นพ.ระวีเสนอทำประชามติ ก่อนแก้รธน.

รัฐสภา 27 ต.ค.- “นพ.ระวี” วอนสภาหาทางออกด้วยวิธีประชามติ ถามคนไทยทั้งประเทศอยากแก้ รธน.หรือไม่ เชื่อลดความขัดแย้งได้ พร้อมแนะม็อบให้ถอยเพื่อ ปชช.


นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ อภิปรายว่า จากข้อเรียกร้องข้อหลักของผู้ชุมนุมคือ นายกฯ ประกาศยุบสภาหรือลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญตามร่างของประชาชน และปฏิรูปสถาบัน ซึ่งปรากฎว่าแกนนำหลายคนก็มีการนำเสนอว่าได้มองข้ามประเด็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ประเด็นหลักอยู่ที่ข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบัน ดังนั้นขณะนี้ความขัดแย้งหลักในสังคมไทยคือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปกป้องสถาบัน กับฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปสถาบัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตรงด้วย ถ้ารัฐสภาเปิดประชุมเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะมีมติออกมาอย่างไร ก็จะมีฝ่ายหนึ่งพอใจ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่พอใจ เช่น ถ้ามีมติไม่ให้แก้ไขหมวด 1,2 ฝ่ายปกป้องสถาบันก็จะพอใจ แต่ฝ่ายปฎิรูปสถาบันก็จะไม่พอใจ

“ผมขอเสนอทางออกที่จะลดความขัดแย้งและความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะต่อประเทศ โดยเสนอให้รัฐสภาต้องร่วมกันหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำประชามติถามคนไทยทั่วประเทศก่อนว่า คนไทยจะให้แก้รัฐธรรมนูญปี 60 หรือไม่ และถ้าให้แก้ จะให้แก้รายมาตราก็พอ หรือ จะให้แก้มาตรา 256 และให้ตั้ง สสร.มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะให้แก้หมวด 1,2 หรือไม่ ถ้าให้แก้ จะให้แก้อำนาจ ส.ว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่”นพ.ระวี กล่าว


นพ.ระวี กล่าวว่า เมื่อมีผลประชามติออกมา รัฐสภาก็ดำเนินการตามนั้น ถ้ารัฐสภามีมติออกมาแบบนี้ จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้ระดับหนึ่ง เพราะไม่ว่า จะมีผลประชามติออกมาในรูปแบบใดก็ตาม ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ารัฐสภาจะฝืนตัดสินใจรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างใดไปก่อน ก็จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาอีก จากฝ่ายที่ไม่พอใจอาจจะมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีความผิดที่ไปลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยังไม่ได้ทำประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนก่อน ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2555

ถ้ารัฐสภาจะเดินหน้าแก้ไรรัฐธรรมนูญไปจนจบวาระที่ 3 แล้ว ค่อยนำมาทำประชามติ ถ้าผลประชามติ ประชาชนไม่เห็นด้วย ก็ต้องมาเริ่มกันใหม่อีก อาจจะทำให้เสียเวลาและงบประมาณมากกว่าเดิม ผมขอสรุปว่า รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านถามประชาชน 16 ล้านคนแล้วหรือยัง”นพ.ระวี กล่าว

นพ.ระวี กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์จะเห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ เริ่มมีการถอยบ้างแล้ว ในความขัดแย้งครั้งนี้ เช่นประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน และเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อแก้ปัญหา ดังนั้น หลังจากวันนี้คงเป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ร่วมชุมนุมว่า เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 ระบาด ที่ประชาชนทั่วประเทศยังลำบาก และเห็นว่าการที่ไม่มามาชุมนุมปิดล้อมรัฐสภา แสดงถึงสัญญาณที่ได้เริ่มถอย เพื่อประชาชน แล้วเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง