาบ้วนปากชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใด โดยหลักการแล้วทันตแพทย์แนะนำดังนี้ 1. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นประจำทุกวัน 2. แต่ละครั้งไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นระยะเวลานาน 3. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากนานติดต่อกันมากกว่า 2–3 สัปดาห์ คำแนะนำนี้ครอบคลุมถึงน้ำยาบ้วนปากที่สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลมชักรักษาหายขาดได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าการรักษาโรคลมชักมีหลายวิธี และรักษาให้หายขาดได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ชัยยศ คงคติธรรม สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรคลมชักถือเป็นโรคทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เช่น การใช้ยาที่ตรงกับโรคหรือชนิดของอาการชัก กินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถหายขาดได้ การรักษาโรคลมชัก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เบื้องต้นคือการใช้ยากันชักที่เหมาะสม ถ้าใช้ยาแล้วอาการชักไม่สามารถควบคุมได้ ขั้นต่อไปพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัด หรือบางรายอาจได้ประโยชน์จากการใช้อาหารที่พิเศษกว่าอาหารปกติ ก็อาจจะช่วยทำให้อาการชักดีขึ้น ในบางรายพยายามทำทุกอย่างแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ ก็จะมีวิธีการรักษาที่พิเศษวิธีอื่น เช่น ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สมอง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 การใช้ยารักษา ?  ยากันชักจะเป็นการรักษาที่แพทย์ทุกคนเลือกใช้กับผู้ป่วยโรคลมชัก เพราะในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ผ่านมาในช่วง 5-10 ปี ทำให้มียากันชักที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง ด้วยยาอย่างเดียว ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคลมชักได้อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ยายาวนานแค่ไหนขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยชักด้วย การกินอาหารบำบัด ? การใช้อาหารบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นั่งเล่นเกมนาน ทำให้ หลอดเลือดดำอุดตัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเรื่องนักศึกษาหนุ่มวัย 19 ปวดขาซ้าย ก่อนเป็นลมหมดสติ หมอตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันในปอด คาดเหตุเพราะนั่งเล่นเกมนานเกินไป เรื่องที่แชร์เตือนกันนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หลอดเลือดดำอุดตันที่มีความเสี่ยงจากการนั่งนาน มีความรุนแรงมากจนหมดสติ หรือบางคนอาจจะเสียชีวิตได้ เป็นเรื่องจริง แต่ส่วนอื่น ๆ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ จึงไม่ควรแชร์ต่อทั้งหมด โรคหลอดเลือดดำอุดตัน มีอาการอะไรบ้าง ? คนในข่าวที่แชร์กันมา มีอาการขาบวมแล้วก็หมดสติ เป็นอาการนำของหลอดเลือดดำอุดตัน “หลอดเลือดดำอุดตัน” เกิดได้หลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดบริเวณขา เพราะว่าคนเรานั่งนาน เมื่อมีหลอดเลือดอุดตัน เลือดและน้ำเหลืองไปไม่ได้ จะทำให้ส่วนใต้ของหลอดเลือดที่อุดตันบวม ที่ร้ายแรงมากก็คือ เมื่อการอุดตันเกิดขึ้นที่ปอด ลิ่มเลือดที่อุดตันอาจจะสลายไปได้เอง บางคนถ้าโชคร้าย เพราะลิ่มเลือดไม่สลายเอง แต่ลิ่มเลือดหลุดมาจากหลอดเลือดอุดตันอยู่ ลอยไปเรื่อย ๆ ตามทางของหลอดเลือด สุดท้ายไปที่หลอดเลือดใหญ่ขึ้น ๆ หลอดเลือดดำในท้อง ทรวงอก ไปที่หัวใจห้องบนขวา แล้วก็ห้องล่างขวา จากนั้นจะถูกสูบฉีดไปที่ปอด ลิ่มเลือดก็จะไปอุดตามหลอดเลือดในปอด ถ้าลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดใหญ่ในปอด ก็จะทำให้เลือดกลับไปหัวใจลดลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เหล้าขาว มะนาว แก้นิ่ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ สูตรเหล้าขาวกับมะนาว ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งนิ่วในไต ดื่มก่อนนอน 2 คืนหาย จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เรื่องนี้ไม่มีข้อมูลว่าเป็นความจริง การใช้ยาสูตรเดียวเพื่อรักษานิ่วหลายชนิดที่แตกต่างกัน (นิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ) โดยหลักการทางการแพทย์ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ 1. ผิดในเรื่องของสูตร 2. ระยะเวลา ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า “กินสูตรนี้ 2 วัน นิ่วฉันจะหาย” สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทุกคนต้องเข้าใจ คือวิธีการรักษานิ่วแต่ละแห่ง ต่างวิธีกัน ? ในคลิปบอกว่าสูตรนี้สามารถใช้ได้กับนิ่วหลายระบบ (นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในไต) สิ่งที่ต้องรู้ก็คือนิ่วแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากสารที่เป็นตัวก่อนิ่วในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และปัสสาวะมีความเป็นกรดเป็นด่างที่ไม่เหมาะสม การดื่มน้ำน้อย การใช้ยาชนิดต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดนิ่ว นิ่วในทางเดินน้ำดี หลัก ๆ เกิดจากสัดส่วนที่ผิดปกติไปของน้ำดี และคาดว่าน่าจะเกิดจากการกินอาหาร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : มะเร็งเต้านมในผู้ชาย

มะเร็งเต้านมเกิดในผู้ชายได้อย่างไร สามารถตรวจคัดกรองได้ก่อนหรือไม่ และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา อาจารย์ประจำสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล “มะเร็งเต้านม” เป็นโรคความผิดปกติของเซลล์ที่ท่อน้ำนม ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ พบในเพศหญิง และมีส่วนน้อยที่พบในเพศชาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นก็คือ การเจริญเติบโตที่ควบคุมไม่ได้ของเซลล์และกลายเป็นเนื้อร้าย เนื้อร้ายจะค่อย ๆ เจริญเติบโตจากระยะที่เป็นเล็ก ๆ อาจจะ 1 มิลลิเมตร 2 มิลลิเมตร และค่อย ๆ เป็นก้อนขนาด 1 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร ความสำคัญก็คือ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ตระหนักดี รอยโรคนั้นก็จะมีการกระจายแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระจายเข้าสู่อวัยวะภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ มะเร็งเต้านมพบในผู้ชายด้วยหรือ ? “มะเร็งเต้านม” เป็นเรื่องของเซลล์เต้านมที่ผู้ชายก็มีเหมือนกับผู้หญิง และสามารถพบมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ แต่น้อย เมื่อไหร่ก็ตามที่พบมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ต้องระมัดระวังว่าอาจจะมีความผิดปกติทางพันธุรรมของมะเร็งเต้านมทางด้านยีน ซึ่งยีนที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เรียกว่ายีน BRCA1, BRCA2 (บีอาร์ซีเอวัน, บีอาร์ซีเอทู)  ลักษณะของมะเร็งเต้านมที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำอาหารร้อน แช่ตู้เย็นทันที จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ห้ามนำอาหารร้อน ๆ แช่ตู้เย็นทันที ไม่ใช่ถึงขนาดทำให้ตู้เย็นพัง แต่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาหารจะเป็นพิษ และท้องเสียได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ปิติยา กมลพัฒนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุณหภูมิของอาหารร้อน ทำให้การถ่ายเทอุณหภูมิในตู้เย็นไม่ดีพอ อาจทำให้อุณหภูมิของอาหารรอบ ๆ สูงขึ้น เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การนำอาหารร้อนปริมาณมากเข้าตู้เย็น ส่งผลให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นสูงขึ้น ความเย็นน้อยลง เชื้อโรคที่ถูกชะลอการเจริญเติบโตสามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งสอดคล้องกับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่เรียกว่าโซนอันตราย ช่วงอุณหภูมิอันตรายคือ 4-60 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์แบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว ถ้าบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ก่อโรคก็จะเกิดอันตรายได้ ข้อ 1. อาหารปรุงสุกแล้วควรกินทันที หรือเก็บนอกตู้เย็นไม่เกิน 2 ชั่วโมง ? เรื่องนี้จริง การกินอาหารปรุงสุกใหม่เชื้อจุลินทรีย์น้อยลง จะทำให้ปลอดภัยจากการบริโภค หากเก็บอาหารนอกตู้เย็นเกิน 2 ชั่วโมง ควรอุ่นร้อน 60 องศาเซลเซียสตลอดเวลา ถ้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง จุลินทรีย์เกิดการแบ่งตัวในปริมาณมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเกิดโรคกับผู้บริโภคได้ ข้อ 2. กรณีอาหารไม่เหมาะอุ่นร้อนเป็นเวลานาน […]

1 6 7 8 9 10 18