นักวิชาการหนักใจ กม.ประชามติ เงื่อนไขผ่านยาก

ทำเนียบ 15 พ.ย.-อ.ยุทธพร รับหนักใจ กฎหมายประชามติ เงื่อนไขผ่านยาก เล็งปลดล็อกให้ง่ายขึ้น

นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กล่าวถึงแนวทางการทำประชามติว่า เรื่องการทำประชามติอย่างน้อยในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบให้ทำ 2 ครั้ง ซึ่งการทำประชามติต้องพิจารณาทั้งในแง่กฎหมายและประเด็นทางการเมือง รวมทั้งต้องให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนตัวคิดว่าจะต้องทำประชามติ 2-3 ครั้ง จึงจะสามารถทำให้ประชามติเป็นเครื่องมือที่สำคัญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งสองส่วน คือ สมดุลในเรื่องของความเป็นไปได้ และสมดุลเรื่องความลงตัว ซึ่งเนื้อหารัฐธรรมนูญจะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย สามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาว


ส่วนองค์กรผู้ร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ตกผลึกร่วมกันแล้วว่าจะต้องเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่วนที่มาของ ส.ส.ร.จะต้องหารือกันในรายละเอียด เมื่อตั้ง ส.ส.ร.ลงตัวแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการประชามติเลยหรือไม่ หรือต้องกลับไปที่รัฐสภาอีก ต้องไปดูเชิงเทคนิคของกฎหมายมหาชน ขณะที่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กับประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายในการมารับฟังความคิดเห็น เหล่านี้จะทำให้เกิดความลงตัวในเรื่องของเนื้อหา

“ตอนนี้ที่หนักใจคือเรื่องของการทำประชามติ เพราะมีกฎหมายประชามติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เสียงข้างมากสองชั้น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเรื่องของการรณรงค์ให้มีการโนโหวต นั่นคือ การให้อยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ์ ทำให้เสียงประชามติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และตกม้าตายไปตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าเสียงขั้นตอนแรกเกินกึ่งหนึ่ง ขั้นตอนที่สองก็เกินกึ่งหนึ่งอีก กระบวนการทำประชามติก็จะได้รับความเห็นชอบต่อไป” นายยุทธพร กล่าว


ส่วนจะต้องแก้ไขพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 ก่อนใช่หรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า มีโอกาสที่จะต้องทำอย่างนั้น เพื่อที่จะทำให้โอกาสของการทำประชามติเป็นไปได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

ภาษีสหรัฐ

นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปแก้ปัญหาภาษีสหรัฐ 8 เม.ย.นี้

“จิรายุ” ระบุฝ่ายค้านบางพรรคน่าจะตกข่าว เพิ่งมาเสนอให้นายกฯ ตั้ง คกก.แก้ปัญหาภาษีสหรัฐฯ ทั้งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “ทรัมป์” ยังไม่ได้รับตำแหน่ง บอก 8 เม.ย.นี้ นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปทั้งหมด ที่ทำเนียบฯ