ชุมชนเขาบายศรี แหล่ง “Unseen” ใน จ.จันทบุรี

จันทบุรี 11 ก.ย.-พาเที่ยวชุมชนเขาบายศรี จันทบุรี แหล่งท่องเที่ยว Unseen จ.จันทบุรี

ชุมชนเขาบายศรี จันทบุรี ชื่อนี้มีตำนานกว่า 200 ปี ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิตดั้งเดิม แนวความคิดสุดล้ำของคนในชุมชน ในยุคสมัยเมื่อ 200 ปีที่แล้ว อาทิ อุโมงค์น้ำใต้ดิน ทุเรียน และมังคุด สายพันธ์โบราณ อายุกว่า 100 ปี ระกำหวานนางพันปี ตลอดจน วัดเขาบายศรี วัดเก่าแก่ กว่า 200 ปี ที่ยึดเหนี่ยวศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน โดยกลุ่มท่องเที่ยวรักษ์เขาบายศรี จันทบุรี หรือ “ชุมชนรักษ์เขาบายศรี” ปัจจุบันมี คุณนงลักษณ์ มณีรัตน์ เป็นประธานกลุ่ม “ชุมชนรักษ์เขาบายศรี”


คุณนงลักษณ์ บอกว่า ชุมชนเขาบายศรีมีตำนานเล่าขานกัน ปากต่อปากว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีภูเขายังไม่มีชื่อ ในคืนของวันขึ้น 15 ค่ำ มักมีคนได้ยินเสียงดนตรีลอยมาจากภูเขาลูกนี้ จนคืนหนึ่งมีเทพยดา มาเข้าฝันชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อว่า นางพลอย โดยชาวบ้านคนนี้ ต้องการที่จะทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ แต่ยังขาดถ้วยชามที่สวยงาม เทพยดา จึงมาเข้าฝันเป็นเทพสังหรณ์ว่า ให้ไปที่ภูเขาลูกนี้ แล้วจุดธูปอธิษฐานที่ปากถ้ำ เพื่อที่จะขอยืม ถ้วยโถโอชามจากเทพ ปากถ้ำก็จะเปิดออก เมื่อเสร็จงานให้เอาถ้วยชามไปคืน นางพลอย จึงปฏิบัติตามที่ฝัน ซึ่งก็ได้ผลตามฝันทุกประการ

ต่อมาเพื่อนบ้านอีกคน ชื่อว่า นางฟัก ได้ยินเรื่องนั้นเข้าจึงการความโลภอยากได้บ้าง จึงปฏิบัติตามชาวบ้านคนแรก แต่ด้วยความโลภจึงไม่ยอมนำถ้วยชามไปส่งคืน จนพอถึงวันเพ็ญ 15 ค่ำเสียงดนตรีที่ภูเขานั้นก็ดังขึ้นอีกครั้ง เป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะอย่างมากสำหรับคนอื่นๆที่ได้ยิน แต่สำหรับครอบครัวที่เอาชามไปแล้วไม่นำมาคืน กลับเป็นเสียงที่รบกวนโสตประสาทอย่างมาก คล้ายกับเจ้าของต้องการทวงถ้วยชามคืน วันรุ่งขึ้น ชาวบ้านคนนั้นรวมทั้งลูกหลานจึงได้ช่วยกันทำบายศรีใบตองสด บรรจุข้าวสุก ไข่ต้มและเครื่องเซ่นบูชาอื่นๆ จุดธูปอธิษฐานขอสมาลาโทษที่ปากถ้ำ ขอคืนถ้วยชามที่ยืมไป จึงได้อยู่อย่างปกติสุขดังเดิม ชาวบ้านจึงเรียกเขาลูกนี้ว่าเขาบายศรีต่อมา ภายหลังมีผู้คนเพิ่มขึ้นก็เรียก บ้านเขาบายศรี เมื่อชาวบ้านพากันสร้างวัดประจำหมู่บ้านก็ตั้งชื่อว่า วัดเขาบายศรี และตั้งเป็น ตำบลเขาบายศรี ในเวลาต่อมา


ประธานกลุ่ม “ชุมชนรักษ์เขาบายศรี” บอกอีกว่า ในพื้นที่ตำบลเขาบายศรี มีผลไม้พันธุ์โบราณกระจายอยู่ในแต่ละหมู่ ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียนโบราณ โดยที่ยังมีเหลือให้เห็นอยู่ตอนนี้ คือ อีหัวบ่อ ทองย้อย และอีหนัก ในส่วนเรื่อง ตำนานของ อุโมงค์น้ำใต้ดิน เป็นอีกหนึ่งความ Unseen เหลือเชื่อ กับแนวความคิดของบรรพบุรุษในยุคสมัย 200 ปี ที่ผ่านมา โดยใน ตำบลเขาบายศรี อยู่ไม่ไกลจาก ตำบลเขาพลอยแหวน ซึ่งมีการขุดพลอยกันมาก เดิมการขุดพลอย ขุดแบบขุดบ่อน้ำทั่วๆ ไป เมื่อขุดลึกลงไป ได้พลอยแล้วก็นำขึ้นมา แต่ต่อมา การขุดพลอยบางครั้งหากเจอสายพลอย คนขุดก็จะเจาะรูขนานไปกับพื้นดิน เป็นอุโมงค์ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในความคิดของชาวสวนตำบลเขาบายศรี ในสมัยนั้น เห็นคนขุดพลอยตำบลเขาพลอยแหวน จึงนำมาดัดแปลงเป็นอุโมงค์น้ำใต้ดิน โดยเริ่มจากนำกะละมังมาคว่ำไว้บริเวณสวน คว่ำไว้ตอนเย็น ตื่นเช้าหากมีหยดน้ำเกาะกะละมังมาก แสดงว่าบริเวณนั้นมีตาน้ำ จากนั้นเมื่อขุดลงไป ในความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เมตร ก็จะพบตาน้ำ และบ่อลูกต่อมา ให้ขุดที่ความลึกเท่าๆ กัน เป็นแถว ระยะห่างกันราว 10-15 เมตร แล้วจึงทะลุข้างล่างที่ความกว้างประมาณ 1.5 เมตร และกลายเป็นอุโมงค์กักเก็บน้ำ ซึ่งแต่ละสวนจะขุดบ่อไว้ประมาณ 5-6 บ่อ เมื่อมีอุโมงค์ทะลุถึงกัน สามารถเก็บน้ำได้ราว 1 แสนลิตร ยามต้องการใช้น้ำ ก็ตักหรือสูบขึ้นมาใช้ได้ นับว่าเป็นภูมิปัญญาอันสุดล้ำของบรรพบุรุษชาวชุมชนเขาบายศรี

นอกจากนี้ Unseen ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน คือ ระกำหวานโบราณ นางพันปี ที่นี่ ที่เดียว โดยในสวนของนายประสิทธิ์ เจริญวรรณ ที่มีการ ทำเกษตร ผสมผสาน เช่นระกำ ซึ่งสวนแห่งนี้ ได้มีการอนรักษ์ปลูกระกำหวานไว้ในเนื้อที่ 1 ไร่ จำนวนกว่า 500 ต้น นอกเหนือจากการเก็บผลิตระกำหวานออกขายแล้ว ยังมีการพัฒนาต่อยอด โดยการนำเอา เกสรของดอกระกำตัวผู้ ส่งออกขาย กิโลกรัมละกว่า 100 บาท เพื่อให้เกษตรกร ที่ทำสวนสละมารับซื้อไปผสมกับดอกสละ ซึ่งจะทำให้ ติดผลดกและมีรสหวาน

สำหรับ “ชุมชนรักษ์เขาบายศรี” ปัจจุบันจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการดำเนินการในรูปวิสาหกิจชุมชน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเปิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมายาวนาน มีขนาดพื้นที่รวมกัน 60-70 ไร่ ในสวนมีผลไม้ ประกอบด้วย ทุเรียน มังคุด ลองกอง สละ กล้วย และสวนผักสวนครัว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมชม จะได้รับประสบการณ์จากการท่องเที่ยวสวนผลไม้ และได้รับความรู้ในการทำสวน เช่น การเก็บทุเรียน การบำรุงรักษาต้นไม้ผล กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการเดินชมสวน โดยมีผู้นำชมเป็นเจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัว หากถึงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการสาธิตการตัดทุเรียน การเก็บผลไม้จากต้น


สำหรับผู้ที่สนใจจะมาท่องเที่ยว หรือศึกษาดูงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณนงลักษณ์ มณีรัตน์ โทร 086 – 834 9604 หรือ 081- 6830147, 083-0788002 และ 039-356544 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง