เพื่อนบ้านนำเข้าอาหารจากไทยแซงหน้าญี่ปุ่น

กรุงเทพฯ 16 ธ.ค.-ปี 59 เพื่อนบ้านนำเข้าอาหารไทยแซงหน้าญี่ปุ่น ส่วนยอดส่งออกไทยเขยิบขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก “พจน์” ติงส่งออกโตในตลาดที่ไม่ควรโตจะต้องทบทวน


นายสัตวแพทย์บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร แถลงข่าว

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า  ปีนี้(2559) อุตสาหกรรมอาหารไทยสามารถขยับอันดับการเป็นผู้ส่งออกอาหารมากที่สุดของโลก ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 13 ของโลก ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับ 15 ในปี 2558 คาดว่า จนถึงสิ้นปี 2559 จะมีมูลค่าส่งออก 972,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 โดยกลุ่มประเทศ CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นมาเป็นตลาดส่งอันดับ 1 ของไทย ด้วยสัดส่วนร้อยละ 15.2  สูงกว่า ตลาดญี่ปุ่น ที่มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 13.9


สำหรับยอดส่งออกสินค้าอาหารไทย มีมูลค่าเฉลี่ยเดือนละ 2,216 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียรองจากจีนและอินเดีย ส่วนประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ 1 ถึง 4 อันดับแรกของโลกไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ได้แก่ สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และบราซิล ตามลำดับ ส่วนอันดับที่ 5 คือประเทศจีนที่ขึ้นมาแทนฝรั่งเศสในปีนี้”

สำหรับสินค้าอาหารส่งออกของไทยส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง 4 รายการ ได้แก่ น้ำผลไม้ ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5  กุ้ง  ร้อยละ 22. สับปะรดกระป๋องร้อยละ 12.2   และไก่ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ  8.0 ส่วนสินค้าอื่นๆ อาทิ ข้าว มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

สัดส่วนตลาดส่งออกอาหารของไทยในปี 2559  ตลาดอาเซียนมียอดส่งออกมากที่สุดที่ร้อยละ  28.4  รองลงมาคือ ญี่ปุ่นร้อยละ  13.9  สหรัฐฯ ร้อยละ11.9 สหภาพยุโรปร้อยละ 10  แอฟริกา ร้อยละ 9.1 และจีน  8 เป็นต้น


ส่วนแนวโน้มส่งออกปี 2560 ประเมินว่า ไทยอาจขยับอันดับผู้ส่งออกสินค้ามากที่สุดของโลกมาอยู่อันดับมีค่า 12 โดยจะมีมูลค่าส่งออกทะลุ 1.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0  โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตสูงในอัตราร้อยละ  10-20 ได้แก่ น้ำผลไม้ และกุ้ง กลุ่มสินค้าที่เติบโตปานกลางร้อยละ  5-10 ได้แก่ เครื่องปรุงรส อาหารพร้อมรับประทาน ไก่ และปลาทูน่ากระป๋อง กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวต่ำ โดยต่ำกว่าร้อยละ 5 ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง มันสำปะหลัง  น้ำตาลทราย และข้าว มั่นใจมูลค่าส่งออกไก่ จะขึ้นถึง 100,000  ล้านบาทเป็นครั้งแรก เนื่องจากเกาหลีใต้อนุญาติ ให้นำเข้าไก่จากประเทศไทยแล้ว 12 โรงงาน คาดว่า จะให้นำเข้าเพิ่มได้อีก  40 โรงงานในเร็วๆนี้

แนวโน้มการส่งออก ข้าว คาดว่าจะมีปริมาณ 10 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปี 2559 แต่มูลค่า     มีแนวโน้มลดลงตามทิศทางราคาข้าวในตลาดโลกที่ได้รับแรงกดดันจากปริมาณสต็อกข้าวโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น

ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายเศรษฐกิจของผู้นำสหรัฐฯคนใหม่ จะส่งผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ  ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรวัตถุดิบในปีการผลิต 2559/60 ที่ฟื้นตัวจากภาวะภัยแล้ง วัตถุดิบในอุตสาหกรรมกุ้งเริ่มคลายตัวจากภาวะโรคระบาด เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2559  CLMV เป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทยด้วยสัดส่วนร้อยละ 15.2  แซงหน้าญี่ปุ่นที่มีสัดส่วน 13.9 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่า เป็นต้น

ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญโดยเฉพาะความไม่แน่นอนด้านนโยบายของผู้นำคนใหม่สหรัฐฯ จะทำให้ตัวแปรเศรษฐกิจผันผวนและความเสี่ยงจากการเกิดสงครามการค้า เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวล่าช้าจากปัญหาในภาคธนาคาร และความกังวลเรื่องเสถียรภาพอียูหลังเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ในหลายประเทศ  ส่วนเศรษฐกิจจีนยังชะลอตัวโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันหลังจาก OPEC และชาตินอกกลุ่มเตรียมลดกำลังการผลิต ความผันผวนของค่าเงินและแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเทียบกับยูโรและเยน เป็นต้น

นายพจน์ กล่าวว่า การส่งออกของไทยโตในตลาดที่ไม่ควรโต โดยยอดส่งออกไปประเทศเวียดนามโตถึงร้อยละ 100 ซึ่งเป็นการนำเข้าไปแปรรูปแล้วส่งออกแข่งขันกับประเทศไทย นับเป็นการเติบโตของการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังนั้นจะต้องปรับทุกห่วงโซ่ให้ตอบโจทย์นโยบายพัฒนาประเทศไทย 20 ปี

นายพจน์ กล่าวว่า  ยอดส่งออกของไทยในภาพรวมที่ตกต่ำในปีนี้(2559) หากพิจารณาแล้ว จะพบว่า ยอดส่งออกตกต่ำน้อยกว่าประเทศอื่นมาก ซี่งสินค้าส่งออกที่ยอดส่งออกลดลงมากคือ  พลังงาน ทองคำและสินค้ารับจ้างผลิต(โออีเอ็ม)เท่านั้น ในขณะที่ การส่งออกสินค้าอาหารไทยยอดส่งออกมีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านบาท เป็นบวกร้อยละ 7 จากส่งออกรวม 32 ล้านตัน ที่มีเกษตรกรเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งไม่นับรวมยางพารา อย่างไรก็ตาม ราคาที่ขายได้เมื่อเทียบกับผลตอบแทนถือว่าต่ำมาก ดังนั้น จะต้องหาทิศทางการส่งออกต่อไปว่าจะไปในทิศทางใดไม่ใช่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้เพราะวัตถุดิบทุกตันมีค่า สินค้าเกษตรต้องมองให้ครบวงจร ห่วงโซ่อุปทาน ประเทศไทยจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ