กรุงไทย คาดจีดีพีปีนี้หดตัวรุนแรง -8% กระทบตลาดที่อยู่อาศัยคาดใช้เวลา 4-5 ปี ฟื้นตัว

กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – กรุงไทย คาดจีดีพีปีนี้หดตัวรุนแรง -8% ประเมินปีนี้ตลาดที่อยู่อาศัยในกทม.และปริมณฑลหดตัว 27% คาดใช้เวลา 4-5 ปี ฟื้นตัว


นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะหดตัวอย่างรุนแรง (Deep Recession) ถึง 8.8% โดยมีความเป็นไปได้ที่กรุงไทยจะมีการปรับลดจีดีพีปีนี้ลงอีก เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงวันต่อวัน หรือการ Lockdown  เพิ่มเติม โดยมองจีดีพีปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ -8 ถึง – 12% 

ส่วนในเศรษฐกิจปี 2564 มีความไม่แน่นอนสูงมาก คาดจีดีพีขยายตัว 6.1% ภายใต้สมมติฐานว่าการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวและนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวในปีหน้า16 ล้านคน ขณะที่ปีนี้คาดจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 8 ล้านคน อย่างไรก็ดีขึ้นกับสามารถในการควบคุมโรคระบาด และการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า


ด้านภาคการส่งออกปีนี้ยังมีอุปสรรคค่อนข้างมาก เช่นเดียวกับทั่วโลก สินค้าส่งออกอุตสาหกรรมของไทย เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งปีหลัง ขณะที่ปีหน้าคาดจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมมองว่าปี 2563 -2564 เป็นปีที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกจโลกต้องเจอศึกหนักแบบไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นความท้าทายที่เราต้องค่อยๆประคับประคองไป และระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในช่วงนี้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าในการผ่อนชำระหนี้ ส่วนในอนาคต NPL จะน่ากังวลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ 

สำหรับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ ถูกบั่นทอนอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้บริโภคไทยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่หดตัวรุนแรง ส่วนผู้บริโภคต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ทำให้ไม่สามารถซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไทยได้ ส่งผลให้ยอดจองเปิดใหม่ (Pre-sale) ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจาก 20% ในไตรมาสที่ 4/2562 มาอยู่ที่ 15% ในไตรมาสที่ 1/2563 และมีโอกาสลดต่ำลงเหลือ 12% ในไตรมาสที่ 2/2563 โดยประเมินว่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปีนี้ มูลค่าลดลง 27% จาก 5.7 แสนล้านบาทในปีที่ผ่านมา เหลือ 4.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์บ้านจัดสรร  2.4 แสนล้านบาท ติดลบ 24% คอนโดมิเนียม 1.8 แสนล้านบาท ติดลบ 30% ส่งผลให้สต็อกเหลือขายในภาพรวม มีโอกาสขยายตัว 5% ขึ้นไปแตะ 185,000 ยูนิต แม้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะปรับลดการเปิดโครงการใหม่ลงเกือบ 40% จากปีที่ผ่านมาก็ตาม

ทั้งนี้ มองว่า ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในปีนี้จะลดลงตามการชะลอเปิดโครงการ หรือการชะลอการลงทุน ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องการสภาพคล่อง หรือเงินระยะสั้นในการบริหารจัดการมากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่าน อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการก็มีทางเลือกในการกู้เงินกับธนาคารหรือออกหุ้นกู้


“โควิด-19 ทำให้ความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัยหายไปราว 1 ใน 3 โดย 80% ของผู้บริโภคเลื่อนการซื้อออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต และการลงทุนในอสังหาฯขณะนี้ให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก ซึ่งทางออกของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ฯที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ การเลื่อนการก่อสร้างออกไป รอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี ถึงจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19” นายพชรพจน์กล่าว

นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ยังพบ 3 พฤติกรรมหลักๆของผู้บริโภคบางกลุ่มอาจเปลี่ยนไปอย่างถาวร (New Normal) ได้แก่ เปลี่ยนช่องทางการซื้อที่อยู่อาศัยผ่านทางออนไลน์ โดยในช่วงเกิดโควิด-19 มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของผู้พัฒนาอสังหาฯ ขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 40% ทำให้กลายเป็นช่องทางหลักของผู้พัฒนาฯ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับขนาดของที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยยอมอยู่ไกลกว่าเดิม เพื่อรองรับกิจวัตรประจำวันที่ต้องใช้เวลาในที่อยู่อาศัยนานขึ้น เช่น การ Work From Home และสุดท้ายผู้บริโภคหวงแหนความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบมีพื้นที่ส่วนตัว เพื่อตอบโจทย์ด้านสุขภาพและความปลอดภัย ขณะที่ดอกเบี้ยที่ต่ำมากในจังหวะนี้ อาจจะไม่ช่วยในการกระตุ้นซื้ออสังหาริมทรัยพ์ของผู้บริโภคมากนัก

“ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรพิจารณาแนวทางต่าง ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ การนำเทคโนโลยี Virtual Visits มาสนับสนุนการซื้ออสังหาฯ ผ่านทางออนไลน์ โดยสามารถชมโครงการได้อย่างเสมือนจริง ปรับแผนมาพัฒนาบ้านแนวราบมากขึ้น เช่น บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ ที่มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าคอนโดมิเนียม ออกแบบคอนโดมิเนียมในบางทำเล ให้มีห้อง One Bed Plus แทน Studio มากขึ้น ตลอดจนการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางใหม่ให้สามารถนั่งแยกกัน และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อลดโอกาสที่ผู้บริโภคจะสัมผัสกันให้น้อยที่สุด” นายกณิศกล่าว . – สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง