ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หมาล่า

29 มิถุนายน 2568 – หมาล่า เครื่องปรุงชนิดนี้ มีส่วนผสมของอะไรบ้าง ต่างจากเครื่องเทศอื่น ๆ อย่างไร และ การกินหมาล่าต้องระวังเรื่องใดบ้าง 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์จีน นายแพทย์ ภาสกิจ วัณนาวิบูล หัวหน้าหลักสูตรแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต สัมภาษณ์เมื่อ 9 เมษายน 2567 หม่าล่าคืออะไร ? หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าหม่าล่าคือชื่อของต้นไม้ แต่จริง ๆ แล้ว “หม่าล่า” คือชื่อของ สูตรเครื่องปรุงรส ที่มีส่วนประกอบหลักคือพริกและเครื่องเทศหลายชนิด เอกลักษณ์ของหม่าล่าคือรสชาติที่เผ็ดร้อนและให้ความรู้สึกชาที่ลิ้น ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ชา ความคล้ายคลึงกับเครื่องเทศไทย หม่าล่ามีความใกล้เคียงกับ มะแขว่น ของไทย ซึ่งเป็นเครื่องเทศทางภาคเหนือ มะแขว่นให้ความรู้สึกเผ็ดร้อนและชาที่ปลายลิ้นเล็กน้อย แต่กลิ่นจะเบากว่าฮวาเจียว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก รักษาได้หลายโรค จริงหรือ ?

13 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลแชร์ว่า ไคโรแพรคติก (Chiropractic) เป็นการแพทย์ทางเลือก สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น กระดูกทับเส้นประสาท ไมเกรน พาร์กินสัน ออฟฟิศซินโดรม กระดูกสันหลังคด หรือแม้แต่ทำให้สูงขึ้นได้ 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.สุธี เหล่าโกเมนย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไซนัสอักเสบทำให้ตาบอด

12 มิถุนายน 2568 – ไซนัส เกี่ยวข้องกับดวงตาอย่างไร การเป็นไซนัสอักเสบจะส่งผลให้เกิดภาวะตาบอดได้อย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไรได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 วิธีแก้อาการเมารถ จริงหรือ ?

15 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลแชร์ 10 วิธีแก้อาการเมารถ ง่าย ๆ ใช้ได้จริง เช่น นั่งแถวหน้า มองไกล ๆ อย่าสูบบุหรี่ หรือ ผลไม้รสเปรี้ยว 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 4 เมษายน 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : 6 จุดตรวจเช็ก ก่อนใช้รถ EV ในหน้าฝน

17 มิถุนายน 2568 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในหน้าฝนว่า มีสิ่งใดบ้าง ที่ต้องตรวจเช็ก และระมัดระวัง เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาตามมา ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 14 พฤษภาคม 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือนห้ามกินมะม่วง จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลมีการแชร์ถึงคำเตือนห้ามกินมะม่วง ทั้งเตือนกินมะม่วงมีจุดทำให้กระเพาะและลำไส้อักเสบ อย่างไรก็ตามกลับมีการแย้งว่ามะม่วงนั้นกินได้ ปลอดภัย แถมยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.(พิเศษ)นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว ผู้ช่วยหัวหน้าภาค ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รศ.ดร.ศวิตา จิวจินดา ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาไทย ใส่สีสังเคราะห์ จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2568 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า เครื่องดื่ม ชาไทย มีการใส่สีสังเคราะห์ หากดื่มมาก อาจเสี่ยงอันตรายนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ชาไทยมีส่วนผสมของสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ได้รับอนุญาตและปลอดภัยภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการบริโภคอย่างมีสติและไม่มากจนเกินไป ปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปริมาณน้ำตาล ไขมัน และกาเฟอีนในชาไทย อาจเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤษภาคม 2568) สีส้มชาไทยมาจากไหน ? ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า สีส้มของชาไทยส่วนใหญ่มาจาก สีผสมอาหารสังเคราะห์ที่เรียกว่า Sunset Yellow (ซันเซ็ต เยลโลว์) แต่แม้จะเป็นสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ไม่ได้เป็นสารอันตรายอย่างที่หลายคนกังวล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไหล่ติด

20 เมษายน 2568 ภาวะไหล่ติด หรือที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า Adhesive Capsulitis เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ สร้างความเจ็บปวดและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหลายราย แม้ภาวะนี้อาจดูเหมือนเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยธรรมดาในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การจำกัดการเคลื่อนไหวของหัวไหล่อย่างถาวรได้ บทความนี้จะพาไปรู้จักสาเหตุ อาการ การฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไปจนถึงบทบาทสำคัญของกายภาพบำบัดในการฟื้นฟู ภาวะไหล่ติดคืออะไร? ผู้เชี่ยวชาญ อธิบายถึงภาวะไหล่ติดคือการอักเสบของเส้นเอ็นและแคปซูลหุ้มข้อบริเวณข้อไหล่ แคปซูลหุ้มข้อนี้โดยปกติจะมีลักษณะยืดหยุ่นและช่วยรองรับการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น แคปซูลนี้จะค่อย ๆ หนาตัวขึ้น ตึงตัว และเกิดการหดรั้ง ทำให้พื้นที่ภายในข้อไหล่ลดลง การเคลื่อนไหวของกระดูกต้นแขนที่อยู่ในเบ้าข้อไหล่จึงถูกจำกัดไปด้วย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ภาวะไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย บางครั้งอาจเริ่มต้นจากเพียงการเคลื่อนไหวแขนที่ผิดท่าเล็กน้อยหรือการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยที่ผู้ป่วยอาจจำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้ยังมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับโรคประจำตัวบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะไหล่ติดได้สูงกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังรวมถึง: กลไกที่โรคเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไหล่ติดยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาการและการดำเนินของโรค ภาวะไหล่ติดมักมีการดำเนินของโรคเป็น 3 ระยะ การวินิจฉัย การวินิจฉัยภาวะไหล่ติดส่วนใหญ่อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะทดสอบพิสัยการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ ทั้งแบบที่ผู้ป่วยขยับเอง (Active ROM) และแบบที่ผู้ตรวจช่วยขยับ (Passive ROM) หากพบว่าทั้งการเคลื่อนไหวแบบ Active และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีแก้ท้องเสีย จริงหรือ ?

19 มีนาคม 2568 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดวิธีแก้ท้องเสีย ทั้งเตือนท้องเสียไม่จำเป็นต้องกินยา ให้ดื่มนมเปรี้ยว หรือน้ำอัดลมใส่เกลือ เชื่อว่าจะช่วยให้อาการท้องเสียดีขึ้นได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.(พิเศษ)นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ 5 เรื่องฮิตเกี่ยวกับวิธีแก้ท้องเสียที่แชร์กันในโซเชียลมีเดีย  ข้อควรระวัง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, อัครวุฒิ ตู้วชิรกุลเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : หลุมพรางของรถยนต์ไฮบริด ที่ผู้ผลิตรถไม่อาจพูดถึง จริงหรือ ?

18 มีนาคม 2568 – ตามที่มีการแชร์เตือนผู้ใช้งานรถยนต์ ถึงหลุมพรางของรถยนต์ไฮบริด ที่ผู้ผลิตรถอาจไม่พูดถึง เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่แพงมหาโหด และหาอู่ซ่อมยากกว่ารถยนต์ประเภทอื่น ๆ นั้น บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ (สัมภาษณ์วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริด ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Pet humanization ? — เทรนด์สุดฮิต เลี้ยงสัตว์เหมือนลูก

15 มีนาคม 2568 – สิ่งนี้…คือ พฤติกรรมการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก และ สิ่งนี้ …เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในสังคมปัจจุบันจนกลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (สัมภาษณ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2568) ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาถุงใต้ตาบวม

16 มีนาคม 2568 – ปัญหาถุงใต้ตาบวมเกิดได้จากสาเหตุใดได้บ้าง ถุงใต้ตาบวมแบบไหนควรรีบพบแพทย์ และจะมีวิธีการดูแลและแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สาเหตุของถุงใต้ตาบวม: ถุงใต้ตาบวมแบบถาวร: เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อรอบดวงตาจะอ่อนลง ทำให้ไขมันเคลื่อนตัวและสร้างถุงได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด ถุงใต้ตาบวมแบบชั่วคราว: อาการแพ้สามารถทำให้เกิดอาการบวมรอบดวงตาได้ นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถทำให้ของเหลวสะสมใต้ดวงตาได้ ถุงใต้ตาบวมแบบเฉียบพลัน: หากถุงปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะหลังจากได้รับบาดเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที แล้วเมื่อใดควรไปพบแพทย์ ? หากบริเวณใต้ตาเป็นแผล โดยเฉพาะหลังจากเกิดอุบัติเหตุ กรณีเด็ก หากบริเวณใต้ตามีอาการบวมอย่างกะทันหันอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงได้ การดูแลและคำแนะนำ: หากเกิดอาการบวมที่ทั้งสองข้าง อาจเกิดจากอาการแพ้และไม่เป็นอันตราย สามารถบรรเทาอาการได้โดยการทานยาแก้แพ้หรือประคบเย็น หากเกิดอาการบวมข้างเดียว เป็นเรื่องเสี่ยงและควรไปพบแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 26 กุมภาพันธ์ 2568ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 2 3 4 55