fbpx

ห่วงไทยจะเสียประโยชน์มากกว่าได้

กรุงเทพฯ 12 พ.ค.-ที่ปรึกษากมธ.วิสามัญ CPTPP สภาฯ ห่วงไทยได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสียหากเข้าร่วมความตกลงที่มีมาตรฐานสูง ขณะที่ภาคการเกษตรยังไม่พร้อม ขอรัฐบาลศึกษารอบคอบทุกด้าน พร้อมเปิดเผยผลการศึกษา ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง


น.ส.จิราพร สินธุไพร ที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงประเด็นการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีความพยายามผลักดันให้ไทยเข้าร่วม แม้หลายภาคส่วนยังแสดงความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศและต่อต้านอย่างกว้างขวาง ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาร่วมด้วย พร้อมตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตรและพันธุ์พืช ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยศึกษาจากข้อมูลข้อเท็จจริง งานวิจัยต่าง ๆ และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ

“ภาพรวมการศึกษาประกอบด้วย 4 ข้อ คือ เห็นว่าไทยยังขาดความพร้อมหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม การตัดสินใจเชิงนโยบายดังกล่าว รัฐบาลต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ หากมีข้อมูลเพียงพอ ต้องมีกรอบการเจรจาที่เกิดจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และจะต้องจัดตั้งกองทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงฯ นอกจากนี้ยังเสนอแนะประเด็นที่รัฐบาลต้องศึกษาถึงผลกระทบในเชิงลึกต่อไป ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จัดทำกรอบการทำงานที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ” น.ส.จิราพร กล่าว


น.ส.จิราพร กล่าวว่า รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับยังไม่ชัดเจน อีกทั้งการพิจารณาศึกษาไม่ทันสถานการณ์และยังเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องศึกษาเชิงลึกว่าหากเข้าร่วม CPTPP แล้ว ไทยจะได้สิทธิพิเศษเกินกว่าที่ทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไว้กับ 9 ประเทศหรือไม่ ต้องศึกษาเรื่องส่วนต่างกำไรที่เคยได้จากสินค้าหรือบริการว่าคุ้มค่าหรือไม่ ขณะเดียวกันประโยชน์ที่ไทยคาดว่าจะได้รับ ต้องพิจารณาว่ามีศักยภาพเก็บเกี่ยวประโยชน์เหล่านั้นหรือไม่ ซึ่งปกติความตกลงการค้าเสรีถูกออกแบบมาให้แข่งขันกันภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน แต่โอกาสแสวงหาผลประโยชน์แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของแต่ละประเทศ

“ความตกลง CPTPP มีสมาชิก 11 ประเภท เป็นความตกลงการค้าเสรีประเภทหนึ่ง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยไทยมี FTA กับ 9 ประเทศ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ขณะที่หน่วยงานของรัฐบาลทำการศึกษาวิจัยระบุว่าหากไทยเข้าร่วม CPTPP จะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่ม 0.12% และเป็นการขยายการค้าการลงทุนในต่างประเทศ แต่เห็นว่ายังไม่ชัดเจนมากพอ เนื่องจากเป็นการคำนวณจากการที่ไทยมี FTA กับ 9 ประเทศร่วมด้วย โดยส่วนตัวมองว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับขนาดของความตกลงระดับพหุภาคีที่มีสมาชิกถึง 11 ประเทศ” น.ส.จิราพร กล่าว

น.ส.จิราพร กล่าวว่า ความตกลง CPTPP มีมาตรฐานสูงมาก กังวลว่าไทยจะเอื้อมไม่ถึงประโยชน์ ในทางกลับกันอาจต้องมารับผลกระทบแทน อาทิ เรื่องการเกษตร หากเข้าร่วม CPTPP ต้องเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยในรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ระบุไทยยังไม่พร้อมเข้าร่วม เพราะเกษตรกรยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนเรื่องสิทธิบัตรยา ที่คณะกรรมาธิการฯ แสดงความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดกับความมั่นคงทางยา การเข้าถึงยาของประชาชน ขีดความสามารถในการแข่งขัน การวิจัย การพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ และอีกหลายประเด็น


“ดิฉันมองว่าประโยชนที่ได้มาไม่คุ้มกับที่เสียไป โดยมีหลายอย่างที่ไทยไม่เคยผูกพันใน FTA มาก่อน นอกจากนี้ การเจรจาความตกลงยังเป็นแบบ Negative List หากไทยจะไม่เปิดเสรีในเรื่องใด ต้องระบุในรายการพร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากไม่ระบุจะเท่ากับว่าเปิดการค้าเสรี อีกทั้งที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยเจรจาความตกลงในลักษณะนี้ และเห็นว่ายังมีกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจเข้าร่วม ทั้งในแง่ของจำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจ” น.ส.จิราพร กล่าว

น.ส.จิราพร คาดหวังว่ากนศ. จะพิจารณาศึกษาจนสามารถชี้ชัดให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสีย นำไปสู่ข้อสรุปว่าไทยควรเข้าร่วมหรือไม่ ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตจากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาเรื่องการเปิดเผยผลการศึกษา และการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเพียงพอ จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาความตกลง CPTPP ด้วยความรอบคอบ อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ความจริง และความถูกต้อง พร้อมรับฟังประชาชน และยึดผลประโยชน์ของของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด