เอบีมเผยการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มหลังโควิด-19

กรุงเทพฯ 31 ส.ค. เอบีม คอนซัลติ้ง เผยแนวโน้มเติบโตในการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล 


นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมใด และได้สร้างการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระยะห่างทางสังคมและการปิดพรมแดน ส่งผลให้การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจถูกจำกัดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ฃจากความจำเป็นในเรื่องของการรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้ปริมาณข้อมูลมหาศาลจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตกำลังถูกสร้างและจัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากการช้อปปิ้งออนไลน์ การใช้จ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์และเวลาที่ใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียที่เพิ่มมากขึ้น ปริมาณการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากและจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากผลกระทบหลักที่อาจจะมาจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิดและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล อ้างถึงรายงานของ GDPR พบว่า มากกว่าร้อยละ 38 ของกรณีที่ละเมิด GDPR เป็นกรณีที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด 

ในเดือนพฤษภาคม 2563 มีรายงานว่า ทั่วโลกมีการละเมิดข้อมูลอยู่ประมาณ 8.8 พันล้านข้อมูล ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 3.92 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบจากเหตุการณ์ที่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมากทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียเงิน การหยุดชะงักของธุรกิจ ภาระผูกพันตามกฎหมาย และการทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์ เกิดความเสี่ยง องค์กรจะต้องกลับมาพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อจะบรรเทาความเสี่ยงและป้องกันการเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม


นายอิชิโร กล่าวอีกว่า ความจำเป็นที่เกิดขึ้นตามมาคือ องค์กรธุรกิจจะต้องรับมือกับข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บมาใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนี้อย่างไรให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA หรือ คำถามที่ว่า  ลูกค้าได้ตระหนักรู้อย่างเต็มที่แล้วใช่หรือไม่ ว่าองค์กรได้ขออนุญาตเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้สำหรับทำอะไรรวมทั้งคำถามที่ว่า สิทธิส่วนบุคคลของแต่ละคนอะไรบ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย องค์กรควรปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเชิงรุก ด้วยการปรับลักษณะของการจัดการ การปรับใช้เทคโนโลยี และการปฏิรูปกฎหมายที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  แม้ว่าการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกเลื่อนออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 แต่หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเรื่องการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้มีการเดินหน้าจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นที่เรียบร้อย โดยในช่วงรอยต่อของช่องว่างการบังคับใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่องค์กรต่าง ๆ จะเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ที่จำเป็นตามที่กฎหมายระบุไว้ให้พร้อม เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีความพร้อมที่จะรับมือกับการบังคับใช้กฎหมายลูกฉบับต่าง ๆ ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่คาดว่าจะทยอยออกมาบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

จากรายงาน IAPP-EY Annual Privacy Governance Report 2019 เปิดเผยว่า ร้อยละ 45 ขององค์กรเท่านั้น ที่ปฏิบัติตาม GDPR อย่างสมบูรณ์เต็มที่ และร้อยละ 42 ที่อยู่เพียงขั้นปานกลางในการทำให้การจัดเก็บจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย GDPR ประกาศใช้มา 4 ปี และมีผลบังคับใช้เต็มที่เมื่อพฤษภาคม 2561 เท่ากับว่าองค์กรมีเวลามากกว่า 1 ปีในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่ GDPR จะมีผลบังคับใช้จริง แต่กระนั้นก็ตาม มีองค์กรประมาณร้อยละ 54 ใช้เวลามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีหลายองค์กรที่ยอมรับว่ายังติดขัดกับการความท้าทายในการทำให้สอดคล้องกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการบริหารจัดการความยินยอมของลูกค้า  และระบบการขอเข้าถึงข้อมูล

ความยากอันดับต้น ขององค์กรที่จะทำการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ การบริหารจัดการการยินยอมของลูกค้าและมาตรฐานการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูล ซึ่ง “Centralized Consent Management Platforms” สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ เพียงแต่ในความเป็นจริงแล้วร้อยละ 44 ขององค์กร มีระบบจัดเก็บการยินยอมของลูกค้ามากกว่า 25 ระบบ ดังนั้น มีความจำเป็นจะต้องรวบรวมระบบเข้าสู่แพลตฟอร์ม ซึ่งจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกิจ และกลไกในการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพื่อมั่นใจได้ว่าระบบจัดเก็บการยินยอมของลูกค้านั้นเป็นปัจจุบัน และต้องทำให้ลูกค้าสามารถทำการอนุญาตละถอนการอนุญาตได้ด้วยตัวเอง อาทิ องค์กรจะต้องตอบสนองคำขอสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด คือ ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่มีการตรวจสอบการร้องขอจากลูกค้า  ความท้าทายเหล่านี้สัมพันธ์กับความซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด จากสถิติ พบว่าประมาณร้อยละ 36 ขององค์กร ใช้เวลามากกว่า 3 สัปดาห์ในการตอบสนองคำขอสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล (DSR) ขณะที่ร้อยละ  58 มีพนักงานเพียง 26 คนในการบริหารจัดการคำขอสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลที่มีเข้ามา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50 คนในการตอบสนองคำขอสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 70,000 เหรียญต่อเดือน หรือคิดเป็นต้นทุนประมาณ 1,400 เหรียญต่อหนึ่งคำขอสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล-สำนักข่าวไทย.


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน