ส.ส.ร. คืออะไรใครรู้บ้าง?

สำนักข่าวไทย 21 ส.ค.- ส.ส.ร. คืออะไร ช่วงนี้ด้วยภาวะสถานการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีแนวโน้มจะทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรามักได้ยินคำว่า ส.ส.ร.บ่อยมากและหลายๆคนอาจจะไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจว่า ส.ส.ร.คืออะไรมีหน้าที่ทำอะไร เราจะมาทำความรู้จักกับ ส.ส.ร. กัน ขณะที่วิปฝ่ายค้านกำลังเตรียมยื่นข้อเสนอในการจัดตั้ง ส.ส.ร. วันที่ 26 ส.ค.นี้ และเป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น


ส.ส.ร. ย่อมาจาก สภาร่างรัฐธรรมนูญ

สภาร่างรัฐธรรมนูญไทยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จำนวน 4 ครั้ง


-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2491

-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502โดยธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจำนวน 240 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญและให้มีฐานะเป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกด้วย โดยมีประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2502

-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 โดยมีหลักการและอำนาจหน้าที่สำคัญดังนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน (ขณะนั้นประเทศไทยมี 76 จังหวัด) รวมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ จำนวน 23 คน เป็น 99 คนมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ กำหนดให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน


-สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จากเหตุการณ์การยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแทนฉบับเดิม โดยเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีสมัชชาแห่งชาติ ปี2549 โดยมีจำนวนสมาชิกที่มาจากการสรรหาจากทุกภาคส่วน จำนวนทั้งสิ้น 1,982 คน จากนั้นให้ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คนแล้วให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน เพื่อไปเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้มีหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกและต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ในปี พ.ศ. 2563 ความคืบหน้าในเรื่องการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. วิปรัฐบาลเตรียมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 26 ส.ค.นี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา ว่า วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคมนี้ แต่ละพรรคร่วมรัฐบาลจะนำร่างแก้ไขของแต่ละพรรคทั้งพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์มาหารือร่วมกัน ก่อนจะนำเนื้อหาของแต่ละพรรคมารวมกันให้เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคร่วมรัฐบาลฉบับเดียว โดยจะเร่งส่งญัตติถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาให้ทันภายใน 26 สิงหาคมนี้

ข้อเสนอจากพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเพียงการทำร่างเพื่อเสนอรัฐบาล โครงสร้าง ส.ส.ร. 200 คน เบื้องต้น
– ประชาชนเลือกทางตรง 150 คน เลือกทางอ้อม 50 คน
– นักวิชาการ 10 คน(ด้านกฎหมายมหาชน ด้านการเมืองการปกครอง ด้านรัฐศาสตร์) ที่ ทปอ. เลือก

– ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาผู้แทน 30 คน (ส.ส. ฝ่ายค้าน 10 คน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 10 คน ส.ว. 10 คน)
– ผู้แทนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ( เลือกกันเอง ) 10 คน

ความเห็นจาก นายคำนูณ สิทธิสมาน ที่โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว “Kamnoon Sidhisamarn” เกี่ยวกับ การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนแต่ละคนมีสิทธิเลือกได้เพียง 1 คน พูดง่าย ๆ ว่านำเอานวัตกรรมการเลือกตั้งส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาประยุกต์ใช้ให้ส.ส.ร.ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 45 คน องค์ประกอบมาจากจากส.ส.ร. 30 คน โดยให้คำนึงถึงพื้นที่ประกอบด้วย และผู้เชี่ยวชาญอีก 3 สาขา ๆ ละ 5 คน รวม 15 คนให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วไป และในทุกจังหวัด โดยให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง

เป็นที่น่าจับตามองว่าในครั้งนี้การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. จะมีรูปแบบเป็นแบบไหน และจะมีใครเป็นส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ได้บ้าง

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง